Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52746
Title: | ผลของสารสกัดมาตรฐานบัวบก อีซีเอ 233 ต่อภาวะบกพร่องของการเรียนรู้และความจำที่ถูกเหนี่ยวนำโดยคลอร์ไพริฟอสขนาดต่ำในหนูเมาส์ |
Other Titles: | Effects of standardized extract of centella asiatica ECa 233 on learning and memory deficit induced by low dose chlorpyrifos in mice |
Authors: | สิทธิพงษ์ กนกวรรณจำรัส |
Advisors: | มยุรี ตันติสิระ บุญยงค์ ตันติสิระ รัชนี รอดศิริ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเภสัชศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected] [email protected] ไม่มีข้อมูล |
Subjects: | บัวบก -- สารสกัด คลอร์ไพริฟอส ยาฆ่าแมลง เซลล์ประสาท Centella asiatica Chlorpyrifos Insecticides |
Issue Date: | 2554 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | คลอร์ไพริฟอส เป็นยาฆ่าแมลงที่มีความเป็นพิษต่อระบบประสาทที่อาจรุนแรงถึงแก่ชีวิตหากได้รับในขนาดสูง มีรายงานว่าการได้รับคลอร์ไพริฟอสในขนาดต่ำอย่างต่อเนื่อง จะก่อให้เกิดอนุมูลอิสระในสมอง และยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์ประสาท ซึ่งอาจส่งผลต่อการทำงานของระบบประสาท งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของสารสกัดมาตรฐานบัวบก อีซีเอ 233 ต่อภาวะบกพร่องของการเรียนรู้และความจำที่ถูกเหนี่ยวนำด้วยคลอร์ไพริฟอสขนาดต่ำ โดยใช้หนูเมาส์ สายพันธุ์ ICR เพศผู้ อายุ 4 สัปดาห์ จากการทดสอบความเป็นพิษเฉียบพลัน ในหนูเมาส์จำนวน 5 กลุ่มๆ ละ 10 ตัว ที่ได้รับคลอร์ไพริฟอสทางปาก ในขนาดต่างๆ ตั้งแต่ 150-230 มก./กก. พบว่ามีค่า LD50 เท่ากับ 175.65 (163.19-188.11) มก./กก. และเมื่อให้คลอร์ไพริฟอส 30 มก./กก. (1 ใน 6 ของค่า LD50) ทางปาก วันละ 1 ครั้งแก่หนูเมาส์ เป็นระยะเวลา 20 วัน พบว่า ทำให้เกิดความบกพร่องของการเรียนรู้และความจำ ระดับของ MDA ในสมองสูงขึ้นและเซลล์ประสาทบริเวณ CA1 และ CA3 ของสมองส่วนฮิปโปแคมปัสถูกทำลาย โดยมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม สารสกัดมาตรฐานบัวบก อีซีเอ 233 ในขนาด 10 และ 30 มก./กก. ที่ให้โดยการป้อนทางปากสามารถช่วยลดความบกพร่องของการเรียนรู้และความจำ ในการทดสอบด้วยวิธี Morris water maze และ Object recognition อีกทั้งยังสามารถช่วยลดระดับ MDA ในสมอง และลดการตายของเซลล์ประสาทบริเวณ CA1 และ CA3 ของสมองส่วนฮิปโปแคมปัสได้แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มที่ได้รับคลอร์ไพริฟอส โดยที่ขนาดของคลอร์ไพริฟอสและสารสกัดมาตรฐานบัวบก อีซีเอ 233 ที่หนูเมาส์ได้รับนั้น ไม่มีฤทธิ์กระตุ้นหรือยับยั้งระบบประสาทส่วนกลางที่ควบคุมการเคลื่อนไหวของหนูเมาส์ เมื่อทดสอบด้วยวิธี locomotor activity ในขณะที่การได้รับวิตามินอี (75 มก./กก.) ร่วมกับวิตามินซี (100 มก./กก.) ไม่สามารถแก้ไขภาวะบกพร่องของการเรียนรู้และความจำ แต่จะช่วยลดปริมาณ MDA และลดการตายของเซลล์ประสาทในสมองที่เกิดจากการได้รับคลอร์ไพริฟอสขนาดต่ำได้ ผลการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่า สารสกัดมาตรฐานบัวบก อีซีเอ 233 ที่ให้โดยการป้อนทางปากสามารถช่วยแก้ไขภาวะบกพร่องของการเรียนรู้และความจำที่ถูกเหนี่ยวนำโดยคลอร์ไพริฟอสขนาดต่ำได้ โดยอย่างน้อยที่สุดจะมีกลไกส่วนหนึ่งในการป้องกันเซลล์ประสาทบริเวณฮิปโปแคมปัสจากฤทธิ์ของอนุมูลอิสระ ร่วมกับกลไกอื่น ๆ นอกเหนือจากฤทธิ์ต้านออกซิเดชันดังกล่าว ควรจะมีการศึกษาต่อไปในระดับเซลล์ เพื่อให้ทราบถึงกลไกการออกฤทธิ์ที่สมบูรณ์ของสารสกัดมาตรฐานบัวบก อีซีเอ 233 |
Other Abstract: | Chlorpyrifos is an organophosphate insecticide with neurotoxicity. If exposure level is high enough, chlorpyrifos can cause death. It has been reported that persistent low dose exposure to chlorpyrifos generated reactive oxygen species and inhibited proliferation of neuronal cells which could attribute to neuronal dysfunction. Therefore, the present study aimed to investigate the effects of standardized Centella asiatica extract ECa 233 (ECa 233) on learning and memory deficit induced by low dose chlorpyrifos in male, 4- weeks old ICR mice. Acute toxicity test was carried out in 5 groups of 10 mice each. Chlorpyrifos at the doses between 150-230 mg/kg was orally administered and the LD50 of chlorpyrifos was found to be 175.65 (163.19-188.11) mg/kg. When chlorpyrifos 30 mg/kg (1/6 of LD50) was orally given once daily for 20 consecutive days, impairment of learning and memory, increased of MDA levels and neuronal cells death in CA1 and CA3 regions of hippocampus were observed. Apparently, they are significantly differ from control group. ECa 233 at the doses of 10 and 30 mg/kg could significantly improve chlorpyrifos-induced learning and memory deficit observed in both Morris water maze and Object recognition tests. Moreover, ECa 233 could significantly reduce cerebral MDA levels and decreased cells death in CA1 and CA3 regions of hippocampus in mice receiving chlorpyrifos, while neither ECa 233 nor chlorpyrifos could stimulate or depress locomotor activity in mice. In contrast administration of vitamin E (75 mg/kg) in combination with vitamin C (100 mg/kg) could not ameliorate learning and memory deficit whereas the increase of brain MDA as well as neuronal cells loss, caused by low dose chlorpyrifos, were significantly reduced. The results obtained demonstrated that orally given ECa 233 could improve learning and memory deficit induced by low dose chlorypyrifos at least, partly through attenuation of free radicals subsequently protected hippocampus cells death. Some other mechanisms independent of antioxidative activity do exist and should be further investigate to establish complete profiles of underlying mechanisms of action of standardized extract ECa 233. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ภ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554 |
Degree Name: | เภสัชศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | เภสัชวิทยา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52746 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.2179 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2011.2179 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Pharm - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
sitthipong_ka.pdf | 7.8 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.