Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/53090
Title: ระบบสนับสนุนการตัดสินใจบริเวณลุ่มน้ำบางปะกงเพื่อวาริชกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำแบบยั่งยืน
Other Titles: Decision support system for sustainable aquaculture in the Bang Pakong river basin
Authors: สมภพ รุ่งสุภา
Email: [email protected]
Advisors: เผดิมศักดิ์ จารยะพันธุ์
กัลยา วัฒยากร
ดุษฎี ชาญลิขิต
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: [email protected]
[email protected]
Subjects: ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ
การเพาะเลี้ยงในน้ำแบบยั่งยืน
ลุ่มน้ำบางปะกง
Sustainable aquaculture
Decision support systems
Watersheds, Bang Pakong
Issue Date: 2550
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ระบบสนับสนุนการตัดสินใจบริเวณลุ่มน้ำบางปะกงเพื่อวาริชกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำแบบยั่งยืน ประกอบด้วยระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ลุ่มน้ำบางปะกง สำหรับแสดงฐานข้อมูลกิจกรรมต่างๆ และคุณภาพน้ำ และ ตะกอนดิน แบบจำลองสำหรับทำนายคุณภาพน้ำ Qual2K และ โปรแกรม Analytical Hierarchy Process (AHP) สำหรับนำเข้าระดับความสำคัญหรือความชอบต่อเป้าหมาย เกณฑ์หลัก เกณฑ์รอง และ ทางเลือกต่างๆ เพื่อแก้ปัญหาที่ตั้งไว้ สร้างฐานข้อมูลในลักษณะแผนที่แสดงกิจกรรมต่างๆ เช่น ที่ตั้ง และ พื้นที่ชุมชน โรงงาน การปลูกข้าว รวมถึงแผนที่แสดงคุณภาพน้ำ และ ตะกอนดินในลุ่มน้ำบางปะกง รวมกับการปรับเทียบแบบจำลองสำหรับทำนายคุณภาพน้ำ Qual2K ให้สามารถทำนายการเปลี่ยนแปลงคุณภาพน้ำที่เกิดจากน้ำเสีย และ ลักษณะของน้ำเสียจากพื้นที่กิจกรรมต่างๆ ได้นำไปใช้ในกรณีศึกษาเพื่อแก้ปัญหาการตายของปลากะพงขาว (Lates calcarifer) ในช่วงปลายปี โดยการให้นักวิชาการประมงให้คะแนนความสำคัญสำหรับเกณฑ์ และ ทางเลือกต่างๆ ได้ผลว่าปัญหาหลักมาจากการปล่อยน้ำทิ้งจากคลองชลประทานขนาดใหญ่ (คลองพานทองขยาย) ที่อยู่ในระยะ 3 กิโลเมตรด้านเหนือน้ำจากบริเวณที่เลี้ยงปลากะพงขาวในกระชัง ผลจากการจำลองคุณภาพน้ำจากคลองชลประทานฯ ในช่วงน้ำมาก ที่อัตราการปล่อยน้ำ 100 ลูกบาศก์เมตร/วินาที และมีของเสียในรูปบีโอดี 200 มิลลิกรัม/ลิตร จะทำให้เกิดปริมาณแอมโมเนียสูงมาก ร่วมกับ ปริมาณออกซิเจนที่ลดลงจนเป็นศูนย์ อาจเป็นสาเหตุให้ปลากะพงขาวในกระชังบริเวณปากแม่น้ำบางปะกงตาย ทางเลือกในการจัดการที่สำคัญคือการประสานงานกับผู้รับผิดชอบในการปล่อยน้ำทิ้ง การปรับอัตราการทิ้งน้ำไม่เกิน100 ลูกบาศก์เมตร/วินาที ที่ปริมาณของเสียในรูปบีโอดี 20 มิลลิกรัม/ลิตร การบำบัดน้ำก่อนปล่อย การวางแผนการจัดการวิธีการเลี้ยง เช่น การขยายหรือย้ายพื้นที่การเลี้ยง และ การฟื้นฟูสภาพแวดล้อมแหล่งน้ำ เช่น การขุดลอกร่องน้ำเป็นต้น ระบบสนับสนุนการตัดสินใจฯนี้มีเป้าหมายสำหรับผู้ใช้คือนักวิชาการประมง และ นักวิชาการด้านการเพาะเลี้ยง
Other Abstract: A Decision Support System for sustainable aquaculture in the Bang Pakong River Basin consists of 3 components; the Bangpakong Water Shed GIS, Water Quality Modeling Qual2K and Analytical Hierarchy Process (AHP) input worksheet. The Bangpakong Water Shed GIS was generated to demonstrate activities, water quality map data and forecasted changed in water quality by the Qual2K. The AHP input worksheet was prepared for inputting goal, criteria, sub-criteria and alternatives in problem solving processes. A case on Mass mortality of Sea bass (Lates calcarifer) in cages around the end of the year was selected. AHP table was assigned by fisheries researchers and computed for weighing on preference level for each criteria and sub-criteria. Discharged waste from a large Irrigation cannel (Klong Parnthong Kayai) nearby show the most probable cause. After locating position and distanced from Bangpakong Watershed GIS, the Qual2K was simulated for waste input to Bangpakong River. The irrigation cannel opening was 3 kilometers upstream of the Sea bass cage area. The problem appeared in November which was coincided with high runoff. Simulations for Inflow at the rate of 100 m3/sec with BOD 200 mg/L caused high ammonium concentration and low dissolved oxygen around the cage culture area which resulted in mass mortality of the sea bass. Co-operations with the Department of Irrigation to regulate the flow rate not beyond100 m3/sec with BOD 20 mg/L was suggested as an alternative measure. Treatment of waste water before discharged, plan for moving the Sea bass cages to upstream location and dredging of the river bottom was also suggested. Target group for this was Fisheries researcher and Biologist.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550
Degree Name: วิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม (สหสาขาวิชา)
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/53090
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2007.547
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2007.547
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
sompop_ru_front.pdf1.52 MBAdobe PDFView/Open
sompop_ru_ch1.pdf736.02 kBAdobe PDFView/Open
sompop_ru_ch2.pdf4.45 MBAdobe PDFView/Open
sompop_ru_ch3.pdf1.33 MBAdobe PDFView/Open
sompop_ru_ch4.pdf5.69 MBAdobe PDFView/Open
sompop_ru_ch5.pdf1.25 MBAdobe PDFView/Open
sompop_ru_back.pdf10.17 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.