Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52175
Title: การพัฒนาและตรวจสอบโครงสร้างพหุมิติของความเป็นพลเมืองที่มีความรับผิดชอบของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น : การประยุกต์ใช้แนวคิดการสร้างแผนที่โครงสร้าง
Other Titles: Development and investigation of multidimensional construct of responsible citizenship of lower secondary school students : an application of construct mapping approach
Authors: เมษา นวลศรี
Advisors: กมลวรรณ ตังธนกานนท์
โชติกา ภาษีผล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: [email protected],[email protected]
[email protected]
Subjects: พลเมือง
นักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น
Civics
Junior high school students
Issue Date: 2559
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาโครงสร้างพหุมิติของความเป็นพลเมืองที่มีความรับผิดชอบของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โดยประยุกต์ใช้แนวคิดการสร้างแผนที่โครงสร้าง 2) พัฒนาแบบวัดตามโครงสร้างพหุมิติของความเป็นพลเมืองที่มีความรับผิดชอบของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น 3) ตรวจสอบโครงสร้างพหุมิติของความเป็นพลเมืองที่มีความรับผิดชอบของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ 4) สร้างคะแนนจุดตัดของแบบวัดตามโครงสร้างพหุมิติของความเป็นพลเมืองที่มีความรับผิดชอบของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น 5) ประเมินความเป็นพลเมืองที่มีความรับผิดชอบของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 1,420 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบวัดความเป็นพลเมืองที่มีความรับผิดชอบของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น มีลักษณะเป็นแบบหลายตัวเลือกที่ลักษณะลดหลั่นกันตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ความเบ้ และความโด่ง ใช้สถิติตรวจสอบความ ได้แก่ INFIT MNSQ, OUTFIT MNSQ, AIC, BIC และ G2 มีการพัฒนาคะแนนจุดตัดโดยใช้วิธีการกำหนดเกณฑ์พื้นที่จาก Wright Map ผลการวิจัยพบว่า 1. แผนที่โครงสร้างพหุมิติของความเป็นพลเมืองที่มีความรับผิดชอบของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ประกอบด้วย 3 มิติ ได้แก่ มิติความรู้ มิติทักษะ และมิติจิตพิสัย โดย มิติความรู้ ประกอบด้วย 4 ระดับ (การระบุองค์ความรู้ การอธิบาย การวิเคราะห์ และการประเมินผลกระทบในอนาคต) มิติทักษะ ประกอบด้วย 3 ระดับ (การเลียนแบบ การมีส่วนร่วม และการเป็นแบบอย่างที่ดี) มิติจิตพิสัย ประกอบด้วย 3 ระดับ (การรับรู้ ค่านิยม และจิตสำนึก) 2. แบบวัดความเป็นพลเมืองที่มีความรับผิดชอบประกอบด้วย 3 มิติ ตามแผนที่โครงสร้างพหุมิติ มีจำนวน 36 ข้อ ทุกข้อมีค่า MNSQ อยู่ในช่วง 0.93 – 1.11 ซึ่งผ่านเกณฑ์ที่ยอมรับได้ มีค่าความเที่ยงแบบ EAP ในมิติความรู้ มิติทักษะ และมิติจิตพิสัย เท่ากับ .954, .901, .895 ตามลำดับ 3. ความเป็นพลเมืองที่มีความรับผิดชอบของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โมเดลแบบพหุมิติ (G2 = 100,478.753, AIC = 100,658.753, BIC = 100,762.459) มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์มากกว่าโมเดลเอกมิติแบบแยกตามมิติ (G2 = 101,076.172, AIC =101,250.172, BIC = 101,350.421) และโมเดลแบบเอกมิติรวม (G­2 = 100,997.547, AIC = 101,167.547, BIC = 101,265.492) ตามลำดับ 4. จุดตัดของคะแนนความเป็นพลเมืองที่มีความรับผิดชอบโดยใช้วิธีการกำหนดเกณฑ์พื้นที่ พบว่า โดยภาพรวมแบ่งนักเรียนออกเป็น 8 กลุ่ม ซึ่งมีจุดตัดของคะแนนที่ระดับความสามารถ θ = -1.829, -1.116, -0.999, -0.064, 1.431, 1.474 และ 2.177 ตามลำดับ 5. โดยภาพรวม นักเรียนมีความเป็นพลเมืองอยู่ในระดับปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 96.41 เมื่อพิจารณาจำแนกเป็นรายมิติ พบว่า ในมิติด้านความรู้ นักเรียนส่วนใหญ่มีความเป็นพลเมืองอยู่ในระดับค่อนข้างสูง คิดเป็นร้อยละ 62.00 ในมิติด้านทักษะ มีความเป็นพลเมืองอยู่ในระดับปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 59.86 และในมิติด้านจิตพิสัย มีความเป็นพลเมืองอยู่ในระดับปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 93.41
