Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52246
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorปุณณรัตน์ พิชญไพบูลย์en_US
dc.contributor.advisorเอกชัย กี่สุขพันธ์en_US
dc.contributor.authorณัฐธิดา ภู่จีบen_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2017-03-03T03:03:20Z-
dc.date.available2017-03-03T03:03:20Z-
dc.date.issued2559en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52246-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพอันพึงประสงค์ของการพัฒนาสมรรถนะการสอนสำหรับครูทัศนศิลป์ ในโรงเรียนระดับมัธยมศึกษา 2) พัฒนารูปแบบการพัฒนาสมรรถนะการสอนสำหรับครูทัศนศิลป์ ในโรงเรียนระดับมัธยมศึกษา 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะการสอนสำหรับครูทัศนศิลป์ในโรงเรียนระดับมัธยมศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือโรงเรียนระดับมัธยมศึกษา สังกัด สพม.ทั่วประเทศ จำนวน 400 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูลคือครูทัศนศิลป์ เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูล คือ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนี PNIModified ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพปัจจุบัน สภาพอันพึงประสงค์ของการพัฒนาสมรรถนะการสอนสำหรับครูทัศนศิลป์ ในโรงเรียนระดับมัธยมศึกษา ในส่วนของวิธีพัฒนาพบว่ามีข้อที่มีค่าลำดับความต้องการจำเป็นอยู่ในระดับสูงกว่าค่ากลาง 4 วิธี คือการจัดการความรู้ มีลำดับความต้องการจำเป็นสูงสุด รองมาคือการฝึกอบรม การสอนงาน และระบบพี่เลี้ยง ตามลำดับ ในส่วนของสมรรถนะพบข้อที่มีค่าความต้องการจำเป็นสูงครบทั้ง 5 ด้าน เมื่อสังเคราะห์รูปแบบสรุปได้ว่า สมรรถนะที่ควรพัฒนาอันดับแรก คือ ทักษะ และ การพัฒนาตนเองและการเรียนรู้ตลอดชีวิต รองลงมาคือความรู้ คุณลักษณะ และมาตรฐานจริยธรรมและค่านิยม ตามลำดับ สำหรับความเหมาะสมของรูปแบบวิธีการพบว่าการพัฒนาสมรรถนะด้านความรู้และทักษะ ควรใช้วิธีฝึกอบรม การสอนงาน และการจัดการความรู้ ด้านคุณลักษณะควรใช้การจัดการความรู้ ในส่วนของการพัฒนาสมรรถนะด้านมาตรฐานจริยธรรมและค่านิยม ควรใช้การจัดการความรู้ และระบบพี่เลี้ยง และสำหรับการพัฒนาตนเองและการเรียนรู้ตลอดชีวิต ควรใช้การจัดการความรู้ ระบบพี่เลี้ยง และการฝึกอบรม 2. รูปแบบที่พัฒนาขึ้นมีชื่อว่า “รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะการสอนสำหรับครูทัศนศิลป์ ในโรงเรียนระดับมัธยมศึกษา” ในด้านการประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบ ผลการประเมินโดยผู้ทรงคุณวุฒิในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ซึ่งมีส่วนประกอบที่สำคัญ 7 ส่วน ได้แก่ 1) ชื่อรูปแบบ 2) หลักการและความสำคัญ 3) วัตถุประสงค์ของรูปแบบ 4) องค์ประกอบของรูปแบบ โดยประกอบด้วยรูปแบบการพัฒนา 4 องค์ประกอบที่แตกต่างกัน คือ การสอนงาน ระบบพี่เลี้ยง การฝึกอบรม และการจัดการความรู้ ที่มุ่งพัฒนาสมรรถนะหลัก 5 ส่วน คือ ความรู้ ทักษะ คุณลักษณะ จริยธรรมและค่านิยม และการพัฒนาตนเองและการเรียนรู้ตลอดชีวิต 5) กลไกสนับสนุนรูปแบบ ประกอบด้วย 4 ส่วน คือ การสนับสนุน การพัฒนาตนเอง การประเมินอย่างสม่ำเสมอ และการจัดการความรู้ 6)แผนภาพของรูปแบบและการนำไปใช้ 7.ประโยชน์ที่ได้รับ 3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะการสอนสำหรับครูทัศนศิลป์ ในโรงเรียนระดับมัธยมศึกษา พบว่า ผู้เข้ารับการทดลองมีสมรรถนะการสอนทัศนศิลป์สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ข้อเสนอแนะในการนำผลการวิจัยไปใช้ ประกอบด้วย 1) การนำรูปแบบไปใช้ควรพิจารณาบริบทของครูเพื่อกำหนดกรอบระยะเวลาที่เหมาะสมในการพัฒนา 2) ผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาควรให้ความสำคัญและมุ่งเน้นการพัฒนาผ่านรูปแบบที่เหมาะสมกับแต่ละบริบทสมรรถนะ เพื่อให้เกิดการพัฒนาที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลอย่างสูงสุด 3) ควรมีการจัดการความรู้อย่างต่อเนื่องและใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการจัดการความรู้ และ 4) ควรมีการวัดระดับสมรรถนะทั้ง 5 ด้านของครูก่อนการเข้าโปรแกรมพัฒนา เพื่อจะได้จัดรูปแบบการพัฒนาที่เหมาะสมและตรงกับสมรรถนะที่จำเป็นen_US
