Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/54837
Title: | มิติศักดิ์สิทธิ์ในสถาปัตยกรรมทางศาสนา: กรณีศึกษาวัดคาทอลิกที่มีลักษณะของการนำความเชื่อเข้าสู่วัฒนธรรมในประเทศไทย |
Other Titles: | SACRED DIMENSION IN RELIGIOUS ARCHITECTURE: A CASE STUDY OF INCULTURATED CATHOLIC CHURCH IN THAILAND |
Authors: | กิตติธัช ชัยประสิทธิ์ |
Advisors: | ปิ่นรัชฎ์ กาญจนัษฐิติ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected],[email protected] |
Subjects: | สถาปัตยกรรมกับศาสนา Architecture and religion |
Issue Date: | 2559 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การศึกษาเพื่อทำความเข้าใจ มิติศักดิ์สิทธิ์ที่ปรากฏในสถาปัตยกรรมทางศาสนา โดยเริ่มต้นศึกษาจากนิยาม ความหมาย และองค์ประกอบของความศักดิ์สิทธิ์ ก่อนจะนำไปสู่ระเบียบวิธีการศึกษาที่ประกอบด้วย 1.ความหมายของการดำรงอยู่ของจักรวาลและมนุษย์ในจักรวาลที่ถูกเผยแสดงผ่านระบบสัญลักษณ์ในตำนานระดับต้นแบบ (Archetype) ซึ่งเป็นที่มาของการเกิดมิติศักดิ์สิทธิ์ 2.ความศักดิ์สิทธิ์ในฐานะองค์ประกอบด้านอารมณ์ความรู้สึกที่นำไปสู่สุนทรียภาพในเชิงศิลปะ-สถาปัตยกรรม 3.ระเบียบวิธีการศึกษาสถาปัตยกรรมทางศาสนา ผ่านมุมมองเชิงปรากฏการณ์ศาสตร์ ซึ่งจะช่วยทำให้เห็นถึงการเกิดขึ้นของมิติศักดิ์สิทธิ์ผ่านองค์ประกอบ 3 ประการอันได้แก่ จุดศูนย์กลางแห่งความศักดิ์สิทธิ์ เส้นทางแห่งความศักดิ์สิทธิ์ ปริมณฑลและจุดแบ่งแยกพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ ก่อนที่สุดท้ายจะสร้างเป็น "ทฤษฎีการเปลี่ยนสภาวะจิตเข้าสู่ความศักดิ์สิทธิ์" (Theory of Spiritual Transformation toward Sacredness) และนำทฤษฎีดังกล่าวมาวิเคราะห์กรณีศึกษาวัดคาทอลิกที่มีลักษณะการนำความเชื่อเข้าสู่วัฒนธรรมในประเทศไทย ซึ่งแสดงให้เห็นถึง ความเป็นบริบทของท้องถิ่น ที่เข้ามาช่วยสร้างรูปทรงทางกายภาพที่มีอัตลักษณ์เฉพาะตัวในแต่ละกรณีศึกษา จนนำไปสู่ข้อสรุปที่ว่าการศึกษามิติศักดิ์สิทธิ์ในสถาปัตยกรรมทางศาสนา ควรจะต้องวิเคราะห์ผ่านการทฤษฎีการเปลี่ยนสภาวะจิต และการสร้างรูปของความเป็นบริบทท้องถิ่น ซึ่งช่วยแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบสถาปัตยกรรมและการเกิดขึ้นของมิติศักดิ์สิทธิ์ (ที่มีสภาวะเป็นนามธรรม) ได้อย่างชัดเจนและมีระบบระเบียบ และน่าจะเป็นประโยชน์ต่อการศึกษา วิจัย ออกแบบ ปรับปรุง สถาปัตยกรรมทางศาสนาต่อไปในภายภาคหน้า |
Other Abstract: | Study for comprehension of sacred dimension in religious architecture, beginning from exploring definitions, meanings, and elements of sacredness, to the summarization of research methodology comprising: 1.Meaning of existence of universe and human that manifests through symbolism in myth on archetypal level, which is the origin of sacred dimension. 2.Sacredness as part of sentimental elements, which leads to art and architectural aesthetics. 3.Research methodology for study of religious architecture through phenomenology, which enables comprehension and perception of the emergence of sacred dimension via 3 elements namely, sacred center, sacred path, sacred boundary and threshold. Finally, the research has led to the creation of Theory of Spiritual Transformation toward Sacredness, which was used for analyzing the Inculturated Catholic churches in Thailand, of which local context helped shape their physical features, resulted in distinguished identity of each case study. This research has led to conclusion that the study of sacred dimension in religious architecture should base its analysis on Theory of Spiritual Transformation, and the contextuality, which clearly and systematically reflect the relationship between architectural elements and emergence of sacred dimension (in intangible state). This theory should be useful for the study, research, design, and improvement of religious architecture in the future. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (สถ.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559 |
Degree Name: | สถาปัตยกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาเอก |
Degree Discipline: | สถาปัตยกรรม |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/54837 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.1173 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.THE.2016.1173 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Arch - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5374406025.pdf | 28.95 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.