Other Abstract: The purpose of this research were to 1) develop a multidimensional construct map of responsible citizenship of lower secondary school students by applying construct mapping approach, 2) develop a scale according to a multidimensional construct map of responsible citizenship of lower secondary school students, 3) examine a multidimensional construct map of responsible citizenship of lower secondary school students with an empirical data, 4) develop a cut score of scale according to multidimensional responsible citizenship of lower secondary school students, and 5) evaluate a responsible citizenship of lower secondary school students. Data were collected from 1,420 lower secondary school students in the schools under the Office of Basic Education Commission of Thailand. Research instrument was a multidimensional responsible citizenship scale for lower secondary school students with ordered multiple choices. Data were analyzed descriptively including frequency, percentage, means, standard deviation, skewness and kurtosis. Fit statistics including INFIT MNSQ, OUTFIT MNSQ, AIC, BIC and G2 were also used to analyze. The cut-off scores of scale were developed by using the criterion zone of the Wright map. Research findings were as follows: 1. The multidimensional construct map of responsible citizenship of lower secondary school students comprised of three dimensions, i.e., knowledge, skill and Affective. The knowledge dimension consisted of 4 levels (i.e., Definition, Description, Analysis, and Evaluation). The skill dimension consisted of 3 levels (i.e., Imitation, Participation, and Role Model). The affective dimension consisted of 3 levels (i.e., Perception, Value, and Conscious). 2. The multidimensional responsible citizenship scale consisted of three dimensions according to the multidimensional construct map. There were 36 items, the MNSQ of every items ranged from 0.93 to 1.11 which were within the expected range. The EAP reliability of scale were .954, .901, and .895 in the knowledge dimension, skill dimension, and affective dimension, respectively. 3. The construct validity of responsible citizenship model of multidimensional approach (RCMMA) was also supported. The RCMMA (G2=100,478.753, AIC=100,658.753, BIC=100,762.459) was better fit than the consecutive unidimensional model (G2=101,076.172, AIC=101,250.172, BIC=101,350.421) and the composite unidimensional model (G2= 100,997.547, AIC=101,167.547, BIC=101,265.492). 4. The cut-off scores of multidimensional responsible citizenship scale derived by analyzing the criterion zone of the Wright map, it was found that for overall aspect, the cut-off scores were used to classify examinees into 8 levels at ability levels θ = -1.829, -1.116, -0.999, -0.064, 1.431, 1.474, and 2.177, respectively. 5. Overall, students had responsible citizenship at a moderate level (96.41%). When considering each dimension, it was found that most students had a responsible citizenship at a relatively high level (62.00%) in the knowledge dimension. Most students had a responsible citizenship at a moderate level (59.86%) in the skill dimension. In addition, most students had a responsible citizenship at a moderate level (93.41%) in the affective dimension.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559
Degree Name: ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: การวัดและประเมินผลการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52175
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.205
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2016.205
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5584220427.pdf8.67 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.