Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52429
Title: องค์กรทางสังคมและการฟื้นฟูสมรรถภาพด้านอาชีพคนพิการ : กรณีศึกษาศูนย์ฟื้นฟูอาชีพคนพิการพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ
Other Titles: Social service agency and vocational rehabilitation for disabled persons : a case study of Phra Pradang Vocational Rehabilitation Centre for the Disabled People, Sumut Prakan Province
Authors: จิตติมา คิ้มสุขศรี
Advisors: นฤมล บรรจงจิตร์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: [email protected]
Subjects: การฟื้นฟูสมรรถภาพด้านอาชีพ
คนพิการ -- การจ้างงาน -- ไทย -- สมุทรปราการ
Vocational rehabilitation
People with disabilities -- Employment-- Thailand -- Sumut Prakan
Issue Date: 2550
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทของศูนย์ฟื้นฟูอาชีพคนพิการพระประแดงในการตอบสนองนโยบายของรัฐเกี่ยวกับการฟื้นฟูสมรรถภาพด้านอาชีพคนพิการ วิเคราะห์รูปแบบและกระบวนการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการของศูนย์ฯ และความคิดเห็นของคนพิการเกี่ยวกับการตอบสนองความต้องการและการให้บริการ รวมทั้งประเมินผลที่คนพิการได้รับทางด้านเศรษฐกิจและสังคมภายหลังจากผ่านกระบวนการฟื้นฟูสมรรถภาพด้านอาชีพของศูนย์ฯ ในการศึกษาใช้วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลเอกสาร การสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก การจัดสนทนากลุ่ม และการสังเกตแบบมีส่วนร่วม โดยมีกลุ่มเป้าหมายประกอบด้วย เจ้าหน้าที่ของศูนย์ฟื้นฟูอาชีพคนพิการพระประแดง คนพิการที่กำลังอยู่ระหว่างการฟื้นฟูอาชีพและคนพิการที่ผ่านกระบวนการฟื้นฟูอาชีพจากศูนย์ฯ ไปแล้ว ผลการศึกษาพบว่า บทบาทการดำเนินงานของศูนย์ฟื้นฟูอาชีพคนพิการพระประแดงแบ่งได้ 3 ด้าน คือ (1) ด้านการให้บริการ พบว่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านสังคม มีผลต่อความเปลี่ยนแปลงของคนพิการที่เข้ารับการฝึก เช่น ทำให้คนพิการมีสภาพจิตใจที่ดีขึ้น กล้าแสดงออก กล้าเข้าสังคม สามารถอยู่ในสังคมได้อย่างมีความปกติสุข (2) ด้านการฟื้นฟูสมรรถภาพทางอาชีพ พบว่า ศูนย์ฯ ยังขาดบุคลากรผู้ถ่ายทอดวิชาชีพที่มีความรู้ทางเทคโนโลยีที่ทันสมัย ในขณะเดียวกัน วัสดุอุปกรณ์ในการเรียนการสอนยังไม่เพียงพอ และหลักสูตรยังไม่ทันสมัย ทำให้เมื่อผู้เข้ารับการฟื้นฟูฯ จบออกไปแล้ว ไม่สามารถนำความรู้มาใช้ได้ในสถานการณ์จริงที่มีความเปลี่ยนแปลงไป (3) ด้านการสร้างและประสานเครือข่าย เป็นบทบาทที่ศูนย์ฯ เริ่มมีการดำเนินงานใน "เชิงรุก" โดยเน้นให้คนในชุมชนสามารถดูแลคนพิการในชุมชนของตนเองได้ ส่วนผลทางด้านเศรษฐกิจและสังคมภายหลังที่คนพิการผ่านกระบวนการฟื้นฟูสมรรถภาพจากศูนย์ฯ แล้ว พบว่า คนพิการมีการพึ่งตนเองได้ในระดับที่แตกต่างกันไป โดยแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มที่หนึ่ง สามารถพึ่งตนเองได้ คือ มีอาชีพที่มั่นคง มีรายได้ และมีเงินออม รวมทั้งสามารถช่วยเหลือสังคมได้ กลุ่มที่สองพึ่งตนเองได้ แต่ยังไม่มีเงินเหลือเก็บ กลุ่มที่ 3 ไม่สามารถพึ่งตนเองได้ เนื่องจากมีสภาพความพิการที่รุนแรง จากผลการศึกษาในส่วนนี้พบว่า ศูนย์ฯ มีส่วนที่ช่วยให้คนพิการมีความรู้ความสามารถที่จะออกไปประกอบอาชีพในสังคมภายนอกและสามารถเลี้ยงตนเองได้ แต่ระดับการพึ่งตนเองของคนพิการขึ้นอยู่กับสภาพความพิการ และขีดความสามารถในการเรียนรู้ของแต่ละบุคคล
Other Abstract: There are three objectives of this research. First, it aims to study the response of the role of Phra Pradang Vocational Rehabilitation Centre for the Disabled People to the state policy about vocational rehabilitation for disabled persons. The second purpose was to analyze forms and process of vocational rehabilitation for the Disabled People and the opinion of the disabled persons about the response to their needs and the service of the centre. Finally, this research estimated the results of the economy and the social after the disabled persons passed vocational rehabilitation procession. The data were collected from documents research, key informant interview, in-depth interview, focus group and non-participant observation. As the result, (1) Servicing: the research found that the service of the centre affected on the development of disabled persons who attend the program: they have to better psychological condition, more confidence, more social and more social contacts. (2) Vocational Rehabilitation for the Disabled People: the center lacked the specialists of modern knowledge and technologies. Moreover, educational supplies were not enough to disabled persons. As a result the participants of this centre couldn't apply the knowledge they gained during the treatment in their daily life. (3) Making and Social Networking: which is the new role of this centre that management in proactive working by having service for community to take care disabled people by themselves? In the aspect of economics and society, after the disabled persons passed vocational rehabilitation procession, the research resulted in 3 group: 1. the disabled person who can reply on oneself, have the saving deposits and helping the social. 2. The disabled person who can rely on one self but still have no the saving deposits. 3. The disabled person who can not rely on oneself. Almost of the disabled person can rely on oneself. They have the occupation, income continuously which the disabled person in this group has will deformation state not severely extremely, receiving any chances and the supporting from the social. They know how to develop themselves regularly. The disabled person who can not rely on oneself because of deformation state extremely that is severe makes can not rely on oneself.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550
Degree Name: ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พัฒนามนุษย์และสังคม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52429
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2007.215
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2007.215
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
jittima_ki_front.pdf1.18 MBAdobe PDFView/Open
jittima_ki_ch1.pdf1.69 MBAdobe PDFView/Open
jittima_ki_ch2.pdf4.81 MBAdobe PDFView/Open
jittima_ki_ch3.pdf2.59 MBAdobe PDFView/Open
jittima_ki_ch4.pdf4.2 MBAdobe PDFView/Open
jittima_ki_ch5.pdf1.68 MBAdobe PDFView/Open
jittima_ki_ch6.pdf6.51 MBAdobe PDFView/Open
jittima_ki_ch7.pdf948.27 kBAdobe PDFView/Open
jittima_ki_back.pdf3.49 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.