Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51035
Title: | ความชุกของอาการวิตกกังวล อาการซึมเศร้าในผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาโดยการสวนหัวใจและการถ่างขยายหลอดเลือดหัวใจ ที่ศูนย์หัวใจสิรินธร รพ.พระมุงกุฎเกล้า ศึกษาไปข้างหน้า 3 เดือน |
Other Titles: | Prevalence of anxiety, depression in coronary angiogram and percutaneous coronary intervention patients at Sirindhorn Cardiac Center Phramongkutklao Hospital prospective 3 month study |
Authors: | ภรณ์ชญา ภูสง่า |
Advisors: | สมรักษ์ สันติเบญจกุล โสภณ สงวนวงษ์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected],[email protected] [email protected] |
Subjects: | หัวใจ -- โรค -- ผู้ป่วย ความวิตกกังวล ความซึมเศร้า Heart -- Diseases -- Patients Anxiety Depression |
Issue Date: | 2558 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การศึกษาในครั้งนี้เป็นการศึกษาเป็นการวิจัยเชิงพรรณนา แบบศึกษาไปข้างหน้า เพื่อศึกษาความชุกของการวิตกกังวล อาการซึมเศร้า ความสัมพันธ์ของปัจจัยด้านต่างๆ กับอาการวิตกกังวล อาการซึมเศร้า และความสัมพันธ์ระหว่างอาการวิตกกังวล อาการซึมเศร้า กับการเจ็บป่วยและการกลับเข้ามารักษาตัวในโรงพยาบาล ในผู้ป่วยที่ได้ทำการตรวจรักษาโดยการสวนหัวใจ จำนวน 100 คน โดยใช้แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป ข้อมูลด้านการเจ็บป่วย ข้อมูลด้านจิตสังคม และแบบวัดอาการวิตกกังวลและอาการซึมเศร้าของผู้ป่วยฉบับภาษาไทย (Thai HADs) เก็บข้อมูลสองครั้งระยะเวลาห่างกัน 3 เดือนและข้อมูลที่ได้วิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงพรรณนาในรูปของร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ใช้ไค-สแควร์ และสถิติการถดถอยโลจิสติกเพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต้นกับตัวแปรตาม ผลการศึกษาพบว่าครั้งแรกพบความชุกผู้ที่มีภาวะวิตกกังวลและหรือซึมเศร้า ร้อยละ 44 ครั้งที่สอง พบความชุกของผู้ที่มีภาวะวิตกกังวลและหรือซึมเศร้าร้อยละ 31.11 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะวิตกกังวลและหรือภาวะซึมเศร้าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คือ ประวัติที่เคยได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคทางจิตเวช (P 0.045) Functional class (P<0.001) ประวัติการเคยนอนโรงพยาบาล (1ปี) (P<0.047) และผลการสวนหัวใจ (P 0.004) การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะวิตกกังวลและหรือภาวะซึมเศร้ากับการเจ็บป่วยและกลับเข้ามานอนรักษาตัวในโรงพยาบาลหลังทำการสวนหัวใจ 3 เดือนพบว่า มีสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.001) โดยปัจจัยที่สามารถทำนายผลการเกิดภาวะวิตกกังวลและหรือภาวะซึมเศร้า พบ 2 ปัจจัยคือ Functional classที่แย่ และ ผลการสวนหัวใจที่พบหลอดเลือดตีบรุนแรง |
Other Abstract: | The purpose of this prospective descriptive study was to determine prevalence of anxiety and depression in patient who received coronary angiogram and percutaneous coronary intervention at Sirindhorn Cardiac Centre, Phramongkutklao Hospital. One hundred patients were included in this study. Anxiety and depression were evaluated by Thai-HADs both day 1 after receive cardiac intervention and 3 month again. Association between Psychosocial factors and psychiatric condition also were determined by Chi-square and logistic regression. Finally Chi-square and logistic regression were used to examine association between the psychiatric condition and unplanned re-hospitalization. The results found the prevalence of anxiety and depression is 44% and 33.11% at day 1 and 3 month later after cardiac intervention respectively. The factor associated with anxiety and depression are the history of psychiatric, Functional class, history of hospital admission by heart disease within 1 year and the result after coronary angiogram. The participants who had psychiatric condition were associated with unplanned re-hospitalization by heart condition within 3 month. The factor that could predict anxiety and depression were poor functional class and severity of coronary artery disease. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | สุขภาพจิต |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51035 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2015.694 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2015.694 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Med - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5774261730.pdf | 2.41 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.