Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50825
Title: การประมาณระยะเวลาที่ใช้ในการแก้ไขข้อผิดพลาด ในขั้นตอนของการบำรุงรักษาซอฟต์แวร์
Other Titles: Time estimation for fault reparation in software maintenance phase
Authors: ปวินท์ อยู่พวง
Advisors: พรศิริ หมื่นไชยศรี
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: [email protected],[email protected]
Subjects: การบำรุงรักษาซอฟต์แวร์
ซอฟต์แวร์ล้มเหลว
Software maintenance
Software failures
Issue Date: 2558
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ขั้นตอนการบำรุงรักษาซอฟต์แวร์เป็นขั้นตอนที่เกี่ยวข้องกับการปรับเปลี่ยนและเปลี่ยนแปลงซอฟต์แวร์เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงความต้องการ และมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้นซึ่งผู้ใช้งานได้รายงานเข้ามา ในขั้นตอนนี้เมื่อข้อผิดพลาดถูกตรวจพบ ผู้ใช้งานทำการแจ้งการแก้ไขข้อผิดพลาดให้กับทีมผู้บำรุงรักษา ทีมผู้บำรุงรักษาจะทำการแก้ไขข้อผิดพลาดในซอฟต์แวร์และทราบระยะเวลาที่ใช้ในการแก้ไขข้อผิดพลาดนั้น อย่างไรก็ตามทีมผู้บำรุงรักษาและผู้ใช้งานมีความจำเป็นต้องทราบระยะเวลาที่จะใช้ในการแก้ไขข้อผิดพลาดนั้นๆ ก่อนการแก้ไขจริงเพื่อใช้ในการวางแผนการแก้ไขและการทำงานในส่วนอื่นๆ และช่วยให้องค์กรหรือหน่วยงานสามารถจัดการทรัพยากรได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้นนักวิจัยจึงจำเป็นต้องหาวิธีการประมาณระยะเวลาที่ใช้ในการแก้ไขข้อผิดพลาด วิทยานิพนธ์นี้นำเสนอแบบจำลองการประมาณระยะเวลาที่ใช้ในการแก้ไขข้อผิดพลาด ซึ่งจะทำการสร้างแบบจำลองด้วยวิธีที่แตกต่างกัน คือ แบบจำลองที่ 1 สร้างแบบจำลองด้วยการระบุค่าเฉลี่ยของฟังก์ชันความน่าจะเป็นที่มีการแจกแจงข้อมูลแบบเอกซ์โปแนนเชียล แบบจำลองที่ 2 สร้างแบบจำลองด้วยการประยุกต์ใช้ทฤษฎีการแจกแจงแบบเอกซ์โปแนนเชียล และแบบจำลองที่ 3 สร้างแบบจำลองด้วยการประยุกต์ใช้ทฤษฎีการแจกแจงแบบเอกซ์โปแนนเชียล และใช้มาตรวัดความไม่เสถียรของซอฟต์แวร์ ผลการทดลองพบว่าแบบจำลองที่สร้างแบบจำลองด้วยการประยุกต์ใช้ทฤษฎีการแจกแจงแบบเอกซ์โปแนนเชียล และใช้มาตรวัดความไม่เสถียรของซอฟต์แวร์ มีประสิทธิภาพและประมาณได้ใกล้เคียงกับค่าจริงมากที่สุด ซึ่งสามารถอธิบายได้ว่าความไม่เสถียรของซอฟต์แวร์มีผลต่อความถูกต้องของการประมาณระยะเวลาที่ใช้ในการแก้ไขข้อผิดพลาด และหากทำการพิจารณาประเภทของข้อผิดพลาดจะทำให้แบบจำลองนั้นมีความถูกต้องมากขึ้น อันดับสองคือแบบจำลองที่สร้างด้วยการระบุค่าเฉลี่ยของฟังก์ชันความน่าจะเป็นที่มีการแจกแจงข้อมูลแบบเอกซ์โปแนนเชียล และอันดับสุดท้ายคือแบบจำลองที่สร้างด้วยการประยุกต์ใช้ทฤษฎีการแจกแจงแบบเอกซ์โปแนนเชียล
Other Abstract: Software maintenance phase involves modifying and making changes to software due to requirements changes and/or defects reported by users. At this phase, when defects are uncovered, users will inform the problem to software maintenance team. The team will fix the errors and then will know actual fault reparation time of the error. However, the team and users may need to know fault reparation time before the errors are corrected since they can use the estimated time for maintenance plan and the allocation of human resources. Therefore, researcher needs to find an approach to estimate fault reparation time. In this research, we present an estimation model for fault reparation time. The models are constructed by using 3 different methods: Model 1 constructed by mean of exponential probability density function, Model 2 constructed by applying theory of exponential distribution and Model 3 constructed by applying theory of exponential distribution and using software instability metric. The experiment result shows that Model 3 constructed by applying theory of exponential distribution and using software instability metric is better than other models. This can be explained that software instability metric affects the accuracy of estimate and when considering fault types, the model has better accuracy. Model 1 constructed by mean of exponential probability density function is the second best model and Model 2 constructed by applying theory of exponential distribution comes last.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมซอฟต์แวร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50825
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2015.1297
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2015.1297
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5670275721.pdf5.33 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.