Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/53223
Title: | การผลิตก๊าซไฮโดรเจนชีวภาพจากน้ำเสียประเภทต่างๆ |
Other Titles: | Biohydrogen production from different types of wastewater |
Authors: | พิพัฒน์ พรอำนวย |
Advisors: | อรทัย ชวาลภาฤทธิ์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected] |
Subjects: | ไฮโดรเจน -- การผลิต เชื้อเพลิงไฮโดรเจน น้ำเสีย -- การบำบัด -- วิธีแบบไร้ออกซิเจน น้ำเสีย -- การบำบัด -- วิธีทางชีวภาพ Hydrogen Hydrogen as fuel Sewage -- Purification -- Anaerobic treatment Sewage -- Purification -- Biological treatment |
Issue Date: | 2551 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการผลิตก๊าซไฮโดรเจนชีวภาพจากน้ำเสียประเภทต่างๆ เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาศักยภาพในการบำบัดน้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรมเพื่อผลิตไฮโดรเจนชีวภาพเพื่อใช้เป็นพลังงานทดแทน โดยทำการวิจัยเป็นการทดลองแบบทีละเทภายใต้สภาวะไร้อากาศ โดยใช้น้ำเสียจริง 3 ประเภทได้แก่ น้ำเสียไบโอดีเซล น้ำเสียแป้งมัน และน้ำเสียปลากระป๋อง ปรับเปลี่ยนค่าพีเอชของระบบเป็น 3 ค่าคือ 5 6 และ 6.5 นอกจากนี้ยังศึกษาถึงปัจจัยของหัวเชื้อจุลชีพที่ผ่านความร้อนที่ 100 องศาเซลเซียส และเปรียบเทียบกับหัวเชื้อที่ควบคุมพีเอชอย่างเดียว สำหรับการทดลองน้ำเสียไบโอดีเซลโดยปรับเปลี่ยนค่าพีเอช 3 ค่า สรุปได้ว่าที่พีเอช 6 นั้นเหมาะสมที่สุด เนื่องจากให้ค่าอัตราการผลิตก๊าซไฮโดรเจนสูงสุดเท่ากับ 235 มล./กรัมซีโอดีที่ถูกกำจัด และมีประสิทธิภาพการกำจัดซีโอดีสูงที่สุดร้อยละ 91 ส่วนการทดลองน้ำเสียแป้งมัน สรุปได้ว่าที่พีเอช 6 นั้นเหมาะสมที่สุด เนื่องจากให้ค่าอัตราการผลิตก๊าซไฮโดรเจนสูงสุดเท่ากับ 231 มล./กรัมซีโอดีที่ถูกกำจัด และมีประสิทธิภาพการกำจัดซีโอดีสูงที่สุดร้อยละ 46 ในขณะที่น้ำเสียปลากระป๋องพบว่าที่พีเอช 6.5 นั้นเหมาะสมที่สุด เนื่องจากให้ค่าอัตราการผลิตก๊าซไฮโดรเจนสูงสุดเท่ากับ 121 มล./กรัมซีโอดีที่ถูกกำจัด และมีประสิทธิภาพการกำจัดซีโอดีสูงที่สุดร้อยละ 96.5 จากผลการทดลองของหัวเชื้อจุลชีพที่ผ่านความร้อน พบว่าชุดทดลองน้ำเสียไบโอดีเซลได้ก๊าซไฮโดรเจนปริมาณสูงร้อยละ 58 ของปริมาณก๊าซทั้งหมดซึ่งสูงกว่าการปรับพีเอชเพียงอย่างเดียว ส่วนอัตราการผลิตก๊าซไฮโดรเจนจากการใช้หัวเชื้อต้มมีค่า 84 มล./กรัมซีโอดีที่ถูกกำจัดสำหรับผลการทดลองของหัวเชื้อจุลชีพที่ผ่านความร้อน ชุดทดลองน้ำเสียแป้งมันได้ก๊าซไฮโดรเจนปริมาณสูงร้อยละ 70 ของปริมาณก๊าซทั้งหมดซึ่งสูงกว่าการปรับพีเอชเพียงอย่างเดียว ส่วนอัตราการผลิตก๊าซไฮโดรเจนจากการใช้หัวเชื้อต้มมีค่า 13 มล./กรัมซีโอดีที่ถูกจำกัด ส่วนชุดทดลองน้ำเสียปลากระป๋องของหัวเชื้อจุลชีพที่ผ่านความร้อน พบว่าได้ก๊าซไฮโดรเจนปริมาณสูง ร้อยละ 74.8 ของปริมาณก๊าซทั้งหมดซึ่งใกล้เคียงกับการปรับพีเอชเพียงอย่างเดียว ส่วนอัตราการผลิตก๊าซไฮโดรเจนจากการใช้หัวเชื้อต้มมีค่า 113 มล./กรัมซีโอดีที่ถูกกำจัด เมื่อพิจารณาอัตราการเกิดก๊าซไฮโดรเจนของน้ำเสียทั้ง 3 ชนิด พบว่าน้ำเสียไบโอดีเซล มีค่าสูงสุด สำหรับแบบที่ไม่ผ่านการต้ม เท่ากับ 235 มล./กรัมซีโอดีที่ถูกกำจัด ตามลำดับ ส่วนชุดการทดลองที่หัวเชื้อจุลชีพผ่านการต้ม พบว่าชุดน้ำเสียปลากระป๋องมีอัตราการผลิตก๊าซไฮโดรเจนได้สูงสุดเท่ากับ 113 มล./กรัมซีโอดีที่ถูกกำจัด |
