Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51386
Title: | การสื่อสารโน้มน้าวใจเชิงอารมณ์เพื่อต่อต้านการใช้สัตว์ทดลองของบริษัทเครื่องสำอาง |
Other Titles: | Persuasive communication with emotional appeals for banning animal testing by cosmetic companies |
Authors: | หทัยชนก รัตนาชาตรี |
Advisors: | ธีรดา จงกลรัตนาภรณ์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected],[email protected] |
Subjects: | การโน้มน้าวใจ (วาทวิทยา) สัตว์ทดลอง อุตสาหกรรมเครื่องสำอาง Persuasion (Rhetoric) Laboratory animals Cosmetics industry |
Issue Date: | 2558 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | วิทยานิพนธ์เรื่อง “การสื่อสารโน้มน้าวใจเชิงอารมณ์เพื่อต่อต้านการใช้สัตว์ทดลองของบริษัทเครื่องสำอาง” เป็นการวิจัยแบบสหวิธี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเนื้อหาและจุดจูงใจที่ใช้ในการสื่อสารโน้มน้าวใจเชิงอารมณ์เพื่อต่อต้านการใช้สัตว์ทดลองของบริษัทเครื่องสำอาง และเพื่อศึกษาผลของสารโน้มน้าวใจเชิงอารมณ์เพื่อต่อต้านการใช้สัตว์ทดลองของบริษัทเครื่องสำอางในประเทศไทยที่แตกต่างกันต่อความคิดเห็นและแนวทางปฏิบัติของผู้บริโภคและสาธารณชน โดยใช้วิธีศึกษาสองวิธี ได้แก่ การวิจัยเชิงเอกสาร (Documentary Research) โดยศึกษาและเก็บข้อมูลสารในรูปของสิ่งพิมพ์ที่มีการรณรงค์เรื่องการต่อต้านการใช้สัตว์ทดลองของบริษัทเครื่องสำอางทั้งในต่างประเทศและในประเทศไทยซึ่งเกี่ยวข้องกับการใช้กลวิธีและจุดจูงใจเชิงอารมณ์ ตั้งแต่ พ.ศ. 2543 - พ.ศ. 2558 โดยผู้วิจัยคัดเลือกสารที่มีการใช้จุดจูงใจเชิงอารมณ์ รวมทั้งสิ้น 4 ชิ้นที่ตรงกับขอบเขตของงานวิจัยมากที่สุดจากทั้งหมด 8 ชิ้น เพื่อใช้ในการสนทนากลุ่ม (Focus Group) กับกลุ่มตัวอย่างรวมทั้งสิ้น 34 คน ซึ่งแบ่งเป็นกลุ่มที่เป็นผู้บริโภคเพศหญิงที่เคยซื้อหรือใช้ผลิตภัณฑ์ของบริษัทเครื่องสำอางที่ต่อต้านการใช้สัตว์ทดลอง 9 คน ผู้บริโภคเพศชายที่เคยซื้อหรือใช้ผลิตภัณฑ์ของบริษัทเครื่องสำอางที่ต่อต้านการใช้สัตว์ทดลอง 9 คน กลุ่มสาธารณชนทั่วไปเพศหญิง 8 คนและกลุ่มสาธารณชนทั่วไปเพศชาย 8 คน ผลการวิจัยพบว่า ในภาพรวมเนื้อหาและจุดจูงใจที่ใช้ในการสื่อสารโน้มน้าวใจเชิงอารมณ์เพื่อต่อต้านการใช้สัตว์ทดลองของบริษัทสำอางเป็นสารที่ใช้ข้อความซึ่งมุ่งเน้นที่ความรู้สึกมากที่สุดและใช้ภาพเหมือนจริงที่มีการตกแต่ง โดยใช้กระต่ายเป็นตัวแทนของสัตว์ทดลอง โดยพบว่ามีการใช้จุดจูงใจเชิงอารมณ์ด้านความกลัวมากที่สุด นอกจากนี้ ผลการสนทนากลุ่ม ความคิดเห็นของผู้เข้าร่วมการสนทนาต่อประเด็นการต่อต้านการใช้สัตว์ทดลองของบริษัทเครื่องสำอางเป็นไปในเชิงบวก กล่าวคือ เกิดความรู้สึกสงสารสัตว์ที่ถูกนำไปใช้ในการทดลอง อยากให้บริษัทรณรงค์เรื่องดังกล่าวต่อไป พร้อมทั้งหาสิ่งอื่นมาทดลองแทนสัตว์ และสารที่ใช้จุดจูงใจเชิงอารมณ์ด้านความกลัวมีผลกับความคิดเห็นของผู้เข้าร่วมการสนทนามากที่สุด ในทางตรงกันข้าม ผู้เข้าร่วมการสนทนากลับรู้สึกในแง่ลบกับบริษัทเครื่องสำอางที่ต่อต้านการใช้สัตว์ทดลองที่ใช้สารด้านความกลัว เพราะสารดูรุนแรง รวมถึงผู้เข้าร่วมการสนทนามีแนวทางปฏิบัติที่จะไม่ซื้อสินค้าที่บริษัทเครื่องสำอางเลือกใช้สารที่ใช้จุดจูงใจเชิงอารมณ์ทุกรูปแบบ |
Other Abstract: | This thesis titled "Persuasive Communication with Emotional Appeals for Banning Animal Testing by Cosmetic Companies" employed mixed methodology aiming to explore the persuasive content with emotional appeals communicated by cosmetic companies, and the effects of different types of emotional appeals on consumers and publics. Both documentary research and focus groups were used to answer research questions. Documents related to banning animal testing campaigns run by cosmetic companies worldwide during 2000-2015 were collected from database to analyze content. Then, four types of messages with different emotional appeals were selected to use in focus group discussion. Each group contained 8-9 persons divided into 4 smaller groups including female consumers, male consumers, female public and male public. The findings showed that persuasive content with emotional appeals applied real visual images together with sensory language. Majority of messages were designed with fear appeals. Moreover, the focus group conversation revealed that subjects had positive opinion on this issue. However, they felt negative with cosmetics companies that use fear appeal as it looked too cruel. Lastly, any emotional appeals were not persuasive enough to encourage them to buy those cosmetic products. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558 |
Degree Name: | นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | นิเทศศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51386 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2015.1010 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2015.1010 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Comm - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5784688728.pdf | 2.25 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.