Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51343
Title: | การพัฒนาเครื่องมือวัดประสบการณ์การเผชิญเหตุการณ์รบกวนใจ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา |
Other Titles: | Development of small t trauma measured instrument for secondary school students |
Authors: | นวพรรษ เชื้อต่าย |
Advisors: | ปริชวัน จันทร์ศิริ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected],[email protected] |
Subjects: | การวัดทางจิตวิทยา นักเรียนมัธยมศึกษา Psychometrics High school students |
Issue Date: | 2558 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์สร้างเครื่องมือวัดประสบการณ์การเผชิญเหตุการณ์รบกวนใจที่สามารถแบ่งนักเรียนที่มีประสบการณ์การเผชิญเหตุการณ์รบกวนใจเป็นกลุ่มที่มีประสบการณ์มาก ปานกลาง น้อย และเพื่อศึกษาเหตุการณ์รบกวนใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ใช้กลุ่มตัวอย่าง 660 คน ซึ่งได้จากการคำนวณขนาดของกลุ่มตัวอย่างตามจำนวนของข้อคำถามที่ใช้วิเคราะห์องค์ประกอบ ใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ โดยแบ่งตามระดับชั้นที่กำลังศึกษา และแบ่งตามเพศ เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาวิจัยในครั้งนี้ คือ แบบสอบถามประสบการณ์การเผชิญเหตุการณ์รบกวนใจ ซึ่งผู้วิจัยได้พัฒนาขึ้น แบบสอบถามนี้มีขั้นตอนในการพัฒนาเครื่องมือ โดยการหาค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาด้วยวิธีการคำนวณหาค่าดัชนีความสอดคล้อง จากการพิจารณาของผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 ท่าน หาค่าความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้าง ด้วยวิธีการวิเคราะห์องค์ประกอบ หาค่าความเชื่อมั่น โดยการหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค หาค่าอำนาจจำแนกโดยใช้ t-test หาจุดตัดค่าคะแนนของแบบสอบถาม โดยการใช้ค่าเปอร์เซ็นต์ไทล์ และวิเคราะห์ความแตกต่างของจุดตัดค่าคะแนน โดยใช้ One-Way ANOVA ส่วนการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากกลุ่มตัวอย่างใช้ Descriptive Statistic, t-test, One-Way ANOVA และ Chi – Square Test ผลการศึกษาพบว่าแบบสอบถามประสบการณ์การเผชิญเหตุการณ์รบกวนใจที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น จำนวนทั้งสิ้น 60 ข้อ มีความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา 60 ความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้าง 56 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับเท่ากับ .936 มีค่าอำนาจจำแนก 59 ข้อ และจุดตัดค่าคะแนนทั้ง 3 ระดับมีความแตกต่างกันทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนการศึกษาประสบการณ์การเผชิญเหตุการณ์รบกวนใจ พบว่านักเรียนมีประสบการณ์การเผชิญเหตุการณ์รบกวนใจอยู่ในระดับน้อย มาก และปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 50.1, 26.0 และ 23.9 ตามลำดับ นอกจากนี้ยังพบว่านักเรียนที่มีเพศ อายุ สถานภาพครอบครัว และการพักอาศัย แตกต่างกันมีประสบการณ์การเผชิญเหตุการณ์รบกวนใจแตกต่างกัน ส่วนนักเรียนที่มีผลการเรียนเฉลี่ย และลำดับการเกิดแตกต่างกันมีประสบการณ์การเผชิญเหตุการณ์รบกวนใจไม่แตกต่างกัน และปัจจัยมีความสัมพันธ์กับระดับประสบการณ์การเผชิญเหตุการณ์รบกวนใจอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คือเพศ และสถานภาพครอบครัว(Chi-square; p= .006 และ .019) |
Other Abstract: | The purposes of this research were to construct the small t trauma measured instruments for secondary school students that classify to 3 groups including high, moderate and low small t trauma level and for study about small t trauma in secondary school students. The 660 samples were computed from the number of items in questionnaire for factor analysis using a stratified random sampling method. The instrument was the small t trauma measure for secondary school students which was created and developed by the researcher and verified by 5 experts in psychiatry and psychology. Furthermore, Data was analyzed by using the index of item objective congruence(IOC) for the content validity, factor analysis for construct validity, Cronbach’s alpha for reliability, t-test for discrimination, and using the percentile for cut of point. Then one-way ANOVA was administered to classify the small t trauma of secondary school students to high, moderate and low level. The data from samples was analyzed by using the descriptive statistic, t-test, one-way ANOVA and Chi – square test. The result showed that the small t trauma measured instruments were composed of 60 items which showed in the content validity, 56 items in construct validity and 59 items in discrimination(from 60 items). The total for Cronbach’s alpha reliability measure was .936. The cut of point were low(percentile ≤50th), moderate(percentile 51th-74th) and high(percentile ≥75th). Then one way ANOVA was administered to classify to high, moderate, and low level with the .01 level of significance. For study about small t trauma in secondary school students, the result showed that in the 660 samples, 50.1%, 26.0% and 23.9% were low, high, and moderate level of small t trauma respectively. Moreover, associated factors with small t trauma were gender and marital status of parent of student (Chi-square; p= .006 and .019). |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | สุขภาพจิต |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51343 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2015.705 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2015.705 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Med - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5774039830.pdf | 3.92 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.