Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5278
Title: | การประเมินการตรวจหาชนิดของเชื้อมาลาเรียในผู้ป่วยมีไข้ที่มารับการตรวจ ณ หน่วยควบคุมโรคติดต่อนำโดยแมลงที่ 4 จังหวัดตากโดยปฏิกิริยาลูกโซ่โพลีเมอร์เรส |
Other Titles: | Evaluation of malaria species detection among febrile patients attending the Vector Borne Diseases Control Unit 4 in Tak Province by the polymerase chain reaction |
Authors: | ธีระยศ กอบอาษา |
Advisors: | สมชาย จงวุฒิเวศย์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Advisor's Email: | [email protected] |
Subjects: | มาลาเรีย -- ไทย -- ตาก ปฏิกิริยาลูกโซ่โพลีเมอเรส |
Issue Date: | 2542 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การตรวจหาชนิดเชื้อมาลาเรียโดยปฏิกิริยาลูกโซ่โพลีเมอร์เรส (semi-nested polymerase chain reaction, PCR) เพื่อเพิ่มจำนวนดีเอ็นเอในส่วนของยีน small subunit ribosomal ribonucleic acid (SSU rRNA) ในผู้ป่วยมีไข้ที่มารับการตรวจเลือด ณ หน่วยควบคุมโรคติดต่อนำโดยแมลงที่ 4 จังหวัดตากในช่วงเดือนกรกฎาคม 2539 ถึง มีนาคม 2540 จำนวน 150 ราย กลุ่มประชากรศึกษาส่วนใหญ่ประกอบด้วยชาวเมียนมาร์และกะเหรี่ยง (ร้อยละ 73.3) รองลงมาคือชาวไทย (ร้อยละ 17.3) และชาวไทยภูเขา (ร้อยละ 9.4) พบผู้ที่มีดีเอ็นเอของเชื้อมาลาเรียในกระแสเลือดจำนวน 127 ราย เป็นเชื้อชนิด Plasmodium falciparum จำนวน 33 ราย P.vivax จำนวน 75 ราย การติดเชื้อชนิด P.falciparum ร่วมกับ P.vivax จำนวน 17 ราย การติดเชื้อชนิด P.vivax ร่วมกับ P.malariae จำนวน 2 ราย ในทางตรงกันข้ามการตรวจฟิล์มเลือดหนาและบางที่ย้อมสียิมซ่าสามารถตรวจพบเชื้อมาลาเรียจำนวน 84 และ 105 รายตามลำดับ อัตราส่วนการตรวจพบเชื้อด้วยวิธี PCR กับการตรวจจากฟิล์มเลือดบางและฟิล์มเลือดหนา เท่ากับ 1.38:1 และ 1.22:1 ตามลำดับ นอกจากนี้วิธี PCR มีประสิทธิภาพในการจำแนกชนิดของเชื้อมาลาเรียในรายที่มีการติดเชื้อมากกว่า 1 ชนิดได้ดีกว่าวิธีตรวจจากฟิล์มเลือด ดังนั้นการใช้วิธี PCR ในการจำแนกชนิดเชื้อมาลาเรีย ทำให้ทราบข้อมูลทางระบาดวิทยาที่ถูกต้องยิ่งขึ้น |
Other Abstract: | Semi-nested polymerase chain reaction (PCR)-based detection targetting small subunit ribosomal ribonucleic acid (SSU rRNA) genes of the human malaria parasites was exploited for malarial species identification among 150 isolates collected from febrile patients attending the Vector Borne Diseases Control Unit 4 at Tak Province during July 1996 and March 1997. The studied population comprised Myanmar and Karen people as the major ethnic groups (73.3%), followed by Thai (17.3%) and hill-tribe people (9.4%). Results revealed that 127 individuals (84.7%) harboured malarial DNA incirculation. Of these, 33 isolates gave positive results for Plasmodium falciparum, 75 for P.vivax, 17 for P.falciparum mixed with P.vivax and 2 P.vivax mixed with P.malariae. On the other hand, giemsa-stained thin blood film and thick blood film could detect malarial parasites in 84 and 105 isolates, respectively. The ratios of positive results from the PCR-based method to thin blood film and to thick blood film were 1.38:1 and 1.22:1,respectively. Furthermore, the PCR-based method could identify mixed infections with different malarial species more efficiently than traditional blood film examinations. Therefore, the PCR-based method provides a more accurate epidemiological data regarding malarial detection. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | ปรสิตวิทยาทางการแพทย์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5278 |
ISBN: | 9743327533 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
theerayot.pdf | 5.18 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.