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this research were to 1) Analyze current and the desirable states of developing teaching competency for secondary school art teachers of 2) enhance the model of teaching competency development for visual art teachers of secondary schools. 3) to experience the use of the model of teaching competency development for the visual art teachers. Using 400 schools under the office of Secondary Education Service Area as a sample group, with visual art teachers as a key informant. The research instruments were questionnaire and interview. The data were analyzed by frequency, percentage, average, standard deviation , and index PNIModified. The research result indicates that 1.In recent circumstance, there are desirable conditions that could helps develop teaching competency for the art teachers, as a result, there are four patterns that above median range of priority need index. Which is, knowledge management , that has the most level of priority need, and following with training, coaching and mentoring system. It was also found that all five competencies in the high of priority need index. And by analyzing, it indicates that the first competency to develop were skills and professional development and lifelong learning. Next competency to enhance is knowledge, characteristics, and Ethical standards and values. In the topic of preferenced term of development model, it shows that to enhance knowledge and skill dimension, the most effective way were training, coaching, and knowledge management. For enhance the characteristic, the best way is by using knowledge management. Or even in the other case of enhancing ethical standards and values, the most prefered way is knowledge management combine with mentoring system. For Professional development and lifelong learning, it is better to use knowledge management, mentoring system, and training all together. 2. The development method is called “The Model of Teaching Competency Development for Visual Art Teachers of Secondary Schools” which scored the highest level in feasibility and suitability assessment conducted by focus group The model has seven important components, including : 1)Model’s name 2)Principle and emphasis 3)Model’s objective 4) Model’s core elements, which consist of 4 different elements. There are Coaching, Mentoring, Training and Knowledge Management. These 4 core elements are meant to develop 5 main competencies of Professional Knowledge, Skills, Characteristic, Ethical Standards and Values, and Development and Lifelong Learning. 5) Model’s supporting mechanic consist of 4 main parts which are Supporting, Self Development, Evaluate and Knowledge Management. 6) Model’s diagram and implementation. 7) Benefits 3. The result of experiment on applying this model on trails reflects that they have higher visual art teaching competency, with statistically significant at the level of 0.05. Suggestions on implementing research’s result are 1) implementing the model should be done on a well consideration of teacher’s circumstances, in order to set the appropriate timeframe of development. 2) Administration should prioritize and focus on the most suitable model that fits each of competency’s contexts, to achieve maximum efficiency and effectiveness. 3) There should be a continuity of using knowledge management process and ICT should be used to support. 4) There should be a pre-test to evaluate each of five competencies on the teacher before introducing them to the model, in order to organize a proper development model that compatible with each competencies character.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.1124-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectทัศนศิลป์-
dc.subjectศิลปกรรม -- การศึกษาและการสอน-
dc.subjectครูศิลปศึกษา-
dc.subjectArt -- Study and teaching-
dc.subjectArt-
dc.subjectArt teachers-
dc.titleรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะการสอนสำหรับครูทัศนศิลป์ในโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาen_US
dc.title.alternativeThe model of teaching competency development for visual art teachers of secondary schoolsen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameครุศาสตรดุษฎีบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาเอกen_US
dc.degree.disciplineศิลปศึกษาen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisor[email protected],[email protected],[email protected]en_US
dc.email.advisor[email protected]en_US
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.THE.2016.1124-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5684211927.pdf18.58 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.