Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50453
Title: การศึกษาความเป็นไปได้ในการใช้ตัวเร่งปฏิกิริยา V₂O₅-WO₃/TiO₂ ในการกำจัดเบนซีนร่วมกับไนตริกออกไซด์
Other Titles: Feasibility study of using V₂O₅-WO₃/TiO₂ catalyst to simultaneously eliminate benzene and nitric oxide
Authors: วาสิตา จันทร์บุษราคัม
Advisors: ธราธร มงคลศรี
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: [email protected],[email protected]
Subjects: ปฏิกิริยาการกำจัด
เบนซิน -- ออกซิเดชัน
ไนตริกออกไซด์
รีดักชัน (เคมี)
Elimination reactions
Benzene -- Oxidation
Nitric oxide
Reduction (Chemistry)
Issue Date: 2558
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ในงานวิจัยนี้เป็นการนำวานาเดียมออกไซด์ (V2O5) ทังสเตนออกไซด์ (WO3) และตัวรองรับเป็นไทเทเนียมออกไซด์ (TiO2) มาใช้เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาในการกำจัดเบนซีน โดยเตรียมตัวเร่งปฏิกิริยาด้วยวิธีเคลือบฝังแบบเปียก (Wet impregnation) โดยคงสัดส่วนของวานาเดียมออกไซด์ไว้ที่ 3 %wt และปรับเปลี่ยนอัตราส่วนของทังสเตนออกไซด์ให้อยู่ในช่วง 5-7 %wt ทำการวัดปริมาณโลหะ พื้นที่ผิว และวิเคราะห์ความเป็นโครงร่างผลึกของตัวเร่งปฏิกิริยา ด้วยเทคนิค ICP single point BET และ XRD ตามลำดับ และวิเคราะห์ปริมาณตำแหน่งกรด ด้วยวิธีดูดซับไพรีดีนและ NH3-TPD และศึกษาการทำปฏิกิริยาเบนซีนออกซิเดชัน และการรีดิวซ์แบบเลือกเกิดด้วยตัวเร่งปฏิกิริยา (SCR) แบบแยก และศึกษาการรวมกันของทั้งสองปฏิกิริยา ในช่วงอุณหภูมิ 120°C ถึง 450°C พบว่าเมื่ออุณหภูมิการทำปฏิกิริยาเพิ่มขึ้นตัวเร่งปฏิกิริยาทุกตัวสามารถกำจัดเบนซีนได้ดีขึ้น ในส่วนของ SCR พบว่า 3V5W และ 3V6W มีประสิทธิภาพในการกำจัดไนตริกออกไซด์สูงขึ้น แต่เมื่อถึงอุณหภูมิหนึ่งประสิทธิภาพจะลดลง ในส่วนของตัวเร่งปฏิกิริยา 3V7W พบว่ามีความว่องไวในปฏิกิริยา SCR ต่ำ ในการศึกษาปฏิกิริยารวมพบว่าตัวเร่งปฏิกิริยาแต่ละตัวมีช่วงอุณหภูมิที่เหมาะสมในการทำปฏิกิริยาที่แตกต่างกัน โดย 3V5W จะอยู่ในช่วง 300°C ถึง 350°C ตัวเร่งปฏิกิริยา 3V6W จะอยู่ในช่วง 300°C ถึง 400°C
Other Abstract: This research used V2O5, WO3, and TiO2 (as catalyst support) as benzene oxidation catalysts. The catalysts were prepared by wet impregnation method. The amount of V2O5 was fixed at a concentration around 3 %wt and the amount of WO3 was varied between 5-7 %wt. Metal loading, BET surface area, and crystal structure were determined using ICP, Single point BET, and XRD, respectively. The total amount of acidic site was measured using pyridine adsorption technique while acid site strength was determined using NH3-TPD technique. Catalytic performance for benzene oxidation and Selective Catalytic Reduction (SCR) was evaluated separately and simultaneously in the reaction temperature range 120-450°C. The experimental results show that percentage of benzene removal increases with reaction temperature. The SCR activities of 3V5W and 3V6W increase with reaction temperature until reaching a maximum before dropping. On the contrary, 3V7W is quite inactive for both benzene oxidation and SCR reaction. In addition, each catalyst has optimum working temperature i.e., 300-350°C for 3V5W and 300-400°C for 3V6W.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมเคมี
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50453
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2015.1275
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2015.1275
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5770301421.pdf3.57 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.