Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/54973
Title: การพัฒนากระบวนการเรียนการสอนตามเเนวคิดการตั้งปัญหาเเละการคิดเเบบฮิวริสติกส์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการเเก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
Other Titles: DEVELOPMENT OF AN INSTRUCTIONAL PROCESS BASED ONPROBLEM POSING AND HEURISTICS THINKING APPROACHESTO ENHANCE MATHEMATICS PROBLEM SOLVING ABILITY OFLOWER SECONDARY SCHOOL STUDENTS
Authors: กฤษฎา วรพิน
Advisors: วิชัย เสวกงาม
อัมพร ม้าคนอง
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: [email protected],[email protected]
[email protected]
Issue Date: 2559
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1. เพื่อพัฒนากระบวนการเรียนการสอนตามแนวคิดการตั้งปัญหาและการคิดแบบฮิวริสติกส์ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ 2. เพื่อศึกษาประสิทธิผลของกระบวนการเรียนการสอนตามแนวคิดการตั้งปัญหาและการคิดแบบฮิวริสติกส์ โดยมีวัตถุประสงค์ย่อยๆ ดังนี้ 2.1 เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ก่อนและหลังทดลองของนักเรียนที่เรียนด้วยกระบวนการเรียนการสอนตามแนวคิดการตั้งปัญหาและการคิดแบบฮิวริสติกส์ 2.2 เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ของนักเรียนที่เรียนด้วยกระบวนการเรียนการสอนตามแนวคิดการตั้งปัญหาและการคิดแบบฮิวริสติกส์ กับนักเรียนที่เรียนด้วยกระบวนการเรียนการสอนแบบปกติหลังการทดลองใช้กระบวนการเรียนการสอน 2.3 เพื่อศึกษาพัฒนาการของความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ของนักเรียนที่เรียนด้วยกระบวนการเรียนการสอนตามแนวคิดการตั้งปัญหาและการคิดแบบฮิวริสติกส์ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา มีระยะเวลาในการทดลองใช้กระบวนการเรียนการสอน 4 เดือน ในการดำเนินการวิจัยสามารถแบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ ระยะแรกเป็นการพัฒนากระบวนการเรียนการสอนตามแนวคิดการตั้งปัญหาและการคิดแบบฮิวริสติกส์ และระยะที่ 2 เป็นการทดลองใช้กระบวนการเรียนการสอน ซึ่งมีนักเรียนกลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 โรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ จังหวัดนครปฐม จำนวน 80 คน เป็นนักเรียนกลุ่มทดลอง 40 คน และกลุ่มควบคุม 40 คน โดยนักเรียนกลุ่มทดลองได้รับการจัดกระบวนการเรียนการสอนตามแนวคิดการตั้งปัญหาและการคิดแบบฮิวริสติกส์ และนักเรียนกลุ่มควบคุมได้รับการจัดกระบวนการเรียนการสอนตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อประเมินประสิทธิผลของกระบวนการเรียนการสอน คือ แบบวัดความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ ชุดที่ 1 (ใช้ทดสอบก่อนเรียน) และแบบวัดความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ ชุดที่ 2 (ใช้สำหรับทดสอบหลังเรียน) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่ามัชฌิมเลขคณิต ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า 1. กระบวนการเรียนการสอนตามแนวคิดการตั้งปัญหาและการคิดแบบฮิวริสติกส์ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น มีหลักการ 6 ประการคือ 1) หลักการตั้งปัญหาเพื่อเชื่อมโยงความรู้ 2) หลักการตั้งปัญหาเพื่อส่งเสริมการคิดเกี่ยวกับเชื่อมโยงข้อมูลและทำความเข้าใจข้อมูล 3) หลักการตั้งปัญหาเพื่อส่งเสริมการคิดเกี่ยวกับการแยกแยะข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูล 4) หลักการตั้งปัญหาเพื่อส่งเสริมการคิดเกี่ยวกับการประเมินการเรียนรู้ในระหว่างการดำเนินการแก้โจทย์ปัญหา 5) หลักการแก้โจทย์ปัญหาโดยการทำงานเป็นกลุ่ม และ 6) หลักการขยายปัญหา ประกอบไปด้วยขั้นตอน 5 ขั้นตอน คือ 1) ขั้นตั้งปัญหาเพื่อเชื่อมโยงความรู้เดิม 2) ขั้นนำเสนอเนื้อหาใหม่ 3) ขั้นเผชิญโจทย์ปัญหาและทำความเข้าใจปัญหา 4) ขั้นเข้ากลุ่มเพื่อดำเนินการแก้ปัญหา และ 5) ขั้นสรุปความรู้และขยายปัญหา 2. นักเรียนกลุ่มทดลองที่เรียนด้วยกระบวนการเรียนการสอนตามแนวคิดการตั้งปัญหาและการคิดแบบฮิวริสติกส์ มีความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์หลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ของนักเรียนกลุ่มทดลองที่เรียนด้วยกระบวนการเรียนการสอนตามแนวคิดการตั้งปัญหาและการคิดแบบฮิวริสติกส์ มีความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์หลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในทุกองค์ประกอบของความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ 3. นักเรียนกลุ่มทดลองที่เรียนด้วยกระบวนการเรียนการสอนตามแนวคิดการตั้งปัญหาและการคิดแบบฮิวริสติกส์ มีความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์สูงกว่านักเรียนกลุ่มควบคุมที่เรียนด้วยกระบวนการเรียนการสอนแบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ของนักเรียนกลุ่มทดลองที่เรียนด้วยกระบวนการเรียนการสอนตามแนวคิดการตั้งปัญหาและการคิดแบบฮิวริสติกส์ มีความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์หลังการทดลองสูงกว่านักเรียนกลุ่มควบคุมที่เรียนด้วยกระบวนการเรียนการสอนแบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในทุกองค์ประกอบของความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ 4. นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามกระบวนการเรียนการสอนตามแนวคิดการตั้งปัญหาและการคิดแบบฮิวริสติกส์ มีพัฒนาการของความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ที่สูงขึ้นจากก่อนการทดลอง
