Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51349
Title: อุบัติการณ์ปฏิกิริยาการแพ้ยาแพ็คลิแท็กเซนหลังหยุดการใช้ยาป้องกันด้วยสเตียรอยด์ในผู้ป่วยมะเร็งเต้านมระยะต้นที่ไม่เกิดการแพ้ภายในสองรอบแรกของการได้รับยาแพ็คลิแท็กเซนแบบรายสัปดาห์
Other Titles: INCIDENCE OF INFUSION HYPERSENSITIVITY REACTION AFTER WITHHOLDING DEXAMETHASONE PREMEDICATION IN EARLY BREAST CANCER PATIENTS NOT EXPERIENCING TWO PREVIOUS CYCLES INFUSION HYPERSENSITIVITY REACTION FOR WEEKLY PACLITAXEL CHEMOTHERAPY
Authors: วลัยลักษณ์ ตันพิพัฒนกุล
Advisors: นภา ปริญญานิติกูล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: [email protected],[email protected]
Issue Date: 2558
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ความเป็นมา การให้ยาป้องกันด้วยยาสเตียรอยด์ เป็นส่วนสำคัญในการดูแลรักษาผู้ป่วยเรื่องของป้องกันปฏิกิริยาแพ้จากแพ็คลิแท็กเซน อย่างไรก็ตามการหยุดหรือลดปริมาณสเตียรอยด์มีรายงานจากการศึกษาก่อนหน้านี้เพื่อจุดประสงค์จะลดผลข้างเคียงจากสเตียรอยด์ ซึ่งรูปแบบการให้สเตียรอยด์ตามรายงานที่หลากหลายและผลการศึกษาที่มีอยู่ไม่มากนัก การศึกษานี้จึงมีจุดมุ่งหมายที่ต้องการทราบถึงอุบัติการณ์ปฏิกิริยาแพ้จากการได้รับแพ็คลิแท็กเซนหลังจากการหยุดสเตียรอยด์ภายหลังจากที่ไม่เกิดปฏิกิริยาการแพ้ภายในสองรอบแรกขึ้น รูปแบบและวิธีการศึกษาวิจัย ทำการศึกษาในประชากรมะเร็งเต้านมระยะต้นซึ่งได้รับการรักษาเสริมด้วยแพ็คลิแท็กเซนรายสัปดาห์ รูปแบบเป็นการศึกษาไปข้างหน้าร่วมกับย้อนหลังในช่วงเดือนมกราคม พ.ศ.2555 ถึง พ.ศ. 2559 หน่วยมะเร็งและเคมีบำบัดที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ผู้ป่วยทุกรายได้รับยาป้องกันปฏิกิริยาแพ้ภายในสองรอบแรกของการให้แพ็คลิแท็กเซน หลังจากนั้นหากไม่มีปฏิกิริยาแพ้เกิดขึ้นจะระงับการให้สเตียรอยด์ในรอบต่อไปจนจบการรักษา ศึกษาถึงอุบัติการณ์ปฏิกิริยาแพ้จากแพ็คลิแท็กเซนที่เกิดขึ้นและปัจจัยที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งผลข้างเคียงจากแพ็คลิแท็กเซนและสเตียรอยด์ที่เกิดขึ้น ผลการวิจัย ประชาการทั้งหมด 81 รายที่ไม่เกิดปฏิกิริยาแพ้ภายในสองรอบแรกของการให้สเตียรอยด์ พบว่า เมื่อติดตามจนจบการรักษาด้วยแพ็คลิแท็กเซน พบปฏิกิริยาแพ้ 5 รายจาก81รายคิดเป็น 6.2% ซึ่งส่วนใหญ่พบในรอบแรกๆของการรักษา (4 ใน5, 80%) หลังจากที่ได้รับสเตียรอยด์ต่อจนครบการรักษา ในกลุ่มที่เกิดปฏิกิริยาแพ้นี้ มีการดูแลรักษาโดยการหยุดยาแพ็คลิแท็กเซนทันทีชั่วคราวทุกรายและสามารถให้ยาแพ็คลิแท็กเซนต่อได้อีกจนครบ อย่างไรก็ตามยังไม่พบปัจจัยที่มีความแตกต่างกันระหว่างกลุ่มที่เกิดและไม่เกิดปฏิกิริยาแพ้ ไม่ว่าจะเป็น อายุ สถานะการมีประจำเดือน น้ำหนักตัว โรคประจำตัวเป็นต้น รายงานผลข้างเคียงของแพ็คลิแท็กเซนนั้นพบอาการชาปลายมือและเท้ามากที่สุด พบเป็นระดับสอง 13.5% และระดับสาม 2.4% อาการบวมพบเพียง 9.8% ผื่นตามผิวหนังพบ8.6% ในขณะที่ผลข้างเคียงจากสเตียรอยด์นั้น ได้แก่อาการนอนไม่หลับ ปวดหรือแน่นท้องพบซึ่งน้อย สรุป การบริหารยาสเตียรอยด์เพื่อป้องกันปฏิกิริยาแพ้จากแพ็คลิแท็กเซนแบบรายสัปดาห์ โดยการระงับสเตียรอยด์ในรายที่ไม่พบปฏิกิริยาแพ้หลังจากสองรอบแรกนั้นเป็นสิ่งที่ทำได้สะดวก และพบว่าอุบัติการณ์ปฏิกิริยาแพ้ก็ไม่เพิ่มขึ้น ดังนั้นการระงับสเตียรอยด์นั้นจึงเป็นสิ่งพึงพิจารณาโดยเฉพาะอย่างยิ่งในรายที่มีอาจมีความเสี่ยงสูงเกี่ยวกับผลข้างเคียงจากสเตียรอยด์
Other Abstract: Background Premedication with dexamethasone is an essential part in prevention of hypersensitivity reaction (HSR) associated with taxane administration. However, the possibility of stopping dexamethasone premedication has been investigated in previous studies with the purpose of reducing steroid’s adverse events, either result and particular protocol was limited. So, our study aims to evaluate the incidence of infusion HSR after discontinuing dexamethasone premedication in patients who did not have experiencing two previous cycles of weekly paclitaxel associated infusion HSR Method Early breast cancer patients who received adjuvant weekly paclitaxel in a retro-prospective cohort from January 2012 through April 2016 at the King Chulalongkorn Memorial Hospital were reviewed. All patients received a standard premedication protocol prior to the first and second paclitaxel infusion. Dexamethasone was omitted in later cycles in all patients who did not have experiencing infusion HSR. Patients who developed HSR during first or second cycles of paclitaxel infusion were excluded. The incidence of HSR during later cycle of paclitaxel administration and factors associated with this adverse reaction were collected. Results Eighty-one out of eighty-five patients who did not experience infusion HSR after two cycles of weekly paclitaxel administration were identified. five out of Eighty-one patients reported grade I- II HSR (6.2%), which occurred mostly during the first six cycles (80%).Temporary discontinued paclitaxel infusion was observed in all HSR patients. No differences regarding age, BMI, menopausal status and underlying disease between HSR and non-HSR group were found. About safety profile, peripheral neuropathy (gr II 13.5% gr III 2.4%), edema (9.8%) and skin rash (8.6%) were commonly reported whereas insomnia and dyspepsia were rarely described in withholding patients. Conclusion Withholding dexamethasone premedication in non-experiencing HSR patients after two previous cycles of weekly paclitaxel administration was safe and did not impact on higher incidence of HSR. Discontinuing dexamethasone protocol should be recommended generally in these patients especially with high risk for steroid-induced side effects.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: อายุรศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51349
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5774084030.pdf2.87 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.