Other Abstract: | This research aim to study the biohydrogen production from the different types of wastewater in order to improve capability of industrial wastewater for recovery energy from waste. A lab-bench scale anaerobic continuous stirred-tank reactors were used to study the effect of initial pH and initial seed preparation. Three difference types of wastewater namely: Biodiesel, Tapioca Strach and Canned Fish were used as substrates. Two anaerobic sludge used were treated with heat and acid to select for biohydrogen-producing community. Wastewater pH was varied at 5, 6 and 6.5 and maintained constantly during experiment. Result from using acid treated anaerobic sludge as inoculum showed high hydrogen production yield for biodiesel wastewater, 235 ml H[subscript 2]/g COD removed were found at pH 6 and 91% COD removed efficiency. Tapioca Strach wastewater yielded 231 ml H[subscript 2]/g COD removed at pH 6 and 46% COD removed efficiency while Canned Fish wastewater yielded 121 ml H[subscript 2]/g COD removed were attained at pH 6.5 and 96.5% COD removed efficiency. For heat-treated anaerobic sludge as inoculum, biodiesel wastewater showed highest H[subscript 2] production rate (58 % hydrogen yield). Compared to acid treated sludge as inoculum, heat-treated anaerobic sludge showed higher H[subscript 2] composition in total biogas production. This showed high hydrogen production yield for biodiesel wastewater, 84 ml H[subscript 2]/g COD removed. For heat-treated anaerobic sludge as inoculum, tapioca strach wastewater showed highest H[subscript 2] production rate (70% hydrogen yield) and yielded 13 ml H[subscript 2]/g COD removed. And heat-treated anaerobic sludge as inoculum, canned fish wastewater showed highest H[subscritp 2] production rate (74.8% hydrogen yield) and yielded 113 ml H[subscript 2]/g COD removed. For the optimum types of wastewater; acid treated anaerobic sludge as inoculum showed highest hydrogen production yield for biodiesel wastewater, 235 mo H[subscript 2]/g COD removed and heat-treated anaerobic sludge as inoculum showed highest hydrogen production yield for canned fish 113ml H[subscript 2]/g COD removed. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551 |
Degree Name: | วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/53223 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.1227 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2008.1227 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Eng - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
pipat_po_front.pdf | 1.45 MB | Adobe PDF | View/Open | |
pipat_po_ch1.pdf | 403.06 kB | Adobe PDF | View/Open | |
pipat_po_ch2.pdf | 3.02 MB | Adobe PDF | View/Open | |
pipat_po_ch3.pdf | 1.21 MB | Adobe PDF | View/Open | |
pipat_po_ch4.pdf | 8.51 MB | Adobe PDF | View/Open | |
pipat_po_ch5.pdf | 387.72 kB | Adobe PDF | View/Open | |
pipat_po_back.pdf | 5.37 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.