Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50530
Title: | การวิจัยไปข้างหน้าเปรียบเทียบระหว่างทิงเจอร์ 2% คลอเฮกซิดีนและทิงเจอร์ 5%โพวิโดนไอโอดีนในการเป็นแอนติเซปติกสำหรับการฆ่าเชื้อที่ตำแหน่งเจาะเลือดดำ: ผลต่ออัตราการปนเปื้อนของการเพาะเชื้อในเลือด |
Other Titles: | A prospective controlled trial of 2% chlorhexidine tincture compared with 5% povidone iodine tincture as an antiseptic for venipuncture site disinfection : effects on blood culture contamination rates |
Authors: | พลากร พนารัตน์ |
Advisors: | ชุษณา สวนกระต่าย กำพล สุวรรณพิมลกุล |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected],[email protected],[email protected] [email protected] |
Subjects: | การเจาะหลอดเลือดดำ สารระงับเชื้อ Veins -- Puncture Antiseptics |
Issue Date: | 2558 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | วัตถุประสงค์: การปนเปื้อนจากการเพาะเชื้อเลือดเป็นปัญหาที่พบบ่อยในเวชปฏิบัติ ซึ่งนำไปสู่การแปลผลที่ผิดพลาด การส่งตรวจหรือการรักษาเพิ่มเติมโดยไม่จำเป็น และเพิ่มค่าใช้จ่ายของโรงพยาบาล แหล่งของเชื้อปนเปื้อนส่วนมากมาจากผิวหนังของผู้ป่วยเอง ดังนั้นการใช้ยาฆ่าเชื้อที่ผิวหนังจึงเป็นมาตรการสำคัญในการป้องกันการปนเปื้อนจากการเพาะเชื้อเลือด แม้ว่าจะมีการศึกษาเปรียบเทียบเกี่ยวกับผลของชนิดของยาฆ่าเชื้อที่ผิวหนังต่อการปนเปื้อนจากการเพาะเชื้อเลือดมากมาย แต่ในปัจจุบันยังไม่มีการศึกษาเปรียบเทียบระหว่างประสิทธิภาพของน้ำยาฆ่าเชื้อชนิด 2% คลอเฮ็กซิดีนในแอลกอฮอล์และ 5%โพวิโดนไอโอดีนในแอลกอฮอล์เพื่อป้องกันการปนเปื้อนจากการเพาะเชื้อเลือด ผู้ป่วยและวิธีวิจัย: การวิจัยเชิงทดลองไปข้างหน้า แบบมีกลุ่มควบคุมเปรียบเทียบว่า 5%โพวิโดนไอโอดีนไม่ด้อยกว่าน้ำยาฆ่าเชื้อ 2% คลอเฮ็กซิดีนในแอลกอฮอล์ในการป้องกันการปนเปื้อนจากการเพาะเชื้อเลือด ทำใน 2 หอผู้ป่วยอายุรกรรมวิกฤต 6 หอผู้ป่วยอายุรกรรมทั่วไป และห้องฉุกเฉิน ในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ตั้งแต่วันที่ 1 เดือนกรกฎาคม พ.ศ.2558 ถึงวันที่ 28 เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2559 จากผู้ป่วยในแผนกอายุรกรรมที่อายุมากกว่า 18 ปี ที่มีอาการหรืออาการแสดงของการติดเชื้อในกระแสเลือด และต้องได้รับการเพาะเชื้อจากเลือดอย่างน้อย 2 ตัวอย่างเพื่อการวินิจฉัยโดยจะได้น้ำยาฆ่าเชื้อที่ผิวหนังก่อนจะทำการเจาะเลือดเพาะเชื้อ โดยน้ำยาฆ่าเชื้อแต่ละชนิดจะถูกสุ่มให้ใช้ในแต่ละหอผู้ป่วยอายุรกรรมวิกฤตและอีก 3 หอผู้ป่วยอายุรกรรมทั่วไปที่มีลักษณะผู้ป่วยเหมือนกันตั้งแต่ก่อนเริ่มการศึกษา สำหรับที่ห้องฉุกเฉินจะใช้น้ำยาฆ่าเชื้อทั้งสองชนิดโดยสลับกันครั้งละ 1 เดือนในช่วง 4 เดือนหลังของการศึกษา ผลการวิจัย: จำนวนตัวอย่างเพาะเชื้อทั้งหมด 3,113 ตัวอย่าง เป็นเชื้อปนเปื้อน 113 ตัวอย่าง (ร้อยละ 3.63) อัตราการปนเปื้อนจากการเพาะเชื้อเลือดในกลุ่มที่ใช้น้ำยาฆ่าเชื้อชนิด 2% คลอเฮ็กซิดีนในแอลกอฮอล์และ 5% โพวิโดนไอโอดีนในแอลกอฮอล์เท่ากับร้อยละ 3.91 และ 3.38 ตามลำดับ (ค่าเฉลี่ยของผลต่าง ร้อยละ 0.53; 95% confidence interval (CI) -0.79 to 1.84; P=0.43) จำแนกตามหอผู้ป่วย พบว่า หอผู้ป่วยอายุรกรรมทั่วไปมีอัตราการปนเปื้อนจากการเพาะเชื้อเลือดในกลุ่มที่ใช้น้ำยาฆ่าเชื้อชนิด 2% คลอเฮ็กซิดีนในแอลกอฮอล์และ 5% โพวิโดนไอโอดีนในแอลกอฮอล์เท่ากับร้อยละ 4.39 และ 3.37 ตามลำดับ (ค่าเฉลี่ยของผลต่าง ร้อยละ 1.02; 95%CI -0.71 to 2.75; P=0.26) หอผู้ป่วยอายุรกรรมวิกฤตมีอัตราการปนเปื้อนจากการเพาะเชื้อเลือดในกลุ่มที่ใช้น้ำยาฆ่าเชื้อชนิด 2% คลอเฮ็กซิดีนในแอลกอฮอล์และ 5% โพวิโดนไอโอดีนในแอลกอฮอล์เท่ากับร้อยละ 1.23 และ 1.84 ตามลำดับ (ค่าเฉลี่ยของผลต่าง ร้อยละ 0.6; 95%CI -3.49 to 2.28; P=0.71) และห้องฉุกเฉินมีอัตราการปนเปื้อนจากการเพาะเชื้อเลือดในกลุ่มที่ใช้น้ำยาฆ่าเชื้อชนิด 2% คลอเฮ็กซิดีนในแอลกอฮอล์และ 5% โพวิโดนไอโอดีนในแอลกอฮอล์เท่ากับร้อยละ 2.89 และ 4.18 ตามลำดับ (ค่าเฉลี่ยของผลต่าง ร้อยละ 1.29; 95%CI -3.82 to 1.24; P=0.34) และพบว่าหอผู้ป่วยวิกฤตเป็นปัจจัยที่มีผลต่อการปนเปื้อนจากการเพาะเชื้อเลือด (adjusted OR 0.42; 95%CI 0.18 to 0.98;P=0.04) เชื้อปนเปื้อนที่พบมากที่สุดคือ coagulase-negative Staphylococcus (ร้อยละ 68.14) ตามด้วย Corynebacterium (ร้อยละ 16.81), Bacillus (ร้อยละ 10.62) และ Micrococcus (ร้อยละ4.42). ผลสรุปการวิจัย: น้ำยาฆ่าเชื้อชนิด 2% คลอเฮ็กซิดีนในแอลกอฮอล์ไม่ด้อยกว่า 5% โพวิโดนไอโอดีนในแอลกอฮอล์ในการป้องกันการปนเปื้อนจากการเพาะเชื้อเลือดในหอผู้ป่วยอายุรกรรมทั่วไป |
