Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51226
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorทรงพันธ์ เจิมประยงค์en_US
dc.contributor.authorธันย์ชนก วิมลสันติรังษีen_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2016-12-02T06:02:46Z
dc.date.available2016-12-02T06:02:46Z
dc.date.issued2558en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51226
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการเข้าชมนิทรรศการในพิพิธภัณฑ์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ในด้านระยะเวลาในการเข้าชม ลำดับการเข้าชม ความสนใจ รวมถึงความพึงพอใจและประโยชน์ที่ได้รับจากการเข้าชมนิทรรศการ โดยเทคนิคเสียงจากภาพ (Photovoice) การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Method) ระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยเชิงสำรวจ โดยใช้แบบสอถาม แบบการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างและภาพถ่ายเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่าที่เข้าชมนิทรรศการในมิวเซียมสยามและพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ ภายใต้องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ ในระหว่างวันที่ 1 กรกฎาคม ถึงวันที่ 31 ตุลาคม 2558 จำนวนทั้งหมด 40 คน ผลการวิจัยพบว่านักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายที่เข้าร่วมการวิจัยใช้เวลาในการเข้าชมพิพิธภัณฑ์โดยเฉลี่ย 79.40 นาที (1 ชั่วโมง 19 นาที 40 วินาที) ในด้านลำดับการเข้าชม พบว่ารูปแบบการจัดแสดงนิทรรศการของพิพิธภัณฑ์เป็นปัจจัยหลักที่ส่งผลต่อลำดับการเข้าชมนิทรรศการของนักเรียน โดยนักเรียนที่เข้าชมนิทรรศการในมิวเซียมสยามจำนวนมากที่สุดเลือกชมนิทรรศการตามลำดับเนื้อหาของนิทรรศการ ขณะที่นักเรียนที่เข้าชมนิทรรศการในพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ฯ จำนวนมากที่สุดเลือกชมนิทรรศการตามความดึงดูดใจของนิทรรศการ ผลการศึกษาภาพถ่ายพบว่าประเภทภาพถ่ายที่นักเรียนถ่ายมากที่สุด คือ ภาพถ่ายแบบเฉพาะเจาะจง ภาพถ่ายส่วนใหญ่มีองค์ประกอบภาพเป็นวัตถุจัดแสดง โดยนักเรียนมีวัตถุประสงค์ในการถ่ายภาพที่หลากหลาย ทั้งนี้นักเรียนถ่ายภาพเพื่อใช้เก็บเป็นที่ระลึกมากที่สุด ในการศึกษาความพึงพอใจพบว่านักเรียนที่เข้าชมนิทรรศการในมิวเซียมสยามมีความพึงพอใจด้านการจัดแสดงนิทรรศการอยู่ในระดับมากที่สุด 2 ด้าน ได้แก่ วัตถุจัดแสดง อุปกรณ์และสื่อมัลติมีเดียและความสวยงามและความสมจริงของวัตถุจัดแสดง และด้านเนื้อหาที่มีการจัดแสดงอยู่ในระดับมากที่สุด 3 ด้าน ได้แก่ เนื้อหามีความถูกต้อง เนื้อหามีความครบถ้วนและเนื้อหาเข้าใจง่าย และนักเรียนยังได้รับประโยชน์จากการเข้าชมนิทรรศการในระดับมากสุด 4 ด้านได้แก่ ได้รับความสนุกสนานเพลิดเพลิน ได้ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ ได้รับแรงกระตุ้นในการอยากเรียนรู้และได้รับความรู้ ใหม่ที่ไม่เคยทราบมาก่อน นักเรียนที่เข้าชมนิทรรศการในพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์มีความพึงพอใจในด้านการจัดแสดงนิทรรศการอยู่ในระดับมากที่สุด 1 ด้าน ได้แก่ การออกแบบนิทรรศการ และด้านเนื้อหาของนิทรรศการอยู่ในระดับมากที่สุด 3 ด้าน ได้แก่ เนื้อหามีความถูกต้อง เนื้อหามีความครบถ้วนและเนื้อหาตรงตามความต้องการ และนักเรียนยังได้รับประโยชน์จากการเข้าชมนิทรรศการในระดับมากสุด 4 ด้าน ได้แก่ ได้รับความสนุกสนานเพลิดเพลิน ได้ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ ได้รับแรงกระตุ้นในการอยากเรียนรู้และสามารถนำความรู้ไปใช้ได้en_US
dc.description.abstractalternativeThe objective of this study is to investigate high school students’ behavior during a museum visit in terms of time used during the visit, navigation pattern, and their interests. This study also explores the students’ perceived satisfaction and benefits of the visit. Photovoice technique, semi-structured interview, paper-based questionnaires and photograph were used to collect data from 40 high school students onsite at Museum Siam and National Science Museum during July 1, 2015 and October 31, 2015. As a result, the participants spent about 79.40 minutes (1 hour 19 minutes and 40 seconds) on average during the visit. Apparently the design of the exhibition had an effect on participants navigation inside the museum. The highest proportion of participants from Museum Siam followed the order of the exhibition content. The highest proportion of participants from National Science Museum navigated by attractiveness of the exhibitions. The majority of photos taken by participants were macro/close-up photos. Within a set of most interesting photos indicated by the participants themselves, the highest proportion of photos contains displaying objects (i.e., real objects, replicas, and models) as the main component of the photos. The photos were taken based on various purposes. The highest proportion of photo were taken for memorial purpose. The participants from Museum Siam were satisfied with the exhibition arrangement at the highest level in two aspects: 1) displaying objects, equipment, and multimedia and 2) the aesthetic and reality of displaying objects. For the content of the exhibition, the participants from Museum Siam were satisfied at the highest level in three dimensions including accuracy, completeness, and being easy to understand. The students received the benefits at the highest level in four dimensions including enjoyment, taking advantages of free time, being inspired for learning, and gaining new knowledge. For those who visited National Science Museum, they were satisfied with the exhibition arrangement at the highest level in terms of the exhibition design. In terms of content of the exhibition, the students were satisfied at the highest level with accuracy and completeness of the content as well as the content being easy to understand. The students from National Science Museum indicated that they gained benefits from enjoying, taking advantages of free time, being inspired for learning, and usableen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2015.946-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectพิพิธภัณฑ์ -- การจัดแสดง
dc.subjectนิทรรศการ
dc.subjectการประเมินพฤติกรรม
dc.subjectนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย
dc.subjectMuseum exhibits
dc.subjectExhibitions
dc.subjectBehavioral assessment
dc.subjectHigh school students
dc.titleพฤติกรรมการเข้าชมนิทรรศการในพิพิธภัณฑ์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย: การศึกษาผ่านภาพen_US
dc.title.alternativeHigh school student's behaviours during museum exhibition visits : a visual approachen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameอักษรศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineบรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisor[email protected],[email protected]en_US
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2015.946-
Appears in Collections:Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5580139622.pdf5.51 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.