Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52247
Title: กลยุทธ์การพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่มุ่งเน้นแนวคิดการทำงานทางสมองด้านการบริหารจัดการ
Other Titles: STRATEGIES TO DEVELOP THE INTERNAL QUALITY ASSURANCE SYSTEMOF THE CHILD DEVELOPMENT CENTER FOCUSING ONTHE CONCEPT OF EXECUTIVE FUNCTIONS
Authors: สิริยากร กองทอง
Advisors: วลัยพร ศิริภิรมย์
พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: [email protected],[email protected]
[email protected]
Subjects: ประกันคุณภาพ
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
การบริหารองค์การ
ปริญญาดุษฎีบัณฑิต
Quality assurance
Associations, institutions, etc. -- Management
Issue Date: 2559
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากรอบแนวคิดระบบการประกันคุณภาพภายในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่มุ่งเน้นแนวคิดการทำงานทางสมองด้านการบริหารจัดการ 2) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของระบบการประกันคุณภาพภายในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่มุ่งเน้นแนวคิดการทำงานทางสมองด้านการบริหารจัดการ 3) นำเสนอกลยุทธ์การพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่มุ่งเน้นแนวคิดการทำงานทางสมองด้านการบริหารจัดการ โดยใช้การวิจัยแบบผสมผสาน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 351 ศูนย์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ได้แก่ แบบสอบถาม และแบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของกลยุทธ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนีความต้องการจำเป็นและการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) กรอบแนวคิดระบบการประกันคุณภาพภายในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่มุ่งเน้นแนวคิดการทำงานทางสมองด้านการบริหารจัดการ ประกอบไปด้วย (1) กรอบแนวคิดระบบการประกันคุณภาพภายในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ได้แก่ การประเมินคุณภาพภายใน การติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษา และการพัฒนาคุณภาพการศึกษา (2) กรอบแนวคิดการทำงานทางสมองด้านการบริหารจัดการประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ ได้แก่ ความจำขณะทำงาน (Working Memory) การยับยั้งความคิดและพฤติกรรม (Inhibitory Control) การเปลี่ยนความคิดเมื่อเงื่อนไขเปลี่ยนไป (Shift) การควบคุมอารมณ์ (Emotional Control) และการวางแผนและการจัดการ (Planning & Organizing) 2) ระบบการประกันคุณภาพภายในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่มุ่งเน้นแนวคิดการทำงานทางสมองด้านการบริหารจัดการในภาพรวมมีสภาพปัจจุบันอยู่ในระดับมาก (x̄=3.595) และสภาพที่พึงประสงค์อยู่ในระดับมาก (x̄​​= 4.274) 3) กลยุทธ์การพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่มุ่งเน้นแนวคิดการทำงานทางสมองด้านการบริหารจัดการ มี 3 กลยุทธ์หลัก 6 กลยุทธ์รอง คือ (1) กลยุทธ์พัฒนาการติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษาที่มุ่งเน้นแนวคิดการทำงานทางสมองด้านการบริหารจัดการ (1.1) ร่วมมือทางวิชาการระหว่างต้นสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในการสร้างเครือข่ายการติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษาที่มุ่งเน้นแนวคิดการทำงานทางสมองด้านการบริหารจัดการ (1.2) พัฒนาการติดตามกระบวนการดำเนินงานตามแผนพัฒนาการจัดการศึกษา (Process Ongoing) ที่มุ่งเน้นแนวคิดการทำงานทางสมองด้านการบริหารจัดการของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก (2) กลยุทธ์ยกระดับการพัฒนาคุณภาพการศึกษาที่มุ่งเน้นแนวคิดการทำงานทางสมองด้านการบริหารจัดการ (2.1) ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีในการบริหารจัดการข้อมูลอย่างชาญฉลาด สามารถพัฒนาคุณภาพการศึกษาโดยใช้วงจรควบคุมคุณภาพ PDCA และการมีส่วนร่วมของปราชญ์ท้องถิ่นในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบบูรณาการ (2.2) ยกระดับศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเป็นศูนย์ต้นแบบที่มุ่งเน้นแนวคิดการทำงานทางสมองด้านการบริหารจัดการพร้อมระดมทุนสนับสนุนทั้งจากภาครัฐและเอกชน แยกเป็นขนาดเล็ก ขนาดกลาง ขนาดใหญ่ในแต่ละพื้นที่ (3) กลยุทธ์พัฒนาการประเมินคุณภาพภายในที่มุ่งเน้นแนวคิดการทำงานทางสมองด้านการบริหารจัดการ (3.1) ยกระดับมาตรฐานการศึกษาของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่มุ่งเน้นแนวคิดทางสมองด้านบริหารจัดการให้เป็นมาตรฐานศูนย์เด็กเล็กแห่งชาติ และสอดรับการประเมินภายนอกจาก สมศ. (3.2) ส่งเสริมการประเมินคุณภาพภายในด้านพัฒนาการของเด็กปฐมวัย ร่างกาย อารมณ์ สังคม สติปัญญา ให้เป็นไปตามวัยที่มุ่งเน้นแนวคิดการทำงานทางสมองด้านการบริหารจัดการทั้งในระดับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและระดับศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
