Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/53045
Title: | การพัฒนาโมเดลเชิงสาเหตุความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ : การทดสอบความไม่แปรเปลี่ยนตามขนาดของโรงเรียน |
Other Titles: | Development of the causal model of being a learning organization : invariance test for different sizes of school |
Authors: | ณหทัย วันทา |
Advisors: | สุชาดา บวรกิติวงศ์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected] |
Subjects: | ลิสเรลโมเดล การเรียนรู้ โรงเรียน การเรียนรู้องค์การ โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ Learning Organizational learning Schools LISREL model Casual model |
Issue Date: | 2550 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | งานวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาโมเดลเชิงสาเหตุความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียน เพื่อตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลเชิงสาเหตุความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และเพื่อทดสอบความไม่แปรเปลี่ยนของโมเดลเชิงสาเหตุความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ ระหว่างขนาดของโรงเรียนที่แตกต่างกัน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ โรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 300 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูลได้แก่ ผู้บริหาร ครู-อาจารย์ ตัวแปรที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยตัวแปรภายในแฝง 2 ตัวแปร คือ ปัจจัยด้านวัฒนธรรมองค์กร และ ความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียน ตัวแปรภายนอกแฝง 3 ตัวแปร ได้แก่ ปัจจัยด้านวิสัยทัศน์และยุทธศาสตร์ของโรงเรียน ปัจจัยด้านการบริหารจัดการภายใน และปัจจัยด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่สนับสนุนการเรียนรู้ โดยตัวแปรแฝงวัดจากตัวแปรสังเกตได้ทั้งหมด 19 ตัวแปร เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม ซึ่งมีความเที่ยงในการวัดตัวแปรสังเกตได้ แต่ละตัวตั้งแต่ 0.74-0.92 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงบรรยายการวิเคราะห์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สันและการวิเคราะห์โมเดลลิสเรล ผลการวิจัยสรุปผลได้ดังนี้ 1. โมเดลเชิงสาเหตุความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนประกอบด้วย ตัวแปรที่มีอิทธิพลทางตรงต่อความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ขององค์กรได้แก่ ปัจจัยด้านวัฒนธรรมองค์กร ตัวแปรที่มีอิทธิพลทางอ้อมต่อความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนได้แก่ ปัจจัยด้านวิสัยทัศน์และยุทธศาสตร์ของโรงเรียน และปัจจัยด้านทรัพยากรสารสนเทศที่สนับสนุนการเรียนรู้ ส่งอิทธิพลทางอ้อมผ่านปัจจัยด้านวัฒนธรรมองค์กร และตัวแปรที่มีอิทธิพลรวมตัวความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนรวมสูงสุดได้แก่ ปัจจัยด้านวัฒนธรรมองค์กร ปัจจัยด้านทรัพยากรและสารสนเทศที่สนับสนุนการเรียนรู้ ปัจจัยด้านการบริหารจัดการภายใน และปัจจัยด้านวิสัยทัศน์และยุทธศาสตร์ของโรงเรียน ตามลำดับ 2. โมเดลเชิงสาเหตุความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนโดยภาพรวมมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์โดยให้ค่าไค-สแควร์ = 48.14, p = 0.43 df = 47 GFI = 0.98 AGFI = 0.93 และ RMR = 0.012 ตัวแปรในโมเดลสามารถอธิบายความแปรปรวนความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ได้ร้อยละ 96 3. โมเดลเชิงสาเหตุความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนไม่มีความแปรเปลี่ยนของรูปแบบโมเดลระหว่างโรงเรียนขนาดเล็ก โรงเรียนขนาดกลาง และโรงเรียนขนาดใหญ่ โดยให้ค่าไค-สแควร์ = 256.03, p = 0.81 df = 277 GFI = 0.90 NFI = 0.98 RFI = 0.97 และ RMR = 0.013 และไม่มีความแปรเปลี่ยนของค่าพารามิเตอร์ของเทริกซ์อิทธิพลเชิงสาเหตุระหว่างตัวแปรภายในแฝง ค่าพารามิเตอร์ของเมริกซ์อิทธิพลเชิงสาเหตุจากตัวแปรภายนอกแฝงไปยังตัวแปรภายในแฝง และค่าพารามิเตอร์ของเมทริกซ์ความแปรปรวน-ความแปรปรวนร่วมระหว่างความคลาดเคลื่อนในการวัดตัวแปรภายในแฝง |
Other Abstract: | The purposes of this research were to develop the casual model of learning organization in basic education school, to examine the goodness of fit of the model to the empirical data, and to test invariance of the model of the learning organization in basic education school. The research responders were school directors and teachers. Variables consisted of two endogenous latent variables: learning organization and organizational culture and three exogenous latent variables: school's vision and strategies, internal management, and technology and information learning support. These latent variables were measured by 19 observed variables. Data were collected by questionnaires having reliability for each variable ranging from 0.74--0.92 and analyzed by using descriptive statistics, Person's product moment correlation and LISREL analysis. The major finding were as follows: 1) The causal model of learning organization in basic education school consisted of direct effect varivable: organizational culture as well as indirect effect variables: school's vision and stratigies, and technology and information learning support which intervened organizational culture. The highest total affecting variable was organizational culture. 2) The overview of the causal model of learning organization in basic education school was fitted with empirical data having Chi-square = 48.14, p = 0.43, df = 47, GFI = 0.98, AGFI = 0.93 and RMR = 0.012. The variables in the model accounted for 96% of learning organization in basic education school. 3) The causal model of learning organization in basic education school had invariance sizes of school, Chi-square = 256.03, p = 0.81, df = 277, GFI = 0.90, NFI = 0.98, RFI = 0.97, and RMR = 0.013 There was invariance of causal relationship matrics parameter between the internal latent variables, the parameter of causal relationship from the external latent variables to the internal latent variables and the variance-covariance matrics parameter between the error of measuring internal latent variables. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิจัยการศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/53045 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2007.996 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2007.996 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
nahathai_wa_front.pdf | 1.06 MB | Adobe PDF | View/Open | |
nahathai_wa_ch1.pdf | 1.02 MB | Adobe PDF | View/Open | |
nahathai_wa_ch2.pdf | 6.92 MB | Adobe PDF | View/Open | |
nahathai_wa_ch3.pdf | 1.4 MB | Adobe PDF | View/Open | |
nahathai_wa_ch4.pdf | 5.59 MB | Adobe PDF | View/Open | |
nahathai_wa_ch5.pdf | 1.26 MB | Adobe PDF | View/Open | |
nahathai_wa_back.pdf | 9.22 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.