Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5390
Title: การพัฒนารูปแบบความร่วมมือระหว่างสถาบันการเงินภาคธนาคารกับมหาวิทยาลัยของรัฐในการจัดหลักสูตรการศึกษาทางไกลเพื่อพัฒนาพนักงาน
Other Titles: Developing a model of co-operation between financial institutions and public universities in a distant learning program for staff development
Authors: สุธีรา ตังสวานิช
Advisors: สุชาติ ตันธนะเดชา
ชาติชาย ศรีรัศมี
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: [email protected]
[email protected]
Subjects: การศึกษาทางไกล
การวางแผนหลักสูตร
การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
การพัฒนาบุคลากร
สถาบันการเงิน
ธนาคารและการธนาคาร
สถาบันอุดมศึกษา
Issue Date: 2547
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพ ปัญหา ความพร้อม และความต้องการในการศึกษาทางไกลของพนักงานสถาบันการเงินภาคธนาคาร 2) พัฒนารูปแบบความร่วมมือระหว่างสถาบันการเงินภาคธนาคารกับมหาวิทยาลัยของรัฐในการจัดหลักสูตรการศึกษาทางไกลเพื่อพัฒนาพนักงาน 3) พัฒนาหลักสูตรการศึกษาทางไกลเพื่อพัฒนาพนักงานตามแนวคิดองค์กรในอนาคต 4) ประเมินรูปแบบความร่วมมือ ระหว่างสถาบันการเงินภาคธนาคารกับมหาวิทยาลัยของรัฐในการจัดหลักสูตรการศึกษาทางไกลเพื่อพัฒนาพนักงาน กลุ่มตัวอย่างจำนวน 504 คน คือ ผู้บริหารระดับสูง กลาง และระดับปฏิบัติงาน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม แบบประเมินรูปแบบความร่วมมือ แบบประเมินบทเรียนด้านการออกแบบบทเรียนและเนื้อหา วิธีดำเนินการวิจัยคือ 1) ศึกษาสภาพ ปัญหา ความพร้อม และความต้องการในการศึกษาทางไกล โดยส่งแบบสอบถามไปยังกลุ่มตัวอย่าง 2) ศึกษา/วิเคราะห์เอกสารทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับแนวคิดองค์กรในอนาคตของ Mitroff, Mason and Pearson (1994) ทฤษฎีและแนวคิดกระบวนการสร้างพัฒนาหลักสูตร รูปแบบและวิธีการเรียนการสอนทางไกลเพื่อให้ได้มาซึ่งหลักการ M-ALERT เพื่อเป็นแนวคิดในการพิจารณาจัดรูปแบบความร่วมมือระหว่างสถาบันการเงินภาคธนาคารกับมหาวิทยาลัยของรัฐในการจัดหลักสูตรการศึกษาทางไกล โดยการสังเคราะห์เอกสาร 3) พัฒนาหลักสูตรการศึกษาทางไกลจำนวน 6 รายวิชา 4) พัฒนาเนื้อหารายวิชาแนวคิดเกี่ยวกับโลกาภิวัตน์ (Globalism) เป็นบทเรียนทางอินเทอร์เน็ต 5) ตรวจสอบและประเมินบทเรียนทางอินเทอร์เน็ตรายวิชาแนวคิดเกี่ยวกับโลกาภิวัตน์ (Globalism) โดยผู้เชี่ยวชาญ 6) ทดลองเรียนทางไกล โดยพนักงานธนาคารกรุงเทพ จำกัด สาขาในเขตจังหวัดชลบุรี จำนวน 20 คน 7) ตรวจสอบและประเมินรูปแบบความร่วมมือ โดยผู้ทรงคุณวุฒิ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) สถาบันการเงินภาคธนาคารยังไม่ได้จัดการเรียนการสอนทางไกลอย่างเต็มรูปแบบ 2) ปัญหาและความต้องการ คือ ขาดหลักสูตรที่เน้นความรู้เรื่องที่สอดคล้องกับโลกสมัยใหม่ และมีความต้องการความรู้ดังกล่าว 3) ความพร้อม ได้แก่ พนักงานสามารถเลือกเวลาเรียนเวลาใดก็ได้ ด้วยตนเอง (Self-study) 4) รูปแบบความร่วมมือในการจัดหลักสูตรการศึกษาทางไกล จำนวน 3 รูปแบบ ได้แก่ การว่าจ้าง (Outsourcing) การเลือกใช้บริการ (Shopping) การร่วมลงทุนพัฒนา (Matching) 5) พัฒนาหลักสูตรการศึกษาทางไกล 6 รายวิชาและพัฒนาสาระวิชา Globalism 1 สาระวิชาเป็นตัวอย่างในการพัฒนาเป็นหลักสูตรการศึกษาทางไกลที่ครบวงจร 6) พัฒนาเนื้อหาวิชา Globalism เป็นบทเรียนทางอินเทอร์เน็ต โดยใช้โปรแกรม Blackboard 7) ผลการทดลองเรียนเนื้อหารายวิชา Globalism พบว่าการเรียนให้ความยืดหยุ่นกับผู้เรียน สบายใจ ตรงตามวัตถุประสงค์ นำความรู้มาใช้ประโยชน์กับการทำงานได้โดยตรงมีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนกับผู้สอนได้ดี สามารถค้นคว้าเพิ่มเติม เรียนก่อน หลังเวลางานได้อย่างสะดวก ซึ่งเป็นการเน้นการเรียนแบบนำตนเอง (Self-Directed Learning)
