Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51303
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorโสมฉาย บุญญานันต์en_US
dc.contributor.authorเบญราวาห์ เรือนทิพย์en_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2016-12-02T06:04:24Z
dc.date.available2016-12-02T06:04:24Z
dc.date.issued2558en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51303
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558en_US
dc.description.abstractงานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอแนวทางในการจัดการเรียนการสอนวิชาปริญญานิพนธ์ทางศิลปศึกษา การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงผสมผสาน(Mixed Method) ประชากรที่ใช้ในการศึกษาคือ 1.หลักสูตรศิลปศึกษาในประเทศไทยที่มีการจัดการเรียนการสอนวิชาปริญญานิพนธ์ทางศิลปศึกษา 3 แห่ง ได้แก่ 1) สาขาวิชาศิลปศึกษา ภาควิชาศิลปะ ดนตรีและนาฏศิลป์ศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2) สาขาวิชาศิลปศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และ 3) สาขาวิชาศิลปศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 2.อาจารย์ผู้จัดการเรียนการสอนและ/หรือผู้ประสานงานรายวิชาปริญญานิพนธ์ทางศิลปศึกษาจากสถาบันอุดมศึกษาทั้ง 3 แห่ง 3.อาจารย์ที่ปรึกษาปริญญานิพนธ์ทางศิลปศึกษา และ 4.อาจารย์ในหลักสูตรศิลปศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาที่ยังไม่เปิดสอนวิชาปริญญานิพนธ์ทางศิลปศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง แบบสังเคราะห์เอกสาร ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการเรียนการสอนวิชาปริญญานิพนธ์ทางศิลปศึกษาที่พึงประสงค์สำหรับสถาบันอุดมศึกษาภายในประเทศไทย มีทั้งหมด 2 รูปแบบ ได้แก่ รูปแบบที่ 1 การวิจัยเพื่อการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะและนวัตกรรมการสอนศิลปศึกษา เป็นการศึกษาค้นคว้าข้อมูลทางทฤษฎี เทคนิควิธีการ เกี่ยวข้องอย่างมีระบบโดยอาศัยระเบียบวิธีวิจัยเป็นพื้นฐานในการปฏิบัติเพื่อนำไปสู่การสร้างสรรค์ผลงานที่จะเกิดคุณประโยชน์ทางด้านการศึกษา และ รูปแบบที่ 2 การวิจัยผลงานสร้างสรรค์เพื่อสร้างองค์ความรู้และนวัตกรรมการสอนศิลปศึกษา เป็นการศึกษาค้นคว้าตัวผลงานศิลปกรรม/ผลงานสร้างสรรค์อย่างลึกซึ้ง นำไปสู่การวิเคราะห์แนวคิดทฤษฎีในการสร้างสรรค์ผลงาน ข้อมูลพื้นฐานที่เกี่ยวข้อง เทคนิควิธีการสร้างสรรค์ โดยอาศัยระเบียบวิธีวิจัยมาเป็นเครื่องมือในการศึกษาค้นคว้าผลงานสร้างสรรค์อย่างละเอียดเพื่อก่อให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ที่น่าสนใจ แนวทางในการสร้างสรรค์ผลงาน ตลอดจนนวัตกรรมต่างๆ ที่จะเป็นประโยชน์ทางการศึกษาen_US
dc.description.abstractalternativeThis thesis aimed to propose instructional guidelines for art education thesis course undergraduate level. The study is a mixed method research design. The population included; 1. Art programs offering art education thesis courses in 3 universities in Thailand consisting of; 1) Art Education Division, Department of Art, Music and Dance Education, Faculty of Education, Chulalongkorn University, 2) Art Education Division, Faculty of Education, Khonkaen University and; 3) Art Education Division, Faculty of Education, Prince of Songkla University; 2. Instructors and/or art education thesis course coordinators in the 3 universities; 3. Art education thesis advisors and; 4. Instructors in art education division in universities not offering art education thesis course. The research instruments included a structured interview and a document synthesis form. The results revealed 2 models of desired art education thesis in higher educational institutions in Thailand as follows. Model 1: Research for creating artworks and teaching innovation for art education, focusing on theoretical investigation, studies, techniques and processes, contextual information associated with a research topic, leading to the creation of educational benefits. Model 2: Research of creative works focused on in-depth investigation of art works, leading to analyzing theories of creation, relevant basic information and techniques of creativity. The second model applied research methodologies as tools to explore creative work in details, building new body of knowledge, guidelines for creativity and innovation beneficial to educational field.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2015.1030-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectศิลปกรรม -- การศึกษาและการสอน
dc.subjectวิทยานิพนธ์
dc.subjectการเขียนรายงาน
dc.subjectArt -- Study and teaching
dc.subjectDissertations, Academic
dc.subjectReport writing
dc.titleการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนวิชาปริญญานิพนธ์ทางศิลปศึกษาen_US
dc.title.alternativeDevelopment of instructional model for an art education thesisen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineศิลปศึกษาen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisor[email protected],[email protected],[email protected]en_US
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2015.1030-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5683350227.pdf5.03 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.