Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51828
Title: | การพัฒนาแบบวัดคุณลักษณะความเป็นผู้เรียนรู้ตลอดชีวิต ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย |
Other Titles: | Development of a lifelong learner characteristics scale of upper secondary school students |
Authors: | ศักดิ์สิทธิ์ ฤทธิลัน |
Advisors: | ณัฏฐภรณ์ หลาวทอง ศิริชัย กาญจนวาสี |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected] [email protected] |
Subjects: | การเรียนรู้ การศึกษาตามอัธยาศัย นักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย Learning High school students ปริญญาดุษฎีบัณฑิต |
Issue Date: | 2554 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาแบบวัดคุณลักษณะความเป็นผู้เรียนรู้ตลอดชีวิตของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย 2) เพื่อตรวจสอบคุณภาพของแบบวัดคุณลักษณะความเป็นผู้เรียนรู้ตลอดชีวิตของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย และ 3) เพื่อสร้างเกณฑ์ปกติระดับชาติ แบบวัดคุณลักษณะความเป็นผู้เรียนรู้ตลอดชีวิตของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานและสังกัดสำนักงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย จำนวน 2,714 คน ได้มาจากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบวัดคุณลักษณะ ความเป็นผู้เรียนรู้ตลอดชีวิต 2 ฉบับ คือ แบบวัดมาตรประมาณค่าแบบลิเคิร์ต 5 ระดับ และแบบวัดสถานการณ์ 4 ตัวเลือก วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าอำนาจจำแนก ค่าความเที่ยง การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ และการวิเคราะห์กลุ่มพหุลักษณะ-พหุวิธี โดยใช้โปรแกรม SPSS for windows วิเคราะห์การทำหน้าที่ต่างกันของข้อคำถาม โดยวิธี polytomous-SIBTEST วิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับที่สอง ความตรงข้ามกลุ่มและตรวจสอบความไม่แปรเปลี่ยนของโมเดลสมการโครงสร้างกลุ่มพหุ โดยโปรแกรม Lisrel 8.72 ผลการวิจัยที่สำคัญสรุปได้ว่า: 1. แบบวัดคุณลักษณะความเป็นผู้เรียนรู้ตลอดชีวิตของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย แบบวัดมาตรประมาณค่าแบบลิเคิร์ต และแบบวัดสถานการณ์ แต่ละฉบับมีจำนวน 73 ข้อ โดยแบบวัดมาตรประมาณค่าแบบลิเคิร์ต มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.21 ถึง 0.64 ค่าความเที่ยง เท่ากับ 0.96 แบบวัดสถานการณ์ มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.21 ถึง 0.53 ค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.93 2. ผลการตรวจสอบคุณภาพด้านความตรง พบว่า 2.1) ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ พบว่า แบบวัดทั้ง 2 ฉบับ มี 3 องค์ประกอบ คือ 1) ความสามารถในการเรียนรู้ของผู้เรียน, 2) การบริหารจัดการเรียนรู้ที่ดี และ 3) แรงจูงใจและการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน 2.2) ผลการวิเคราะห์การทำหน้าที่ต่างกันของข้อคำถามของแบบวัด พบว่า แบบวัดมาตรประมาณค่าแบบลิเคิร์ต มีดัชนีการทำหน้าที่ต่างกันของข้อคำถาม ( ) ระหว่าง -0.27 ถึง 0.33 มีข้อคำถามที่แตกต่างจาก 0 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 21 ข้อ เป็นด้านเพศ 15 ข้อ และด้านรายได้ครอบครัว 6 ข้อ แบบวัดสถานการณ์ มีดัชนีการทำหน้าที่ต่างกันของข้อคำถามของแบบวัด ระหว่าง -0.24 ถึง 0.32 มีข้อคำถามที่แตกต่างจาก 0 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 18 ข้อ เป็นด้านเพศ 15 ข้อ และด้านรายได้ครอบครัว 3 ข้อ และตัดข้อคำถามที่มีดัชนีการทำหน้าที่ต่างกันที่เหมือนกันทั้ง 2 ฉบับออก 3 ข้อ คือ ข้อ 55, 60 และ 63 จึงเหลือข้อคำถามในแต่ละฉบับเท่ากับ 70 ข้อ 2.3) ผลการวิเคราะห์กลุ่มพหุลักษณะ-พหุวิธี พบว่า มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ความตรงแบบลู่เข้า อยู่ระหว่าง 0.20 ถึง 0.351 ส่วนค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ความตรงเชิงจำแนกมีค่าอยู่ระหว่าง 0.154 ถึง 0.867 2.4) ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบยืนยันอันดับที่สอง พบว่า โมเดลคุณลักษณะความเป็นผู้เรียนรู้ตลอดชีวิตมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โมเดลในแบบวัดมาตรประมาณค่าแบบลิเคิร์ต ค่า X² = 125.79, df =106, p=0.09, GFI=1.00, AGFI=0.98 และ RMSEA =0.01 แบบวัดสถานการณ์ ค่า X² =149.96, df= 127, p =0.08, GFI=0.99, AGFI=0.98, RMSEA= 0.01 2.5) ผลการวิเคราะห์ความตรง ข้ามกลุ่มของแบบวัดคุณลักษณะความเป็นผู้เรียนรู้ตลอดชีวิต พบว่า แบบวัดทั้ง 2 ฉบับ มีค่าสถิติ ค่าดัชนี และค่าน้ำหนักองค์ประกอบใกล้เคียงกัน 2.6) ผลการทดสอบความไม่แปรเปลี่ยนของโมเดล พบว่า โมเดลในแบบวัดทั้ง 2 ฉบับ มีความไม่แปรเปลี่ยนในรูปแบบ ของโมเดล แต่มีความแปรเปลี่ยนของเมทริกซ์พารามิเตอร์บางค่าที่ทดสอบ 2.7) ผลการวิเคราะห์ความตรงตามเกณฑ์สัมพันธ์ของแบบวัดคุณลักษณะความเป็นผู้เรียนรู้ตลอดชีวิต แบบวัดมาตรประมาณค่าแบบลิเคิร์ตและแบบวัดสถานการณ์กับแบบวัดลักษณะผู้เรียนรู้ตลอดชีวิตของนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรีชั้นปีสุดท้าย พบว่า มีค่าสหสัมพันธ์เท่ากับ 0.868 และ 0.284 ตามลำดับ |
