Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52830
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorอรรถกร ปาละสุวรรณ-
dc.contributor.authorกรณิการ์ สวนคล้าย-
dc.contributor.authorดรุณวรรณ สุขสม-
dc.contributor.authorดวงดาว นันทโกมล-
dc.contributor.authorสุพรรณ สุขอรุณ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสหเวชศาสตร์-
dc.date.accessioned2017-05-01T09:36:18Z-
dc.date.available2017-05-01T09:36:18Z-
dc.date.issued2554-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52830-
dc.description.abstractความเสื่อมของร่างกายในผู้สูงอายุชักนำให้เกิดความเสี่ยงต่อการเกิดออกซิเดทีฟสเตรส เร่งให้เกิดพยาธิสภาพต่อหัวใจและหลอดเลือด การออกกำลังกายสม่ำเสมอและภาวะโภชนาการที่ดีน่าจะมีส่วนช่วยลดภาวะดังกล่าวได้ งานวิจัยนี้จึงทำการศึกษาเปรียบเทียบระดับการต้านอนุมูลอิสระ ความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด ร่วมกับการวิเคราะห์ผลจากการบริโภคอาหารและการออกกำลังกาย โดยศึกษาในกลุ่มตัวอย่างแบบภาคตัดขวาง ได้แก่ ผู้สูงอายุที่ไม่กิจกรรมออกกำลังกายสม่ำเสมอ (SE, 17 คน) และที่ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ (ไม่น้อยกว่า 3 ชั่วโมงต่อสัปดาห์) มาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 1 ปี (EE, 26 คน) และบุคคลวัยทำงานที่ไม่มีกิจกรรมออกกำลังกายสม่ำเสมอ (SY, 37 คน) และที่ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ (EY, 12 คน) อาสาสมัครจดบันทึกอาหารที่รับประทานเป็นเวลา 4 วัน จากนั้นทำการเจาะเลือดในวันที่ 5 ทำการวิเคราะห์สถิติความแปรปรวนแบบหลายทางโดยพิจารณาปัจจัยด้านความชราและด้านการออกกำลังกาย การวิจัยพบว่าค่าปริมาณรวมของสารต้านอนุมูลอิสระในพลาสมา (TAS) และพลาสมาโฮโมซิสเตอีน (tHcy: ดัชนีบ่งชี้โรคหัวใจและหลอดเลือด) ขึ้นอยู่กับทั้งปัจจัยความชราและการออกกำลังกายพบว่ากลุ่มผู้สูงอายุจะมีค่า TAS และ tHcy สูงกว่าในกลุ่มวัยทำงาน และในกลุ่มผู้สูงอายุที่ออกกำลังกายมีระดับ TAS สูงกว่ากลุ่ม SE, EY และ SY (p<0.001) และมีระดับเอ็นไซม์กลูต้าไธโอนเปอร์ออกซิเดสในเม็ดเลือดสูงกว่ากลุ่ม SY และ EY (p<0.05) ในขณะที่ผู้สูงอายุที่ขาดการออกกำลังกายมีระดับ tHcy สูงกว่ากลุ่ม EE, EY และ SY (p<0.01) งานวิจัยนี้พบว่าค่า TAS ที่สูงขึ้นมีความสัมพันธ์กับดัชนีมวลกาย (r=0.337, p=0.002) ร้อยละของมวลไขมันในร่างกาย (r=0.402, p=<0.0001) ปริมาณวิตามินซีที่บริโภค (r=0.231, p=0.026) และค่า tHcy มีความสัมพันธ์แบบผกผันของกับระดับไฮเดนซิตี้ไลโปโปรตีนในพลาสมา (r=0.269, p=0.015) ไม่พบการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญของดัชนีชี้วัดการเกิดออกซิเดชั่นของไขมัน (TBARS) ระดับวิตามินซีในพลาสมา และระดับเอนไซม์ต้านอนุมูลอิสระซุปเปอร์ออกไซด์ดิสมิวเทสในเลือด งานวิจัยสรุปได้ว่าการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอมีส่วนช่วยเพิ่มระดับการสารต้านอนุมูลอิสระ และช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้สูงอายุen_US
dc.description.abstractalternativeThe decline metabolic function in elderly increases risk of oxidative stress, leading to cardiovascular diseases. Adequate physical activity and well-balance diet would help to reduce the risks. This study aimed to compare antioxidant status and risk of cardiovascular diseases associate with dietary intake and regular exercise effects. A cross-sectional study was conducted in sedentary elderly (SE, n=17), exercising elderly (EE, n=26) who had exercise activity at least 3 hours/week for a year, sedentary young (SY, n=37) and exercising young (EY, n=12). All participants completed 4-day dietary intake records. Blood was collected on day 5. Factorial ANOVA tests were done regarding to aging and exercising factors. We found that total antioxidant status (TAS) and homocysteine (tHcy) in plasma were significantly and independently depended on elderly and exercise status. Elderly group had higher TAS and tHcy, compared to young group (p<0.01). EE had higher TAS compared to SE, EY and SY (p<0.001), and higher erythrocyte glutathione peroxidase activity compared to SY และ EY (p<0.05). SE had higher tHcy compared to EE, EY and SY (p<0.01). We evidenced that TAS was related to body mass index (r=0.337, p=0.002), % body fat mass (r=0.402, p=<0.0001), vitamin C intake (r=0.231, p=0.026), while tHcy was related to the decrease of plasma HDL concentration (r=-0.269, p=0.015). No differences were shown on lipid peroxidation marker (TBARS), plasma ascobate, erythrocyte superoxide dismutase activity. We suggest that regular exercise would help to increase antioxidant protection status and decrease the risk of cardiovascular diseases in elderly.en_US
dc.description.sponsorshipกองทุนวิจัยกองทุนรัชดาภิเษกสมโภช ปี 2554en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectการออกกำลังกายสำหรับผู้สูงอายุen_US
dc.subjectผู้สูงอายุ -- การประเมินความเสี่ยงด้านสุขภาพen_US
dc.subjectผู้สูงอายุ -- โภชนาการen_US
dc.subjectผู้สูงอายุ -- สุขภาพและอนามัยen_US
dc.subjectหัวใจ -- โรค -- การป้องกันและควบคุมen_US
dc.subjectหลอดเลือด -- โรคen_US
dc.subjectหลอดเลือดโคโรนารีย์ -- โรคen_US
dc.subjectแอนติออกซิแดนท์en_US
dc.titleผลของการออกกำลังกายเป็นประจำ และการบริโภคอาหารต่อระดับการต้านอนุมูลอิสระ และความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้สูงอายุ : รายงานผลการวิจัยen_US
dc.title.alternativeEffects of regular physical exercise and dietary intake on antioxidant status and cardiovascular risk in elderlyen_US
dc.typeTechnical Reporten_US
dc.email.author[email protected]-
dc.email.authorไม่มีข้อมูล-
dc.email.author[email protected]-
dc.email.authorไม่มีข้อมูล-
dc.email.author[email protected]-
dc.discipline.code0705en_US
Appears in Collections:All - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Attakorn_pa_2554.pdf4.2 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.