Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51080
Title: การพัฒนามาตรวัดจิตวิทยาศาสตร์สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น:การประยุกต์ใช้การวิเคราะห์กลุ่มแฝงเพื่อกำหนดคะแนนจุดตัด
Other Titles: A development of scientific mind scale for lower secondary school students : application of latent class analysis for establishing cutscores
Authors: เฉลิมศักดิ์ มะลิงาม
Advisors: ณัฏฐภรณ์ หลาวทอง
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: [email protected],[email protected]
Subjects: การเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้
การวิเคราะห์กลุ่มแฝง
Inquiry-based learning
Latent structure analysis
Issue Date: 2558
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนามาตรวัดจิตวิทยาศาสตร์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 2) วิเคราะห์กลุ่มแฝงจิตวิทยาศาสตร์สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นสำหรับกำหนดคะแนนจุดตัดของมาตรวัดจิตวิทยาศาสตร์ และ 3) วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มแฝงจิตวิทยาศาสตร์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นกับปัจจัยพื้นฐานในด้านเพศ ระดับชั้น ระดับผลการเรียนวิทยาศาสตร์ และขนาดโรงเรียน ตัวอย่างเป็นนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 1,081 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ มาตรวัดจิตวิทยาศาสตร์สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น เป็นแบบวัดสถานการณ์ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ การวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ความเบ้ ความโด่ง สัมประสิทธิ์การกระจาย การวิเคราะห์องค์ประกอบ เชิงยืนยัน การวิเคราะห์กลุ่มแฝง และการวิเคราะห์ไค-สแควร์ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. มาตรวัดจิตวิทยาศาสตร์มีคุณภาพเป็นไปตามเกณฑ์ที่ยอมรับได้ คือ ด้านความตรงเชิงเนื้อหา (IOC = 0.56 – 1.00, CVI = 0.93) ด้านความตรงเชิงโครงสร้าง โมเดลจิตวิทยาศาสตร์ ซึ่งประกอบด้วย 10 องค์ประกอบ ได้แก่ ความอยากรู้อยากเห็น ความซื่อสัตย์ ความมุ่งมั่นพยายาม ความรอบคอบ ความรับผิดชอบ ความสร้างสรรค์ ความมีเหตุผล ความใจกว้าง ความร่วมมือช่วยเหลือ และเจตคติที่ดีต่อวิทยาศาสตร์ มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (chi-square = 36.20, df = 26, p = .088, GFI = .99, AGFI = .99, RMSEA = .019) ด้านความเที่ยง (ทั้งฉบับเท่ากับ .899 และรายองค์ประกอบเท่ากับ .356 - .698) ด้านค่าพารามิเตอร์ของข้อคำถามตามทฤษฎีการตอบสนองข้อสอบ แบบ 3 พารามิเตอร์ (a = 0.32 – 3.24, b = -1.01 – 0.79, c = 0.00 – 0.31) 2. กลุ่มแฝงจิตวิทยาศาสตร์จำแนกได้ 3 กลุ่ม คือ กลุ่มแฝงจิตวิทยาศาสตร์ 1 (กลุ่มสูง) กลุ่มแฝงจิตวิทยาศาสตร์ 2 (กลุ่มต่ำ) และกลุ่มแฝงจิตวิทยาศาสตร์ 3 (กลุ่มปานกลาง) และมีคะแนนจุดตัดระหว่างกลุ่มแฝงจิตวิทยาศาสตร์ 2 (กลุ่มต่ำ) กับกลุ่มแฝงจิตวิทยาศาสตร์ 3 (กลุ่มปานกลาง) เท่ากับ 12.75 และคะแนนจุดตัดระหว่างกลุ่มแฝงจิตวิทยาศาสตร์ 3 (กลุ่มปานกลาง) กับกลุ่มแฝงจิตวิทยาศาสตร์ 1 (กลุ่มสูง) เท่ากับ 20.25 3. การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มแฝงจิตวิทยาศาสตร์กับปัจจัยพื้นฐานใน ด้านเพศ ระดับชั้น ระดับผลการเรียน และขนาดโรงเรียน ของการวิเคราะห์ค่าไค-สแควร์ พบว่า มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Other Abstract: The objectives of this research were 1) to develop the scientific mind scale for lower secondary school students; 2) to analyze a latent class of the scientific mind of lower secondary school students for setting cutscores of scale; and 3) to analyze relationships between the latent class of the scientific mind and fundamental factors of lower secondary school student including gender, level, science grades and school size. The sample used in this research were 1,081 lower secondary school students. This research instruments were scientific mind scale for lower secondary school students, which was 30-situation test items. The data were analyzed by mean, standard deviation, skewness, kurtosis, coefficient of variance, confirmatory factor analysis, latent class analysis and chi-square analysis. The research results were as follow: 1) The quality of scientific mind scale found that content validity (IOC index of 0.56 to 1.00 and CVI index of 0.93), construct validity: the scientific mind consisted of 10 factors: curiosity, honesty, attempt, caution, responsibility, creativity, rationality, generousness, cooperation, and scientific attitude. The scientific mind model is consistency fitted to the empirical data (chi-square = 36.20, df = 26, p = .088, GFI = .99, AGFI = .99, RMSEA = .019), reliability of scientific mind scale for lower secondary school students was of .899 (reliability of 10 sub-scales ranged from .356 to .744), item parameter (discrimination index ranged from 0.32 to 3.24, difficult index ranged from -1.01 to 0.79, guessing index ranged from 0.00 to 0.31). 2) The latent class analysis of scientific mind classified into three class: class 1 (higher group), class 2 (lower group) and class 3 (moderate group). The cutscores for class 2 (lower group) and class 3 (moderate group) were 12.75 and cutscores for class 3 (moderate group) and class 1 (higher group) were 20.25. 3) The chi-square test, relationships between the latent class of scientific mind and fundamental factors were statistically significant at the level 0f .05.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การวัดและประเมินผลการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51080
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2015.1172
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2015.1172
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5783813627.pdf7.48 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.