Other Abstract: | The objectives of this research were 1) to develop a lifelong learner characteristics scale of upper secondary school students, 2) to validate the quality of a lifelong learning characteristics scale of upper secondary school students, and 3) to construct the national norms of a lifelong learning characteristics scale of upper secondary school students. Two thousand seven hundred and fourteen upper secondary school students, from The Basic Education Commission and Office of The Non-Formal and Informal Education. These samples are selected by multi-stage random sampling. Two research instruments were used, the rating scale test (rt) and the situation test (st). The data analysis for the discrimination, the reliability, the exploratory factor analysis, and the multitrait-multimethod analysis by using SPSS for Windows. The differential item functioning analysis by using polytomous-SIBTEST. The second order confirmatory analysis, the cross validation, and the multi-group analysis by using LISREL 8.72. The major finding were as follows: 1. The lifelong learner characteristics scale (LLCS) of upper secondary school students consists of 73 items. The item discriminations of the rating scale test varied from 0.21 to 0.64 and the Cronbach’s alpha coefficient was 0.96 and the item discriminations of the situation test varied from 0.21 to 0.53 and the Cronbach’s alpha coefficient was 0.93. 2. The quality of validation found that; 2.1) The exploratory factor analysis found that there were three factors under this study: 1) Educability, 2) Management of learning, and 3) Motivation and learning to together. 2.2) differential item functioning indicated that: 1) the DIF index ( ) of the rating scale test varied from -0.27 to 0.33. 21 items were significantly different from zero at .05 level: 15 items from gender and 6 items from family income differences. 2) the DIF index of the situation test varied from -0.24 to 0.32. 18 items were significantly different from zero at .05 level: 15 items from gender and 3 items from family income differences. 3) DIF items were found from both tests, all 3 (items 55, 60, and 63) were deleted from both tests. There were 70 items within each test. 2.3) The construct validity by multitrait-multimethod found that the convergent validity coefficient varies from 0.20 to 0.351 and the discriminant validity convergent validity coefficient varies from 0.154 to 0.867. 2.4) The lifelong learner characteristics model fit empirical data. The rating scale test model provides the chi-square (X²)=125.79, df =106, p=0.09, GFI=1.00, AGFI=0.98, RMSEA =0.01 while the situation test model provides the chi-square (X²)=149.96, df= 127, p =0.08, GFI=0.99, AGFI=0.98, RMSEA= 0.01. 2.5) The cross validation of the lifelong learner characteristics model fit empirical data. Both tests had similar statistics, fit indices, and standard solution. 2.6) The model invariance of model from, but some parameter were variance between group. 2.7) The correlations between the rating scale test, the situation test and the characteristics of lifelong learners of undergraduate students in the senior year were 0.868 and 0.284 respectively. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554 |
Degree Name: | ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาเอก |
Degree Discipline: | การวัดและประเมินผลการศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51828 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.2121 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2011.2121 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
saksit_ri.pdf | 4.69 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.