Other Abstract: The Objectives of the research were: 1. To develop an instructional process based on problem posing and heuristics thinking approaches to enhance mathematics problem solving ability. 2. To study the effectiveness of the instructional process based on problem posing and heuristics thinking approaches as follows; 2.1 To compare mathematics problem solving ability on the pre-test and post-test of the students who were taught mathematics using problem posing and heuristics teaching approach. 2.2 To compare mathematics problem solving ability of the students who were taught mathematics using problem posing and heuristics teaching approach and those who were taught with conventional teaching approach after the instructional experiment process. 2.3 To study the development of mathematics problem solving ability of the students who taught mathematics using problem posing and heuristics teaching approach. This study is a research and development which took place over a period of four months. It was divided into two phrases; Phrase 1 the development of instructional process based on problem posing and heuristics thinking approaches and Phrase 2 the instructional experiment process. The sample group consisted of 80 students who were studying in Matayom 3 in second semester of academic year 2016 from the public schools under the Office of Basic Education Commission, the Ministry of Education, Nakhon Prayom province. The students were divided into 40 students in experiment group and 40 students in control group. The students in experiment group were taught mathematics with problem posing and heuristics teaching approach while the students in control group were taught mathematics with conventional teaching approach. The instruments used for data collection and analysis of the effectiveness of the instructional approach were the test for mathematics problem solving ability set 1 (for pre-test) and the test for mathematics problem solving ability set 2 (for post-test). The data was analyzed by using mean and standard deviation, and t-test. The results showed that 1. The instructional process based on problem posing and heuristics thinking approaches to enhance mathematics problem solving ability of lower secondary school students consisted of 6 principles which are 1) posing problem to relate to prior knowledge 2) posing problem to connect and understand the data 3) posing problem to distinguish and analyse the data 4) posing problem to evaluate the learning during the problem solving process 5) prosing problem in group and 6) extending problem which composed of 5 stages 1) posing problem to relate to prior knowledge 2) presenting new concept 3) confronting and understanding the problem 4) grouping to solve problem and 5) concluding and clarifying the problem. 2. The students in experiment group who were taught with problem posing and heuristics teaching approach exhibited an increase of mathematics problem posing ability in post-test at .05 level of significance, they also showed higher ability in problem solving in post-test at .05 level of significance in every components of mathematics problem solving ability. 3. The students in experiment group who were taught with problem posing and heuristics teaching approach showed higher mathematics problem solving ability than the students in control group who were taught with conventional teaching approach at .05 level of significance, they also showed ability in problem solving in post-test higher than the students in control group at .05 level of significance in every components of mathematics problem solving ability. 4. The students who experienced instructional process based on problem posing and heuristics teaching approach resulted in higher development of mathematics problem solving ability from pre-test.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559
Degree Name: ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: หลักสูตรและการสอน
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/54973
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.1233
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2016.1233
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5684201627.pdf7.06 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.