Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50970
Title: การสึกหรอของล้อเจียระไนแบบเพชรที่มีตัวประสานเป็นเนื้อแก้วในการเจียระไนวัสดุผสมอะลูมินา-ไทเทเนียมคาร์ไบด์
Other Titles: Wear of vitrified bonded diamond grinding wheel during grinding of Al2O3-TiC composite materials
Authors: สืบสกุล ยศพิทักษ์
Advisors: ธาชาย เหลืองวรานันท์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: [email protected],[email protected]
Subjects: ฮาร์ดดิสก์
การเจียระไนและการขัด
Hard disks (Computer science)
Grinding and polishing
Issue Date: 2558
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: หนึ่งในกระบวนการผลิตหัวอ่าน-เขียนข้อมูลสำหรับฮาร์ดดิสก์จากแผ่นเวเฟอร์ซึ่งเป็นวัสดุผสมอะลูมินา-ไทเทเนียมคาร์ไบด์คือ กระบวนการเจียระไน จุดประสงค์หลักของการทดลองครั้งนี้เป็นการศึกษาการสึกหรอของล้อเจียระไน โดยศึกษาจากผิวของล้อเจียระไน, กระแสของมอเตอร์ขณะเจียระไน และความหยาบผิวของชิ้นงาน ชิ้นงานที่ใช้ในการทดลองเป็นวัสดุผสมอะลูมินา-ไทเทเนียมคารืไบด์ที่มีลักษณะเป็นแท่ง ซึ่งจะถูกเจียระไนด้วยล้อเจียระไนรูปถ้วยแบบเพชรที่มีตัวประสานเป็นแก้วโดยมีขนาดตะแกรง 1500 นอกเหนือจากการศึกษาพฤติกรรมการสึกหรอของล้อเจียระไนแล้ว ผลของการลับคมต่อลักษณะสัณฐานวิทยาของล้อเจียระไนก็ได้ทำการศึกษาในครั้งนี้ด้วย ความหยาบผิวของล้อเจียระไนจะถูกวัดโดยใช้เครื่องวัดความหยาบผิวโปรฟิโลมิเตอร์ สัณฐานวิทยาของล้อเจียระไนจะตรวจสอบโดยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด ความหยาบผิวของชิ้นงานจะวัดโดยกล้องจุลทรรศน์แรงอะตอม และกระแสของมอเตอร์ขณะเจียระไนวัดจะโดยเครื่องเจียระไน ผลการทดลองพบว่า ค่าความหยาบผิวของชิ้นงานอยู่ในช่วง 20-30 นาโนเมตร ความหยาบผิวของล้อเจียระไนลดลงจาก 1.25 ไมโครเมตรเป็น 1.08 ไมโครเมตร หลังการลับคมครั้งแรก และยิ่งจำนวนครั้งของการเจียระไนเพิ่มขึ้นความหยาบผิวของล้อเจียระไนยิ่งลดลง ผิวของล้อเจียระไนถูกปกคลุมไปด้วยเศษการเจียระไน และเกิดการสึกหรอแบบเสียคมทั่วทั้งผิวล้อเจียระไน ความหยาบผิวของชิ้นงานน้อยลงเมื่อจำนวนครั้งของการเจียระไนเพิ่มขึ้น ความยากในการเจียระไนเพิ่มขึ้นเมื่อเจียระเรื่อยๆ ซึ่งสามารถดูได้จากกระแสของมอเตอร์ที่เพิ่มขึ้น การลับคมด้วยตัวเองลองล้อเจียระไนพบได้ที่การเจียระไนครั้งที่ 85 และการลับคมเพียงครั้งเดียวที่ระยะลับคมลึก 10 มิลลิเมตรไม่เพียงพอที่จะทำให้ให้สัณฐานวิทยาของล้อเจียระไนกลับมาเหมือนกับล้อเจียระไนที่ลับคมครั้งแรก
Other Abstract: One of the most important processes for producing read-write slider of a hard disk from a fabricated Al2O3-TiC wafer is grinding process. The main purpose of this experiment is to study the wear behavior of grinding wheel, which are grinding wheel surface, spindle current during grinding, and workpiece surface roughness. The workpiece was Al2O3-TiC bar which was grinded using vitrified bonded SD1500 diamond cup wheel. In addition to wear behavior of grinding wheel, the effect of wheel dressing to morphology of wheel surface was investigated. Characterization of wheel surface was by measuring its surface roughness, using a profilometer. Its surface morphology was examined by SEM. The surface roughness of the work piece was measured by AFM. The spindle current during grinding was collected by grinding machine. The grinding produced work piece surface roughness in range of 20 to 30 nm. Surface roughness of grinding wheel decreased from initially dressed condition of 1.25 µm to 1.08 µm. As grinding pass number increases, wheel roughness decreases. Its surface is worn down and covered by swarf, and lost its flatness and uniformity. Workpieces have smoother surface with an increase of grinding passes. Grinding is more difficult as grinding continues, which can be seen by the increase of spindle current. Wheel self-sharpening was apparent at 85 of grinding passes. A dressing operation by one-pass grinding of white alumina dressing stick for a 10 mm distant is not sufficient to bring back the initially dressed surface condition of the wheel
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมโลหการและวัสดุ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50970
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2015.1379
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2015.1379
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5770327821.pdf27.07 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.