Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51240
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสมยศ ชิดมงคลen_US
dc.contributor.advisorจิณดิษฐ์ ละออปักษิณen_US
dc.contributor.authorวิฬาร์ เลิศสมิตพรen_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2016-12-02T06:02:59Z-
dc.date.available2016-12-02T06:02:59Z-
dc.date.issued2558en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51240-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เปรียบเทียบความสามารถในการถ่ายโยงการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์และความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนว Model-Eliciting Activities ระหว่างก่อนการทดลองและหลังทดลอง 2) เปรียบเทียบความสามารถในการถ่ายโยงการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์และความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวModel-Eliciting Activities กับนักเรียนที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์แบบปกติ 3) ศึกษาพัฒนาการของความสามารถในการถ่ายโยงการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์และความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนว Model-Eliciting Activities โดยมีกลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 โรงเรียนฤทธิณรงค์รอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 1 เป็นนักเรียนกลุ่มทดลอง 31 คน และกลุ่มควบคุม 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามแนว Model-Eliciting Activities และแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์แบบปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบข้อมูลประกอบด้วย แบบวัดความสามารถในการถ่ายโยงการเรียนรู้ก่อนการทดลองและหลังการทดลอง และแบบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ก่อนการทดลองและหลังการทดลอง ผู้วิจัยวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่ามัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสถิติที (t-test) และค่าสถิติเอฟ (F-test) ผลการวิจัยพบว่า 1) ความสามารถในการถ่ายโยงการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์และความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนหลังเรียนผ่านกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนว Model-Eliciting Activities สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 2) ความสามารถในการถ่ายโยงการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์และความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนว Model-Eliciting Activities สูงกว่านักเรียนที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์แบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) นักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามแนว Model-Eliciting Activities มีพัฒนาการของความสามารถในการถ่ายโยงการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์และความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ที่ดีขึ้นen_US
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this research were: 1) to compare learning transfer ability and mathematical problem solving ability of students between, before, and after being taught by organizing mathematics learning activities using concept of Model-Eliciting Activities, 2) to compare learning transfer ability and mathematical problem solving ability of students between group being taught by organizing mathematics learning activities using concept of Model-Eliciting Activities and group being taught by conventional approach, and 3) to study the learning transfer ability and mathematical problem solving ability of students after being taught by organizing mathematics learning activities using concept of Model-Eliciting Activities. The samples were 61 eighth grade students of Ritthinarongron School in second semester of the 2015 academic year. This instruments using in experiment were treatment plans and conventional plan. The instruments for data collection were pretest and posttest for learning transfer ability, and pretest and posttest for mathematical problem solving ability. The data were analyzed by using arithmetic mean, standard deviation, t-test, and F-test. The results of the study revealed that: 1) learning transfer ability and mathematical problem solving ability of students after being taught by organizing mathematics learning activities using concept of Model-Eliciting Activities were higher than those before Instruction at 0.05 level of significance, 2) learning transfer ability and mathematical problem solving ability of students being taught by organizing mathematics learning activities using concept of Model-Eliciting Activities were higher than those of students being taught by conventional approach at 0.05 level of significance, and 3) the learning transfer ability and mathematical problem solving ability of students after being taught by organizing mathematics learning activities using concept of Model-Eliciting Activities were developed in positive direction.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.titleผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามแนว Model-Eliciting Activities ที่มีต่อความสามารถในการถ่ายโยงการเรียนรู้ และความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 2en_US
dc.title.alternativeEFFECTS OF ORGANIZING MATHEMATICS LEARNING ACTIVITIES USING MODEL-ELICITING ACTIVITIES ON LEARNING TRANSFER ABILITY AND MATHEMATICAL PROBLEM SOLVING ABILITY OF EIGHTH GRADE STUDENTSen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineการศึกษาคณิตศาสตร์en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisor[email protected],[email protected]en_US
dc.email.advisor[email protected],[email protected]en_US
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5583345027.pdf3.95 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.