Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51321
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุวิมล ว่องวาณิชen_US
dc.contributor.advisorชยุตม์ ภิรมย์สมบัติen_US
dc.contributor.authorสุทธิศานติ์ ชุ่มวิจารณ์en_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2016-12-02T06:04:41Z
dc.date.available2016-12-02T06:04:41Z
dc.date.issued2558en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51321
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558en_US
dc.description.abstractสภาพแวดล้อมการฝึกวิจัย คือ การสนับสนุนนักศึกษาจากหลักสูตร เกี่ยวกับปัจจัยต่าง ๆ ที่ช่วยพัฒนานักศึกษาระดับปริญญาเอก ให้เกิดเจตคติที่ดีต่อการวิจัย หรือกิจกรรมทางวิชาการทั้งในขณะที่ศึกษาอยู่ และหลังจากจบการศึกษาไปแล้ว เป็นผู้ผลิตผลงานวิจัยที่เป็นประโยชน์สำหรับประเทศต่อไป การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์ระดับสภาพแวดล้อมการฝึกอบรมการวิจัย การรับรู้ความสามารถตนเองด้านการวิจัย ความยึดมั่นผูกพันการวิจัย และความตั้งใจทำวิจัยหลังสำเร็จการศึกษา วิเคราะห์รูปแบบการเปลี่ยนแปลงของแต่ละตัวแปรในแต่ละปีการศึกษาของนักศึกษาที่มีภูมิหลังคล้ายคลึงกัน รวมทั้งวิเคราะห์โอกาสที่นักศึกษาจะเปลี่ยนกลุ่มจากรูปแบบการเปลี่ยนแปลงแบบหนึ่งไปยังอีกแบบหนึ่ง โดยใช้การวิเคราะห์เอสอีเอ็มที่มีการจับคู่ตัวอย่างวิจัยที่เหมาะสม 2) เพื่อพัฒนาและตรวจสอบโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุระหว่างสภาพแวดล้อมการอบรมวิจัยที่ส่งผลต่อความตั้งใจทำวิจัยหลังสำเร็จการศึกษา โดยมีการรับรู้ความสามารถตนเองด้านการวิจัย และความยึดมั่นผูกพันการวิจัยเป็นตัวแปรส่งผ่าน 3) เพื่อพัฒนากลยุทธ์ที่เหมาะสมในการพัฒนาสภาพแวดล้อมการฝึกอบรมวิจัยที่ช่วยสนับสนุนความตั้งใจทำวิจัยหลังสำเร็จการศึกษาของนักศึกษาระดับปริญญาเอกคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์หลังจากจบการศึกษาตัวอย่างวิจัย คือ นักศึกษาระดับปริญญาเอก 3 ชั้นปี จำนวน 246 คน ในสถาบันที่มีหลักสูตรครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ของรัฐ และเอกชน จำนวน 13 แห่ง เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม และสังเคราะห์ข้อมูลด้วยการจับคู่ข้อมูลทางสถิติ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ บรรยาย การวิเคราะห์ความแปรปรวนพหุนาม และโมเดลสมการโครงสร้าง ข้อมูลเชิงคุณภาพที่ได้จากการสัมภาษณ์วิเคราะห์โดนการวิเคราะห์เนื้อหา ตัวอย่างที่เก็บข้อมูลภาคตัดขวางนำมาจับคู่กัน 3 ชั้นปีโดยใช้วิธีการจับคู่ทางสถิติเพื่อสร้างชุดข้อมูลระยะยาว และวิเคราะห์โดย การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ การวิเคราะห์กลุ่มแฝง การวิเคราะห์การเปลี่ยนกลุ่มแฝง และการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้างที่มีการจับคู่ตัวอย่างวิจัย ผลการวิจัยพบว่า 1) นักศึกษาระดับปริญญาเอกคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์มีการรับรู้สภาพแวดล้อมการฝึกวิจัย การรับรู้ความสามารถตนเองด้านการวิจัย ความยึดมั่นผูกพันการวิจัย และความตั้งใจทำวิจัยหลังสำเร็จการศึกษา อยู่ในระดับมาก สามารถกลุ่มนักศึกษาได้เป็น 3 กลุ่มตามระดับตัวแปร ได้แก่ กลุ่มเสี่ยง กลุ่มทั่วไป และกลุ่มพึงประสงค์ แต่ละกลุ่มมีโอกาสเปลี่ยนแปลงในแต่ละปีที่ความน่าจะเป็นแตกต่างกัน 2) ภาพรวมโมเดลสมการโครงสร้างมีความสอดคล้องกับกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ทั้งข้อมูลภาคตัดขวาง (Chi-square(147, N = 246) = 174.603, p = .060, RMSEA = .028) และข้อมูลที่มีการจับคู่ตัวอย่างวิจัย(Chi-square (2, N = 441) = 3.576, p = .167, RMSEA = .073) และพบว่า เส้นทางอิทธิพลของโมเดลมีความแตกต่างกันในแต่ละชั้นปี สภาพแวดล้อมการฝึกวิจัย ชั้นปี 1 มีอิทธิพลทางตรงไปยังความตั้งใจทำวิจัยหลังสำเร็จการศึกษา ในขณะที่ชั้นปี 2 และ 3 มีอิทธิพลส่งผ่านการรับรู้ความสามารถตนเองด้านการวิจัย และความยึดมั่นผูกพันการวิจัย ไปยังความตั้งใจทำวิจัยหลังสำเร็จการศึกษา 3) ผลการวิจัยสามารถกำหนดกลยุทธ์เพื่อพัฒนาสภาพแวดล้อมการฝึกวิจัยได้หกประการ และมีการเสนอกลยุทธ์เฉพาะเพื่อใช้กับนักศึกษาบางกลุ่มที่มีลักษณะพิเศษ รายละเอียดของกลยุทธ์ได้นำเสนอแนะอภิปรายในรายงานen_US