Other Abstract: The objectives of this research were ; 1) to study the conceptual framework of the Internal Quality Assurance System of the Child Development Center. 2) To study the current and desirable states of the Internal Quality Assurance System of the Child Development Center under the local administrative organizations (LAO) focusing on the Concept of Executive Functions (EF). 3) To present strategies to develop the internal quality assurance system of the Child Development Center focusing on the concept of Executive Functions. The study applied a mixed method approach. The sample populations were 351 Child Development Center under the local administrative organizations (LAO). The instruments used in this study were questionnaires and the strategic evaluation form to testify appropriateness and feasibility of the strategies. The data was analyzed by frequency, percentage, average, standard deviation; priority needs index (modified) and content analysis. The research results showed that : 1) The conceptual framework of the Internal Quality Assurance System of the Child Development Center were 2 framework. 1.1) Internal Quality Assurance System including Internal Quality Assessment, Education Quality Monitoring and Education Quality Development. 1.2) the conceptual framework of the Executive Functions according to the 5 major skills as the main components including Working Memory, Inhibitory Control, Shift, Emotional Control and Planning & Organizing. 2) The current (mean= 3.595) and desirable (mean= 4.274) states of the Internal Quality Assurance System of the Child Development Center under the LAO focusing on the concept of executive functions were in high level. 3) Strategies to Develop the Internal Quality Assurance System of the Child Development Center focusing on the concept of Executive Functions comprised (1) Development strategy of Education Quality Monitoring that Focusing on the concept of Executive Functions. (1.1 ) Cooperation between the local administrative organizations (LAO)'s child development centers to create a network for monitoring the quality of education that focusing on the concept of Executive Functions. (1.2) Process development and monitoring implementation of the education development plan (Process Ongoing) focusing on the concept of Executive Functions. (2) Strategy to enhance the quality of education that focusing on the concept of Executive Functions. (2.1) Promote the use of technology to manage data wise improvement Process of education quality development by using PDCA cycle quality control and participation of local scholars in the learning activities integrated. (2.2) Enhance Child Development Center to be a model center that focuses on the concept of Executive Functions and funding support from both the public and private sectors : small, medium, large as a model Child Development Center in area. (3) Strategy development Internal Quality assessment focusing on the concept of Executive Functions. (3.1) Raise the standard of education of the child development center that focusing on the concept of Executive Functions is the national childcare standards. And conforms to the external quality assessment. (3.2) Promote the development of quality early childhood physical, emotional, social, intellectual, according to the old concept that focuses on the concept of Executive Functions at both the local administrative organizations (LAO) and the Child Development Center.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559
Degree Name: ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: บริหารการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52247
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.543
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2016.543
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5684253227.pdf10.47 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.