Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51130
Title: การศึกษาการใช้สอยที่ว่างในการอยู่อาศัยแบบวิถีเกษตรพอเพียง: กรณีศึกษา ชุมชนบ้านลำไทร เขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร
Other Titles: THE PROXEMIC STUDY IN SUFFICIENT AGRICULTURE - BASED DWELLING: A CASE STUDY OF BAN LAM SAI COMMUNITY, NONG CHOK DISTRICT, BANGKOK
Authors: ชัยพัทธ์ งามบุษบงโสภิน
Advisors: วาริชา วงศ์พยัต
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
Advisor's Email: [email protected],[email protected]
Issue Date: 2558
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: สังคมไทยเป็นสังคมเกษตรกรรม และชุมชนเกษตรกรรมจำนวนหนึ่งของประเทศไทย ได้มีการนำพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาใช้ เป็นแนวทาง “วิถีเกษตรพอเพียง” ให้เกษตรกรสามารถพึ่งพาตนเองได้ รวมกลุ่มใช้ความรู้ ทรัพยากร และภูมิปัญญาด้านต่างๆที่มีอยู่ในการดำเนินชีวิต สามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคง และยั่งยืนในความเปลี่ยนแปลงของโลก จากความสำคัญของวิถีชีวิตเกษตรพอเพียง วิทยานิพนธ์นี้เป็นการศึกษาการใช้สอยที่ว่างในการอยู่อาศัยแบบวิถีเกษตรพอเพียง กรณีศึกษา: ชุมชนบ้านลำไทร เขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร เป็นชุมชนหนึ่งซึ่งดำรงชีวิตแบบสังคมวิถีเกษตรพอเพียง ท่ามกลางสังคมเมืองของกรุงเทพมหานคร สมาชิกมีความสัมพันธ์กลมกลืนกับธรรมชาติ และมีระบบความสัมพันธ์แบบเครือญาติช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และดำรงตามแนวทางพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ โดยอาศัยการรวบรวมเก็บข้อมูลจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง และการศึกษาลงพื้นที่เก็บข้อมูลภาคสนาม การเข้าไปสังเกตการณ์การใช้สอยพื้นที่และการอยู่อาศัยของเรือนกรณีศึกษา และการสัมภาษณ์ผู้อยู่อาศัย ตั้งแต่เดือนกันยายน 2558 จนถึงเดือนพฤษภาคม 2559 เพื่อการวิเคราะห์วิถีชีวิตและการใช้สอยที่ว่างของเรือนกรณีศึกษา โดยอาศัยแนวคิดทางด้านจิตวิทยาสถาปัตยกรรมมาช่วยในการคลี่เรื่องราววิถีชีวิต และถอดสิ่งที่ซ่อนในที่ว่างของเรือนกรณีศึกษา ในชุมชนบ้านลำไทร อันนำไปสู่ความเข้าใจในการอยู่อาศัยแบบวิถีเกษตรพอเพียง ให้เห็นคุณค่าและเข้าใจในชุมชนที่มีเอกลักษณ์ของวิถีชีวิต เพื่อนำไปสู่ชุมชนเกษตรอื่น ๆ ที่มีคุณค่าในด้านสังคม ได้ตระหนักและภูมิใจในวิถีชีวิตอันเป็นรากฐานของประเทศ ให้อยู่อาศัยได้อย่างยั่งยืนและดำรงอยู่เอาไว้ด้วยความพอเพียง พอเหมาะ พอดีพร้อมกับก้าวทันความเปลี่ยนแปลงของโลก ผลการวิจัยนี้สรุปได้ว่า คุณค่าการดำรงแบบวิถีเกษตรพอเพียง เป็นวิถีชีวิตที่สามารถตอบสนองต่อความปรารถนาของมนุษย์ต่าง ๆ ได้อย่างครบถ้วน จากการอยู่อาศัยที่สรุปได้เป็นสี่ข้อ อันได้แก่ การอยู่อาศัยที่สอดคล้องกับบริบทอย่างมีสุนทรียะ สอดคล้องและเหมาะสมกับวิถีเกษตรกรรมของชุมชนเกษตรของคนไทย สามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างดีระดับหนึ่ง โดยใช้พื้นที่ที่มีให้เกิดประโยชน์สูงสุดพร้อมกับการอยู่อาศัยสอดคล้องกับธรรมชาติ สองคือ การอยู่อาศัยแบบพอเพียง พอดี เหมาะสม ช่วยพัฒนาพื้นที่ทำมาหากินให้สามารถเลี้ยงดูตนเองและครอบครัวอย่างดีพอสมควร นอกจากนี้ยังเป็นพื้นที่สำหรับอยู่อาศัยอันก่อเกิดความสบายและความสุข ให้ดำรงอยู่ในพื้นที่ได้ยาวนานอย่างยั่งยืน อยู่อย่างพอดี ไม่เกินตัว ข้อที่สาม การอยู่อาศัยแบบกลมเกลียว สานสัมพันธ์ เกิดเป็นความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างคนในชุมชนได้รวมกลุ่มอย่างเหนียวแน่นและเกิดความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างคนกับธรรมชาติ และสุดท้าย การอยู่อาศัยแบบเรียนรู้ ปรับปรุง เติบโต ยังเป็นการอยู่อาศัยที่ก่อให้เกิดความสุขในพื้นที่พร้อมกับการเรียนรู้พัฒนาตนเองให้ก้าวทันโลก
Other Abstract: Thai society is agricultural. A number of Thai agricultural communities have adopted the Royal Initiative of His Majesty the King of “Sufficient Agriculture-based dwelling” so that the agriculturist can be independent. Getting together to combine their knowledge, resources and wisdom in all aspects, they therefore can live strongly and sustainably despite how much the world has changed. According to the core of sufficient agriculture-based dwelling, this thesis is the proxemic study in sufficient agriculture-based dwelling with a case study of the Ban Lam Sai community, Nong Chok District, Bangkok; one of the sufficient agricultural communities among the urban communities in Bangkok. People in this community live as a family; they bond in with nature, and live according to the Royal Initiative “Sufficient Economy” of His Majesty the King. This study is a qualitative research, in which the information has been gathered from both primary and secondary sources. By looking through existing documents and observing the usage of space and the dwelling of the case study house and the inhabitants’ interviews from September 2015 to May 2016, the way of life and space usages of the case have been analyzed by using the knowledge of Architectural Psychology to examine life stories and emergences of the dwelling place in the Ban Lam Sai community. The results of this research lead to a profound understanding in sufficient agriculture-based dwelling, creating value and understanding about this very unique community and hopefully the knowledge obtained from this study can also contribute to better understanding in other agricultural societies that have shared social values. In conclusion, the value of the sufficient agriculture-based dwelling is the lifestyle that answers to all basic human needs and is aligned with the sufficient agriculture-base dwelling. The Thai agricultural community could eventually be self-sufficient by using the existing spaces to their maximum capacity along with the possibility of living with nature and enhancing spaces to earn a living. Moreover, this space is also a dwelling space for sufficient happiness to last deeply and strongly which will contribute to a close rapport within the community. The sufficient agriculture-based dwelling does not only create good relationships between humanity and nature, but it also accounts for happiness while moving forward alongside the world.
Description: วิทยานิพนธ์ (สถ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558
Degree Name: สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สถาปัตยกรรม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51130
Type: Thesis
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5873350825.pdf19.84 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.