Other Abstract: The purposes of this study were to: 1) investigate the condition, problems, readiness, and needs of distance learning of banking employees; 2) to develop a model of co-operation between financial institutions and public universities in designing a distance learning program for staff development; 3) to develop a distance learning program for staff development based on the concept of future organization; and 4) to evaluate a model of co-operation between financial institutions and public universities in designing a distance learning program for staff development. The sample consisted of 504 executives, middle-management employees, and employees of financial institutions, and the instruments used in data collection were a questionnaire and an assessment form of the lessons regarding lesson planning and contents, and an assessment of types and patterns of cooperation. Data collection was conducted in the following steps: 1) studying the condition, problems, readiness, and needs of distance learning of banking employees by sending the questionnaire to the sample; 2) analyzing documents and theories related to the concept of future organization of Mitroff, Mason & Pearson (1994), as well as synthesizing theories and conceptions regarding distance learning curriculum development to arrive at the M-Alert principle to be used as a concept in considering design of cooperation among educational institutes 3) developing six subjects of the distance learning program; 4) developing a globalism subject as an Internet lesson; 5) examining and evaluating each Internet subject by experts; 6) experimenting with distance learning using 20 employees of Bangkok Bank Public Company Limited, Chonburi Branch; and 7) examining and evaluating the co-operation model by experts. The findings of the study led to the following conclusions: 1) the financial institutions had not organized and utilized a full-fledge distance learning; 2) as for the problems and needs, there was a lack of a curriculum with an emphasis on modern knowledge and there was a need for such knowledge; 3) the readiness meant that employees had flexibility to choose their learning time (self-study); 4) there were three co-operation models for distance learning which were Outsourcing, Shopping, and Matching; 5) six subjects of the distance learning program had been developed and the content of the Globalism 1 course was developed as a guideline in developing a full-fledged long distance curriculum; 6) the Globalism subject was developed into an Internet lesson using the Blackboard Program; and 7) the result of the experiment with the Globalism subject revealed that the learning was flexible for the students, making them satisfied, that the subject suited the objectives, that the students could directly apply what they had learned in their line of work, that the students had interaction with the teachers and fellow students, and that students were able to conveniently further their studies before or after work with self-directed learning
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547
Degree Name: ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: อุดมศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5390
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2004.897
ISBN: 9741770928
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2004.897
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sutheera.pdf7.86 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.