Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/54888
Title: การพัฒนากระบวนการเรียนการสอนตามเเนวคิดการสร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์เเละเเนวคิดการเสริมต่อการเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการเเก้ปัญหาเเละการใช้ตัวเเทนทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น
Other Titles: DEVELOPMENT OF AN INSTRUCTIONAL PROCESS ฺBASED ON MATHEMATICALMODELING AND SCAFFOLDING APPROACHES TO ENHANCE MATHEMATICALPROBLEM SOLVING AND REPRESENTATION ABILITIES OFLOWER SECONDARY SCHOOL STUDENTS
Authors: กุลนิดา ปลื้มปิติวิริยะเวช
Advisors: อัมพร ม้าคนอง
ไพโรจน์ น่วมนุ่ม
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: [email protected],[email protected]
[email protected]
Issue Date: 2559
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนาที่มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ คือ 1) เพื่อพัฒนากระบวนการเรียนการสอนตามแนวคิดการสร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์และแนวคิดการเสริมต่อการเรียนรู้ 2)เพื่อศึกษาคุณภาพกระบวนการเรียนการสอนตามแนวคิดการสร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์และแนวคิดการเสริมต่อการเรียนรู้ โดยพิจารณาจากการเปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาและการใช้ตัวแทนทางคณิตศาสตร์หลังเรียนของกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม และศึกษาพัฒนาการความสามารถในการแก้ปัญหาและการใช้ตัวแทนทางคณิตศาสตร์ของกลุ่มทดลอง กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย เป็นนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายมัธยม ปีการศึกษา 2559 จำนวน 64 คน ใช้เวลาในการทดลอง 24 คาบ เป็นระยะเวลา 12 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 2 ชุด ได้แก่ แบบทดสอบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ และแบบทดสอบวัดความสามารถในการใช้ตัวแทนทางคณิตศาสตร์ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าเฉลี่ยเลขคณิต (Arithmetic mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน(s.d.) เเละการทดสอบที (t-test) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. กระบวนการเรียนการสอนตามแนวคิดการสร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์และแนวคิดการเสริมต่อการเรียนรู้ มีหลักการสำคัญ 5 หลักการ คือ 1). หลักการใช้ปัญหาเสมือนโลกแห่งความจริงและการเข้าใจปัญหา 2). หลักการกำหนดเป้าหมายและการแปลงจากสถานการณ์ในโลกแห่งความจริง (Real world) ไปยังโลกแห่งความคิด (Conceptual world) 3). หลักการดำเนินการตามแบบจำลองคณิตศาสตร์ 4). หลักการทบทวนความคิด และ5). หลักการประยุกต์ใช้การแก้ปัญหาที่หลากหลาย ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน คือ 1).การนำเสนอปัญหาเพื่อสร้างความสนใจ 2). การกำหนดเป้าหมายเเละการสร้างแบบจำลอง 3). การดำเนินการเเก้ปัญหาเเละอ้างอิงผลลัพธ์สู่บริบทในโลกแห่งความจริง 4). การประเมินแบบจำลองเเละการตรวจสอบความถูกต้องของแบบจำลอง 5). การขยายความคิดสู่สถานการณ์ใหม่ 2. คุณภาพของกระบวนการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น พบว่า 1) นักเรียนกลุ่มทดลองมีความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์หลังเรียน สูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) นักเรียนกลุ่มทดลองมีความสามารถในการใช้ตัวแทนทางคณิตศาสตร์หลังเรียน สูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3). นักเรียนกลุ่มทดลองมีพัฒนาการความสามารถในการแก้ปัญหาและการใช้ตัวแทนทางคณิตศาสตร์ในทิศทางที่ดีขึ้น
Other Abstract: This is a research and development with two objectives: 1) to develop instructional process based on mathematical modeling and scaffolding approaches, 2) to study the quality of instructional process based on mathematical modeling and scaffolding approaches. The study included comparison of problem solving and representation abilities after an instructional process between the experimental group and the control group and study the development of problem solving and representation abilities of students in the experimental group. The samples used in this research were 64 eighth graders (Mathayom 2 students) from Chulalongkorn University Demonstration School in 2016 academic year. The experimental time were 24 periods for 12 weeks. The two instruments used in this research were the mathematical problem solving ability test and the mathematical representation ability test. For data analysis, arithmetic mean, standard deviation (s.d.) and t-test The findings were as follows: 1. The five principles of instructional process based on mathematical modeling and scaffolding approaches were 1) the principle of using real-world virtualized problem and problem understanding, 2) the principle of target determination and transformation from the real world to the conceptual world, 3) the principle of performing mathematical modeling, 4) the principle of reflective thinking and 5) the principle of various problem solving applications. They comprised 5 steps: 1) proposing problems of interest, 2) determining the target and creating mathematical modeling, 3) solving the problem and referring the results to the real world environment, 4) evaluating the model and verifying the model, 5) extending the idea to new situations. 2. The quality of the developed instructional process were 1) the experimental group had higher problem solving ability after the instructional process than the control group at .05 significant level, 2) the experimental group had higher mathematical representation ability after the instructional process than the control group at .05 significant level, and 3) the experimental group had developed problem solving and mathematical representation abilities in positive direction.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559
Degree Name: ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: หลักสูตรและการสอน
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/54888
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.1230
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2016.1230
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5584234227.pdf9.64 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.