Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/54982
Title: กลยุทธ์การบริหารความเสี่ยงของโรงเรียนมัธยมศึกษาตามแนวคิดการพัฒนาความเป็นพลเมืองโลก
Other Titles: Secondary School Risk Management Strategies According to the Concept of Global Citizenship Development
Authors: ปรตี ประทุมสุวรรณ์
Advisors: บัญชา ชลาภิรมย์
พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: [email protected],[email protected],[email protected]
[email protected]
Issue Date: 2559
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากรอบแนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการบริหารความเสี่ยงของโรงเรียนมัธยมศึกษาตามแนวคิดการพัฒนาความเป็นพลเมืองโลก 2) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารความเสี่ยงของโรงเรียนมัธยมศึกษาตามแนวคิดการพัฒนาความเป็นพลเมืองโลก 3) วิเคราะห์จุดอ่อน จุดแข็ง โอกาส และภาวะคุกคามของการบริหารความเสี่ยงของโรงเรียนมัธยมศึกษาตามแนวคิดการพัฒนาความเป็นพลเมืองโลก และ 4) นำเสนอกลยุทธ์การบริหารความเสี่ยงของโรงเรียนมัธยมศึกษาตามแนวคิดการพัฒนาความเป็นพลเมืองโลก โดยใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสาน กลุ่มตัวอย่างได้แก่ โรงเรียนมาตรฐานสากลจำนวน 226 โรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามและแบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของกลยุทธ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนี PNIModified และการวิเคราะห์เนื้อหาจากการสนทนากลุ่ม ผลการวิจัยพบว่า 1) กรอบแนวคิดเกี่ยวกับการบริหารความเสี่ยงของโรงเรียนมัธยมศึกษาตามแนวคิดการพัฒนาความเป็นพลเมืองโลก ประกอบด้วย กระบวนการบริหารความเสี่ยง 5 กระบวนการการจัดการศึกษาเพื่อความเป็นพลเมืองโลก 4 องค์ประกอบ และคุณลักษณะความเป็นพลเมืองโลก 4 ด้าน 2) สภาพปัจจุบันของการบริหารความเสี่ยงของโรงเรียนมัธยมศึกษาตามแนวคิดการพัฒนาความเป็นพลเมืองโลกในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า การกำหนดวัตถุประสงค์มีค่าเฉลี่ยสภาพปัจจุบันสูงที่สุด ส่วนสภาพที่พึงประสงค์ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า การกำหนดวัตถุประสงค์มีค่าเฉลี่ยสภาพที่พึงประสงค์สูงที่สุด 3) จุดแข็งของการบริหารความเสี่ยงของโรงเรียนมัธยมศึกษาตามแนวคิดการพัฒนาความเป็นพลเมืองโลก คือ การกำหนดวัตถุประสงค์ และการระบุความเสี่ยง ส่วนจุดอ่อน คือ การประเมินความเสี่ยง การจัดการและจัดทำแผนบริหารความเสี่ยง และการรายงานและติดตามผล โอกาส คือ สภาพเทคโนโลยี และภาวะคุกคาม คือ นโยบายรัฐ สภาพเศรษฐกิจ และสภาพสังคม 4) กลยุทธ์การบริหารความเสี่ยงของโรงเรียนมัธยมศึกษาตามแนวคิดการพัฒนาความเป็นโลก มี 3 กลยุทธ์ คือ (1) ปฏิรูปการรายงานและติดตามผลการบริหารความเสี่ยงในการพัฒนาผู้เรียนให้มีความเป็นพลเมืองโลก (2) พัฒนาการจัดการและจัดทำแผนบริหารความเสี่ยงในการพัฒนาผู้เรียนให้มีความเป็นพลเมืองโลก และ (3) ปรับเปลี่ยนการประเมินความเสี่ยงในการพัฒนานักเรียนให้มีความเป็นพลเมืองโลก และกลยุทธ์รอง 12 กลยุทธ์
Other Abstract: The purposes of this research were: 1) to examine the conceptual framework; 2) to investigate the current situation and the desirable scenario of management strategies; 3) to analyze their strengths, weaknesses, opportunities, and threats; 4) to improve these strategies. The data were collected from 226 schools. The research tools were a questionnaire and an evaluation form to assess the appropriateness and feasibility of these strategies. Mean, standard deviation, and PNImodified index were used to analyze the data. Content analysis was used to analyze the data obtained from group discussions. The findings revealed that: 1) the conceptual framework consisted of 5 risk management processes, 4 element of global citizenship education management, and 4 global citizenship characteristics; 2) the current risk management situation was at a middle level. While considering the desirable scenario was ranked highest; 3) the strength lay in objective setting and risk identification while the weaknesses were risk assessment, risk management planning, and report and monitoring. The opportunities involved technology, while the threats constituted the government policy, economic and social conditions; 4) the strategy has three main strategies which were (1) the reforming of report and monitoring, (2) the development of management of risk management planning, (3) the modification of risk assessment.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559
Degree Name: ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: บริหารการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/54982
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.517
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2016.517
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5684481027.pdf12.2 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.