Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/53483
Title: | ศิลาวรรณนาและศิลาเคมีของหินบะซอลล์บริเวณบ้านดอนเงิน หลวงพระบาง ประเทศลาว |
Other Titles: | Petrography and geochemistry of basalt in Ban Don Ngeun, Loung Phrabang, Lao PDR |
Authors: | ศุภชัย ชูสวัสดิ์ |
Advisors: | ปัญญา จารุศิริ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected] |
Subjects: | ศิลาวิทยา ศิลาวิทยา -- ลาว ศิลาวิทยา -- ลาว -- หลวงพระบาง ธรณีเคมี ธรณีเคมี -- ลาว ธรณีเคมี -- ลาว -- หลวงพระบาง หินบะซอลท์ หินบะซอลท์ -- ลาว หินบะซอลท์ -- ลาว -- หลวงพระบาง Petrology Petrology -- Laos Petrology -- Laos -- Luang Prabang Geochemistry Geochemistry -- Laos Geochemistry -- Laos -- Luang Prabang Basalt Basalt -- Laos Basalt -- Laos -- Luang Prabang |
Issue Date: | 2552 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | หินบะซอลต์ที่แผ่ปกคลุมในพื้นที่บ้านดอนเงินซึ่งอยู่ทางตอนเหนือของจังหวัดหลวงพระบาง ได้ถูกศึกษาเนื่องจากพบหินโผล่กระจัดกระจายตามเส้นทางถนนหมายเลข13 เป็นระยะทางประมาณ 12 ตารางกิโลเมตรจากบริเวณบ้านห้วยขางไปจนถึงบ้านดอนเงิน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อมุ่งเน้นการ บรรยายศิลาวรรณนา การวิเคราะห์ธรณีเคมี และการเปรียบเทียบกับหินบะซอลต์ในบริเวณแนวตะเข็บ ธรณีน่านและแนวหินอัคนีภูเขาไฟเลย-เพชรบูรณ์ หินบะซอลต์บ้านดอนเงินเกิดร่วมกับหินปูนยุคเพอร์โมคาร์บอนิเฟอรัส จึงได้ศึกษาภาคสนาม และจำแนกหินบะซอลต์ออกเป็น 2 ชนิดตามลักษณะโครงสร้างหินภูเขาไฟ ชนิดแรกเป็นบะซอลต์มวล หนา(massive basalt) และชนิดที่สองเป็นบะซอลต์ที่ปรากฏโครงสร้างรูปหมอน (pillow basalt) ซึ่งทำ ให้คาดคิดว่าหินบะซอลต์นี้เกิดแข็งตัวในสภาวะแวดล้อมใต้น้ำหินที่สดจำนวน 18 ตัวอย่างถูกคัดสรร เพื่อนำมาทำการศึกษาทางศิลาวรรณนาและธรณีเคมี จากการศึกษาศิลาวรรณนาพบว่าหินบะซอลต์ในที่ศึกษาเป็นหิน olivine porphyric basalt ที่ มีแร่องค์ประกอบหลักคือแร่ pyroxene olivine และ Ca-plagioclase เป็น phenocryst และมีเนื้อหิน เป็นพวก trachytic, porphyritic, glomeroporphyritic และ subophitic โดยมีเนื้อพื้นเป็นแร่ Caplagioclase, clinopyroxene และ volcanic glass จากการศึกษาธรณีเคมีโดยวิธี X-ray Fluorescence Spectrometer (XRF) พบว่าออกไซด์ ธาตุหลักและธาตุพบน้อยของหินบะซอลต์ส่วนใหญ่อยู่ในช่วงที่กำหนดให้เป็น tholeiite basalt โดยมี K2O 0.15 – 1.33 wt%, Na2O 1.65 – 3.53 wt%, TiO2 1.06 – 1.74 wt% และ Zr 27.10-173.74 ในแง่ธรณีแปรสัณฐานจากการศึกษาศิลาเคมีของหินในพื้นที่พบมีความใกล้เคียงกับหินบะซอลต์ที่เกิดในลักษณะสันเขากลางสมุทร(MORB) ที่พบทางตอนเหนือของประเทศอัลเบเนีย นอก จาก นี้อัตราส่วนของ Ti/Vอยู่ระหว่าง 20-50 ซึ่งแสดงถึงการเกิดของหินแบบ oceanic flood basalt อีกทั้ง ธรณีเคมีของหินบะซอลต์นี้เมื่อเปรียบเทียบกับหินอัคนีภูเขาไฟบริเวณอื่น พบว่าหินบะซอลต์บริเวณ บ้านดอนเงินส่วนใหญ่เป็นหิน tholeiite basalt ที่เกิดในสภาพการแปรสัณฐานคล้ายกับสันเขากลาง สมุทร และจากการศึกษาธรณีเคมีทำให้ทราบว่าแตกต่างจากหินบะซอลต์ในบริเวณแนวตะเข็บธรณี น่าน แต่จะมีลักษณะใกล้เคียงกับหินบะซอลต์บริเวณบ้านหาดงา ทางเหนือของหลวงพระบาง และแนวหินอัคนีภูเขาไฟเลย-เพชรบูรณ์ บริเวณพื้นที่ทางตอนใต้ของจังหวัดเลย |
Other Abstract: | Basalt is spread in Ban Don Ngeun where located in north of Loung PhrabangWe found basaltic outcrops along highway number 13 from Ban Houykang to Ban Don Ngeun. Objectives of this study are petrography description, geoc olcanic rocks and Loei-Petchabun volcanic rocks. Ban Don Ngeun basalt occurred with permo-carborniferous limestone. Accorrding to field geology, basalt can be separate into 2 types; massive basalt and pillow basaltshow pillow structure and indicate the marine environtment. of basalt to study petrography and geochemistry. From petrography study, the olivine porphyritic basalt has dominant mineral such as pyroxene olivine and Ca-plagioclase in phenocryst and show distinguish igneous texture are porphyritic glomeroporphyritic, subophit lase, clinopyroxene and volcanic glass Chemically analysis from X-ray Fluorescence Spectrometer (XRF), Ban Don Ngeun basalt is Tholeiite Basalt and has % Zr 27.10-173.74 ppm . From tectonics setting interpretation, Ban Don Ngeun basalt is tholeiite basalt thaoccurred in mid-oceanic ridge environment and also similar to that of mid-coeanic ridge basalt in northern Albania. Ti/V ratio is 20-50 and that show Ban Don Ngeun basalt is flood oceanic basalt. The Ban Don Ngeun basalt relate with Ban Had Nga, Loung Phrabang anLoei-Phetch from Nan |
Description: | โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาธรณีวิทยา .... คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2552 |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/53483 |
Type: | Senior Project |
Appears in Collections: | Sci - Senior Projects |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Suppachai_full report.pdf | 3.52 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.