Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/505
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorเพลินทิพย์ โกเมศโสภา-
dc.contributor.authorชัชพงศ์ ตั้งมณี-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ภาควิชาการตลาด-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ภาควิชาสถิติ-
dc.coverage.spatialไทย (ภาคกลาง)-
dc.coverage.spatialกรุงเทพฯ-
dc.date.accessioned2006-06-25T09:00:36Z-
dc.date.available2006-06-25T09:00:36Z-
dc.date.issued2534-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/505-
dc.description.abstractกลุ่มนิสิตนักศึกษาจัดเห็น "ตลาดเป้าหมาย" ที่น่าสนใจ เนื่องจากเป็นกลุ่มที่มีความต้องการซื้อมาก แม้ว่าจะยังมีรายได้ไม่มากนัก ประกอบกับอยู่ในวัยที่อยากรู้ อยากเห็น อยากลอง ด้วยเหตุนี้จึงเป็นสิ่งที่น่าศึกษาถึงพฤติกรรมในการใช้เวลาและรูปแบบการใช้จ่ายของนิสิตนักศึกษา เพื่อจะได้เป็นประโยชน์ต่องานการตลาดต่อไป ในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ศึกษา รวบรวม ทั้งข้อมูลทุติยภูมิ และข้อมูลปฐมภูมิ ในส่วนข้อมูลปฐมภูมินั้น ได้ใช้วิธีการสำรวจภาคสนามโดยใช้แบบสอบถามเพื่อถามข้อมูลจากนิสิตนักศึกษาใน 3 สายการศึกษา ได้แก่ สายวิทยาศาสตร์ สายสังคมศาสตร์ และสายมนุษยศาสตร์ สายละ 135 คน รวม 405 คน ใช้การเลือกตัวอย่างที่ไม่คำนึงถึงความน่าจะเป็น โดยใช้โควต้า จากมหาวิทยาลัยของรัฐบาล และเอกชนในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 5 แห่ง ผลจากการศึกษาครั้งนี้พบว่า ในวันธรรมดานั้น นิสิตนักศึกษาส่วนใหญ่ใช้เวลากับภารกิจด้านการเรียน เวลาส่วนที่เหลือใช้ทำการบ้านและทบทวนบทเรียน โดยเฉพาะนิสิตสายวิทยาศาสตร์ เวลาส่วนใหญ่ที่เหลือของนิสิตนักศึกษาทั้งหลาย รวมทั้งในเวลาวันหยุดมักใช้กับการพักผ่อนหย่อนใจ ทั้งในที่พักและนอกสถานที่พัก กิจกรรมยามว่างนั้น คือ การดูโทรทัศน์ วีดีโอ และภาพยนต์ รองลงไปคือ การนอนเล่นหรือนอนหลับ การซื้อของตามห้องหรือศูนย์การค้านั้นเป็นกิจิกรรมที่นิสิตสายสังคมศาสตร์ค่อนข้างนิยมมากกว่าสายอื่น ๆ ในเรื่องรูปแบบการใช้จ่ายนั้น นิสิตนักศึกษามีค่าใช้จ่ายต่อเดือนสูงกว่า 2,000.- บาทขึ้นไป รายการค่าใช้จ่ายที่สำคัญ ๆ ของนิสิตนักศึกษาทั้งหมด คือ ค่าอาหาร คิดเป็นร้อยละ 26-40 ของค่าใช้จ่ายทั้งหมด ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับหนังสือ และอุปกรณ์การเรียน ซึ่งนิสิตนักศึกษาสายวิทยาศาสตร์ค่อนข้างใช้จ่ายมากกว่าอีกสองสายการศึกษา คิดเป็นร้อยละ 5-15 นอกจากนี้ก็มีค่าใช้จ่าย การแต่งกาย ค่าเดินทางและค่าใช้จ่ายเพื่อการพักผ่อนหย่อนใจ แต่ละรายการคิดเป็นร้อยละ 5-15 ของค่าใช้จ่ายทั้งหมด ในกรณีถ้ามีรายได้เพิ่มขึ้น นิสิตนักศึกษาต้องการใช้จ่ายในเรื่องเครื่องแต่งกายเพิ่มขึ้น รองลงมาคือใช้จ่ายในเรื่องการพักผ่อนหย่อนใจ ผลจากการศึกษาทัศนคติในการซื้อสินค้า พบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อการซื้อสินค้าหรือบริการ คือ คุณภาพของสินค้า เป็นเกณฑ์ลำดับแรก รองลงมาคือประโยชน์ใช้สอย และราคา นิสิตนักศึกษาเห็นว่า การลดราคาจะดึงดูดใจให้นิสิตนักศึกษาซื้อสินค้ามากขึ้น ขณะเดียวกันก็เห็นว่า การโฆษณาจะช่วยให้มีการตัดสินใจซื้อสินค้าได้ดีขึ้น จากการเปรียบเทียบนิสิตนักศึกษาทั้งสามสายการศึกษา พบว่า ผู้ที่เรียนสายสังคมศาสตร์ ค่อนข้างตอบสนอง (Response) ในกิจกรรมหรือสิ่งใหม่ ๆ ทางการตลาดมากกว่าผู้เรียนอีกสองสายการศึกษา อย่างไรก็ตาม ในการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายทั้งสามสายการศึกษาดังกล่าวคงไม่แตกต่างกันนัก ทั้งนี้เพราะพฤติกรรมการใช้เวลาใกล้เคียงกัน และรูปแบบการใช้จ่ายไม่แตกต่างกันen
dc.format.extent31443742 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothen
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectนักศึกษา--ไทย--ค่าใช้จ่ายen
dc.subjectการใช้เวลาว่าง--ไทยen
dc.subjectนักศึกษา--ไทย--การดำเนินชีวิตen
dc.titleพฤติกรรมการใช้เวลาและรูปแบบการใช้จ่าย ของนิสิตนักศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร : รายงานผลการวิจัยen
dc.title.alternativeTime spending behavior and expenditure pattern of undergraduates in Bangkok Metropolitanen
dc.typeTechnical Reporten
dc.email.author[email protected]-
Appears in Collections:Acctn - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Chachpong_toexpendinbbk.pdf15.56 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.