Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51179
Title: การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนสิ่งแวดล้อมศึกษาตามแนวคิดการเรียนรู้โดยใช้หลักฐานและการอิงสถานที่เพื่อเสริมสร้างพฤติกรรมรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมของเด็กอนุบาล
Other Titles: Development of environmental education instructional model based on evidence - based learning and place - based learning approach for enhancing environmentally responsible behavior of kindergarteners
Authors: พัชราภรณ์ พุทธิกุล
Advisors: อุดมลักษณ์ กุลพิจิตร
พิมพันธ์ เดชะคุปต์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: [email protected],[email protected]
[email protected]
Subjects: ระบบการเรียนการสอน -- การออกแบบ
เด็กกับสิ่งแวดล้อม
นักเรียนอนุบาล
การศึกษาขั้นอนุบาล
Instructional systems -- Design
Children and the environment
Kindergarten
Issue Date: 2558
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการเรียนการสอนสิ่งแวดล้อมศึกษาตามแนวคิดการเรียนรู้โดยใช้หลักฐานและการอิงสถานที่เพื่อเสริมสร้างพฤติกรรมรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมของเด็กอนุบาล 2) ศึกษาผลของการใช้รูปแบบการเรียนการสอนฯ และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของครูที่ใช้รูปแบบการเรียนการสอนฯ การดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 4 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนฯ ระยะที่ 2 การนำร่องรูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น ระยะที่ 3 การศึกษาผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น และระยะที่ 4 การศึกษาความพึงพอใจของครูผู้นำรูปแบบการเรียนการสอนฯ ไปใช้ กลุ่มตัวอย่างคือ เด็กอนุบาลปีที่ 2 จำนวน 27 คน โรงเรียนวัดประดู่ทรงธรรม (จียะพันธ์บำรุง) จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และครูชั้นอนุบาลในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 จำนวน 14 คน ใช้เวลาในการดำเนินการวิจัย 18 เดือน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบวัดพฤติกรรมรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม แบบประเมินพฤติกรรมรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม แบบบันทึกการสังเกตพฤติกรรมรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม และแบบประเมินความพึงพอใจของครู วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. รูปแบบการเรียนการสอนสิ่งแวดล้อมศึกษาตามแนวคิดการเรียนรู้โดยใช้หลักฐานและการอิงสถานที่ ประกอบด้วย 5 ส่วน โดยมีขั้นตอนการเรียนการสอน 6 ขั้น คือ ขั้นสำรวจประเด็นปัญหาในท้องถิ่น ขั้นเชื่อมโยงประสบการณ์ประสานพลังความคิด ขั้นสืบค้นหลักฐาน ขั้นพิทักษ์รักษาสิ่งแวดล้อม ขั้นสร้างความคิดรวบยอด และขั้นประยุกต์และเผยแพร่ความรู้สู่สาธารณะ 2. ผลของการใช้รูปแบบพบว่า คะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมของกลุ่มตัวอย่างหลังการทดลองสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3. ครูที่นำรูปแบบการเรียนการสอนสิ่งแวดล้อมศึกษาไปทดลองใช้มีความพึงพอใจในระดับมาก โดยมีความพึงพอใจในระดับมากที่สุดในด้านการนำรูปแบบการเรียนการสอนฯ ไปใช้ในสถานการณ์จริงได้ และมีความพึงพอใจระดับมากในด้านแนวคิดพื้นฐานของรูปแบบการเรียนการสอนฯ มีความเหมาะสม หลักการเรียนรู้ของรูปแบบการเรียนการสอน ฯ แสดงจุดเน้นของการเรียนรู้ วัตถุประสงค์ของรูปแบบการเรียนการสอนมีความชัดเจนแสดงถึงสิ่งที่มุ่งหวังให้เกิดกับผู้เรียน ขั้นตอนการเรียนการสอนทั้ง 6 ขั้น เนื้อหา แผนการจัดประสบการณ์มีความเหมาะสม และการประเมินพฤติกรรมรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมใช้วิธีการและเครื่องมือที่เหมาะสม
Other Abstract: The purposes of this research were 1) to develop an environmental education instructional model based on evidence - based learning and place-based learning approach for enhancing environmentally responsible behavior of kindergarteners, 2) to study the effectiveness of the developed instructional and 3) to study the satisfaction of teachers who implemented the environmental education instructional model. The research procedure was divided into 4 phases: 1) developing the environmental education instructional model, 2) pilot studying the developed instructional model. 3) using improving studying the effects of the developed instructional model and 4) studying the satisfaction of teachers who implemented the environmental education instructional model. There were 27 samples of level 2 kindergarteners from the Watpradoochongtaum (Jeyapunbamroung) School in Pranakorn Sri Ayutthaya province and 14 kindergarten teachers of Pranakorn Sri Ayutthaya Educational Service Area Office 1. Research duration took 18 months. Instruments for data collection were an environmentally responsible behavior test, an environmentally responsible behavior assessment, an environmentally responsible behavior observation, and a teacher satisfaction assessment forms. Arithmetic mean, Standard deviation, and t-test were applied to analyze the results of the study. The research findings were as follows: 1. The environmental education instructional model based on evidence - based learning and place-based learning approach consisted of 5 components. There were six steps of the instruction: surveying local environmental problems, connecting experiences and coordinating thinking, inquiry evidences, action on local environmental stewardship, building concept, and public presentation. 2. The result from model testing revealed that the average scores on environmentally responsible behavior of the samples after the experiment were higher than before with statistically significant differences at .01 3. The satisfaction of teachers who used an environmental education instructional model were found at high level, a highest level on the possible implementation in real situation, a high level on the instructional model’s approach, clear objectives, and learning emphasis; all six instructional steps were appropriate contents and lesson plans contain clear learning expectations.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558
Degree Name: ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: การศึกษาปฐมวัย
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51179
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2015.1200
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2015.1200
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5484229027.pdf5.19 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.