Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5198
Title: | ความชุกของภาวะระดับไขมันในเลือดผิดปกติในผู้ป่วยโรคข้ออักเสบรูมาทอยด์ที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ |
Other Titles: | Prevalence of dyslipidemia in patients with rheumatoid arthritis at King Chulalongkorn Memorial Hospital |
Authors: | บัลลังก์ เอกบัณฑิต |
Advisors: | มนาธิป โอศิริ สมเกียรติ แสงวัฒนาโรจน์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected] [email protected] |
Subjects: | โคเลสเตอรอล ข้ออักเสบรูห์มาตอยด์ |
Issue Date: | 2546 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | วัตถุประสงค์: เพื่อหาความชุกของภาวะระดับไขมันในเลือดผิดปกติในผู้ป่วยโรคข้ออักเสบรูมาทอยด์ที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ วิธีการศึกษา: เจาะเลือดผู้ป่วยโรคข้ออักเสบรูมาทอยด์ทั้งหมด 106 คนหลังจากอดอาหาร 12 ชั่วโมงนำมาตรวจระดับน้ำตาลในเลือด (fasting plasma glucose; FPG) และตรวจระดับไขมันในเลือดชนิดต่างๆ ได้แก่ระดับคอเลสเทอรอล (total cholesterol; TC), ระดับไทรกลีเซอไรด์ (triglyceride; TG), ระดับคอเลสเทอรอลในลิโพโปรตีนที่มีความหนาแน่นสูง (high density lipoprotein cholesterol; HDL-C) นำมาคำนวณหาระดับคอเลสเทอรอลในลิโพโปรตีนที่มีความหนาแน่นต่ำ (low density lipoprotein cholesterol; LDL-C) และ ระดับคอเลสเทอรอลที่ไม่รวมคอเลสเทอรอลในลิโพโปรตีนที่มีความหนาแน่นสูง (non-high density lipoprotein cholesterol; non-HDL-C) ซักประวัติโรคหลอดเลือดหัวใจของผู้ป่วย และครอบครัว ภาวะหมดระดู เก็บรวบรวมข้อมูลทางคลินิก เส้นรอบเอว และเส้นรอบตะโพก อาการกำเริบของโรค ความรุนแรงของโรค และการรักษาด้วยยาชนิดต่างๆ ผลการศึกษา: พบว่า ความชุกของระดับ TC ในเลือด สูงตั้งแต่ 200 มก./ดล.ขึ้นไป ร้อยละ 37.74, ระดับ TG ในเลือด สูงตั้งแต่ 150 มก./ดล.ขึ้นไป ร้อยละ 5.66, ระดับ LDL-C ในเลือดสูงกว่าเป้าหมาย ร้อยละ 16.98, ระดับ HDL-C ในเลือด ต่ำตั้งแต่ 40 มก./ดล.ลงมา ร้อยละ 5.66 โดยพบภาวะระดับ non-HDL-C ในเลือดสูง ร้อยละ 5.66 และมีอัตราส่วน TC/HDL-C สูงตั้งแต่ 4.5 ขึ้นไป ร้อยละ 9.43 โดยมีความชุกของระดับไขมันผิดปกติอย่างน้อย 1 ชนิด ร้อยละ 48.11 ทั้งนี้พบความชุกของระดับ HDL-C ในเลือดสูงตั้งแต่ 60 มก/ดล ถึงร้อยละ 50 โดยปัจจัยที่มีผลต่อระดับไขมันได้แก่ อายุ, เส้นรอบเอว, น้ำหนักตัว และ ดัชนีมวลกายที่มากขึ้นสัมพันธ์กับระดับ TC, TG, LDL-C และ non-HDL-C ในเลือดที่สูงขึ้น ภาวะหมดระดู สัมพันธ์กับระดับ TC, TG, LDL-C และ non-HDL-C ในเลือดที่สูงขึ้น การใช้ยา naproxen สัมพันธ์กับระดับ TC, TG, LDL-C, non-HDL-C และอัตราส่วน TC/HDL-C ในเลือดที่ต่ำลง และการใช้ยาต้านมาลาเรียสัมพันธ์กับระดับ TC, LDL-C, non-HDL-C และอัตราส่วน TC/HDL-C ในเลือด ที่ต่ำลง สรุป พบภาวะระดับไขมันในเลือดผิดปกติในผู้ป่วยโรคข้ออักเสบรูมาทอยด์ที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ได้ ร้อยละ 48.11 การตรวจหาภาวะนี้ควรทำควบคู่ไปกับการหาจำนวนปัจจัยเสี่ยง เพื่อการควบคุมระดับไขมันในเลือดที่มีเป้าหมายที่ชัดเจนต่อไป |
Other Abstract: | Objective: To study the prevalence of dyslipidemia in patients with rheumatoid arthritis at King Chulalongkorn Memorial hospital. Methods: 12-hour fasting blood samples were taken from 106 patients with rheumatoid arthritis and assessed for fasting plasma glucose (FPG), total cholesterol (TC), triglyceride (TG), high-density lipoprotein-cholesterol (HDL-C). Low-density lipoprotein-cholesterol (LDL-C) and non-HDL-C level were calculated. History of cardiovascular disease (CVD) in family, menopausal state, clinical symptoms, disease activity and severity, drug treatment were collected. Results: Prevalence of TC >= 200 mg./dl. was 37.74%, TG >= 150 mg./dl. was 5.66%, high LDL-C was 16.98%, high non-HDL-C and HDL-C <= 40 mg./dl. were 5.66%. Prevalence of dyslipidemia was 48.11%. HDL-C >= 60 mg./dl. was observed in 50% patients. Lipid level was correlated with age, waist circumference, body weight, body mass index, menopausal state particular non-steroidal anti-inflammatory drugs (NSAIDs) (naproxen) and the use of anti-malarial drug. Conclusions: Prevalence of dyslipidemia in patients with rheumatoid arthritis was 48.11%. Detection of this abnormality is crucial. The search for other cardiovascular risk factors should be performed to determine the appropriate level of LDL-C in order to reduce cardiovascular events. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | อายุรศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5198 |
ISBN: | 9741743939 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Med - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Bunlung.pdf | 560.01 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.