Other Abstract: | Objectives: Blood culture contamination is a common problem in clinical practices, resulting in misinterpretation, unnecessary additional investigations or treatments, and extra-hospital cost. Source of contaminants are mostly from the patient’s skin, so antiseptics are the key strategy to prevent blood culture contamination. To our knowledge, there have been no prospective studies comparing 2% chlorhexidine tincture and 5% povidone-iodine tincture as skin antiseptic prior to venipuncture for blood cultures. This study was aimed to evaluate the efficacy of skin antiseptic with 2% chlorhexidine tincture in comparison with 5% povidone-iodine tincture for preventing blood culture contamination Patients and methods: A prospective, non-inferiority, controlled study was carried out in all adult patients, in the 2 medical intensive care units (ICUs), six medical wards, and emergency room (ER) of King Chulalongkorn Memorial Hospital, Bangkok, Thailand, from July 1, 2015 to February 29, 2016 who had clinical signs and/or symptoms of bacteremia/fungemia, and required 2 or more blood cultures for diagnosis. Either 2% chlorhexidine tincture or 5% povidone-iodine tincture antiseptic was randomly assigned to each 1 of the 2 ICUs as well as 3 of the 6 wards when the study began. Each of the antiseptic agents was used in the ER alternately for 1-month each, and was assigned only in the last 4 months of the study period. Results: Of a total of 3,113 blood cultures, 113 (3.63%) isolates were considered as contaminants. The blood culture contamination rate with 2% chlorhexidine tincture was 3.91%, compared with the rate of 3.38% with 5% povidone-iodine tincture (mean difference of 0.53%, P = 0.43, 95%CI -0.79 to 1.84). In medical wards, the blood culture contamination rate was 4.39% and 3.37% with 2% chlorhexidine tincture and 5% povidone-iodine tincture, respectively (mean difference of 1.02%, P = 0.26, 95%CI -0.71 to 2.75). In ICUs, the blood culture contamination rate was 1.23% and 1.84% with 2% chlorhexidine tincture and 5% povidone-iodine tincture, respectively (mean difference of -0.6%, P = 0.71, 95%CI -3.49 to 2.28). In ER, the blood culture contamination rate was 2.89% and 4.18% with 2% chlorhexidine tincture and 5% povidone-iodine tincture, respectively (mean difference of -1.29%, P = 0.34, 95%CI -3.82 to 1.24). From multivariate analysis, ICUs showed significantly less contamination rate than non-ICU wards (adjusted OR 0.42, P = 0.04, 95%CI 0.18 to 0.98).The most common contaminants were coagulase-negative Staphylococcus (68.14%), followed by Corynebacterium (16.81%), Bacillus (10.62%), and Micrococcus (4.42%). Conclusions: Five percent povidone-iodine tincture was non-inferior to 2% chlorhexidine tincture in preventing blood culture contamination in medical wards. In contrast, 5% povidone-iodine tincture was not non-inferior to 2% chlorhexidine tincture in preventing blood culture contamination in the ICUs and ER. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | อายุรศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50530 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2015.716 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2015.716 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Med - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5774057030.pdf | 1.75 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.