Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5468
Title: | การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบนำตนเองวิชาวิทยาศาสตร์ระดับปริญญาตรี เพื่อให้ผู้เรียนสามารถสรรค์สร้างความรู้ทางวิทยาศาสตร์ |
Other Titles: | The development of self-directed learning model in undergraduate science courses for enhancing students to construct science knowledge |
Authors: | อิศริยา ทองงาม |
Advisors: | ธิดารัตน์ บุญนุช ปทีป เมธาคุณวุฒิ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
Advisor's Email: | ไม่มีข้อมูล [email protected] |
Subjects: | วิทยาศาสตร์ -- การศึกษาและการสอน (อุดมศึกษา) การเรียนรู้ด้วยการนำตนเอง |
Issue Date: | 2545 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | พัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบนำตนเองวิชาวิทยาศาสตร์ระดับปริญญาตรี เพื่อให้ผู้เรียนสามารถสรรค์สร้างความรู้ทางวิทยาศาสตร์ และเปรียบเทียบผลการสอนนักศึกษาระหว่าง กลุ่มที่เรียนตามรูปแบบการเรียนการสอนกับกลุ่มที่เรียนตามวิธีปกติ การดำเนินการวิจัย มี 2 ขั้นตอนคือ ตอนที่ 1 พัฒนารูปแบบการเรียนการสอน ประกอบด้วยการศึกษาเอกสารจากแหล่งข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนการสอนในระดับอุดมศึกษา สร้างรูปแบบการเรียนการสอน ตรวจสอบรูปแบบการเรียนการสอนโดยผู้ทรงคุณวุฒิ ตอนที่ 2 ประเมินรูปแบบการเรียนการสอน โดยการนำรูปแบบการเรียนการสอนไปทดลองใช้จริงกับกลุ่มตัวอย่าง ที่เป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 2 คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการประมง สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล จังหวัดตรัง ปีการศึกษา 2544 ภาคเรียนที่ 2 จำนวน 60 คน ทำการสุ่มโดยวิธีการจับคู่เข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม โดยทั้ง 2 กลุ่ม มีค่าเฉลี่ยคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่แตกต่างกัน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติทดสอบที (t test) นำข้อมูลที่ได้มาใช้ในการ ปรับปรุงรูปแบบการเรียนการสอน ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย หลักการ วัตถุประสงค์ มโนทัศน์เนื้อหา กระบวนการเรียนการสอนและการประเมินผล รูปแบบการเรียนการสอนเน้นการจัดการเรียนการสอนแบบนำตนเอง โดยกระบวนการเรียนการสอนประกอบด้วย 3 ขั้นตอนคือ ขั้นตอนการเตรียม เป็นการเตรียมผู้เรียนให้มีความพร้อมก่อนเข้าสู่การเรียนการสอน ขั้นตอนการเรียน เป็นการดำเนินกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยตนเองและการเรียนเป็นกลุ่ม ผู้เรียนใช้ทักษะการเรียนคือ เทคนิคแผนที่จิตทัศน์และแผนที่มโนทัศน์เป็นยุทธศาสตร์การเรียน และจัดทำผลงานการเรียนรู้เก็บรวบรวมในแฟ้มสะสมผลงาน และขั้นตอนการประเมินเป็นการให้ผู้เรียน เสนอผลงานจากการปฏิบัติกิจกรรมการเรียนรู้ และประเมินผลโดยใช้การประเมินตามสภาพจริง โดยผู้สอนประเมินผลงานการเรียนรู้ในแฟ้มสะสมผลงานและผู้เรียนประเมินตนเอง ในการเรียนตามรูปแบบการเรียนการสอน ผู้เรียนต้องจัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์ เพื่อแสดงความสามารถในการประยุกต์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ผลการเปรียบเทียบความสามารถของนักศึกษาพบว่า นักศึกษากลุ่มทดลองมีลักษณะการเรียนแบบนำตนเอง ความสามารถสรรค์สร้างความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ในด้านการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง การทำงานอย่างเป็นระบบ การปฏิบัติการทดลองทางวิทยาศาสตร์ การประมวลความรู้ และการประยุกต์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการประเมินตามสภาพจริง พบว่านักศึกษากลุ่มทดลองมีการประเมินตนเอง ที่แสดงให้เห็นถึงความสามารถด้านการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ทำงานอย่างมีระบบ และการปฏิบัติการทดลองทางวิทยาศาสตร์เพิ่มมากขึ้นจากการประเมินตนเอง 3 ครั้ง ซึ่งสอดคล้องกับการประเมินโดยผู้สอน ในการประเมินผลงานการเรียนรู้ในแฟ้มสะสมงาน |
Other Abstract: | To develop a self-directed learning model for courses in science at the undergraduate level, to enable students to construct a science knowledge, and to compare learning outcomes of both groups of students. One is treated by the developed model, while the other is treated by the conventional one. The research procedure was divided into 2 stages. The first stage was to construct a teaching and learning model. It was done by searching and collecting all relevant data from various sources, creating the model, and consulting with the experts. The next stage was the assessment of this teaching and learning model. The model was experimented with 60 second year students at the Faculty of Sciences and Fisheries Technology, Rajamangala Institute of Technology, Trang in academic year 2001. The experimental and the controlled group were classified by pair sampling. There was no significant difference in the grade point average between those two groups. The datas were analyzed by using t-test. The self-directed learning model was consisted of 5 parts : principles, objectives, contents, teaching and learning process and evaluation. The first stage was aimed at preparing students' readiness. The second stage were composed of the mind mapping and concept mapping techniques which were used for developing students' learning skills both by themselves and in groups. This stage included students' learning projects which were collected in portfolio. The last stage was evaluation which emphasized authentic assessment and was done by both instructor and students. In addition, students will have to do a science project to illustrate their ability to apply science knowledge. The research findings showed that in comparison with the controlled group, the experimental group have a higher of grade point average and scores at .05 level of statistically significance in the following tests : self-directed learning readiness, self-learning skill, systematic working process, performance skills in science laboratory, knowledge integration, knowledge application and academic achievement. According to the authentic assessment, the findings showed that self-learning skill, systematic working process, and performance skill in science laboratory of experimental group were improved after the third evaluations, done by both instructor and students. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545 |
Degree Name: | ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาเอก |
Degree Discipline: | อุดมศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5468 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2002.758 |
ISBN: | 9741717288 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2002.758 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
idsariya.pdf | 7.64 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.