dc.description.abstractalternativeResearch training environment (RTE) is an important factor for enhancing doctoral students’ attitude towards research and academic activities not only during their study but also after their graduation. Focusing on doctoral students in the field of education, this study aims to 1) analyze levels and change patterns of their RTE, research self-efficacy, research engagement, and research intention; 2) develop and validate the casual relationship model of RTE and research intention mediated by research self-efficacy and research engagement; and 3) develop RTE strategies for enhancing doctoral students’ research intention after their graduation. Research sample consisted of 246 doctoral students in years 1-3, as a cross-sectional sample, of the education program randomly selected from 13 public/private universities in Thailand. Quantitative data were collected by means of questionnaires and analyzed by using descriptive statistics, MANOVA, and structural equation modeling. Qualitative data, on the other hand, were collected by means of interview and analyzed by using content analysis. The quantitative data from the cross-sectional sample were also matched across years 1-3, using a set of statistical matching methods, to create a longitudinal dataset and analyzed by using repeated measures ANOVA, latent class analysis, latent transition analysis, and structural equation modeling with matched data. The research findings can be summarized as follows: 1) Doctoral students in the field of education showed high levels of RTE, research-self efficacy, research engagement, and research intention. The students could be divided into three groups based on levels of such variables: Risk, Typical, and Desired groups. In each year, students were likely to move from one group to the others with different probability levels. 2) The overall SEMs fitted well with both the cross-sectional data (Chi-square (147, N = 246) = 174.603, p = .060, RMSEA = .028) and the matched data (Chi-square(2, N = 441) = 3.576, p = .167, RMSEA = .073). It was also found that effects of variables in the models were different across academic years. RTE had only a direct effect on research intention in year 1, but such an effect was not found in the other years. This RTE was found to have indirect effects on research intention via research self-efficacy and research engagement in years 2 and 3. 3) A set of RTE strategies, for both general and specific strategies, to enhance doctoral students’ research intention was proposed and discussed in detailed in this studyen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2015.1212-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectวิจัย
dc.subjectการศึกษา -- วิจัย
dc.subjectResearch
dc.subjectEducation -- Research
dc.titleการจัดสภาพแวดล้อมการฝึกวิจัยเพื่อส่งเสริมความตั้งใจทำวิจัยหลังสำเร็จการศึกษาของนักศึกษาปริญญาเอก: กลยุทธ์การพัฒนาจากการวิเคราะห์เอสอีเอ็มที่มีการจับคู่ตัวอย่างวิจัยen_US
dc.title.alternativeResearch training environment management to enhance postgraduate research intention of doctoral students: development strategies based on a matched-sample SEM analysisen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameครุศาสตรดุษฎีบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาเอกen_US
dc.degree.disciplineวิธีวิทยาการวิจัยการศึกษาen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisor[email protected],[email protected],[email protected]en_US
dc.email.advisor[email protected]en_US
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2015.1212-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5684240027.pdf9.57 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.