Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55204
Title: | การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างค่าความเสียดทานและค่าความลึกโพรไฟล์เฉลี่ยของผิวทางเพื่อใช้ในการจัดการความเสียดทานของผิวทางในระดับโครงข่าย |
Other Titles: | ANALYSIS OF RELATIONSHIP BETWEEN PAVEMENT FRICTION AND MEAN PROFILEDEPTH FOR PAVEMENT FRICTION MANAGEMENT AT NETWORK LEVEL |
Authors: | ณภัทร เจนบวรกิจ |
Advisors: | วิศณุ ทรัพย์สมพล |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected],[email protected],[email protected] |
Subjects: | ผิวทาง แรงเสียดทาน Pavements Friction |
Issue Date: | 2559 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ค่าความเสียดทานเป็นปัจจัยหนึ่งที่สำคัญในการประเมินความปลอดภัยของสายทาง ปัจจุบันวิธีการเก็บค่าความเสียดทานของผิวทางโดยตรง ยังมีข้อจำกัดด้านเวลาและค่าใช้จ่ายในการเก็บข้อมูล จึงทำให้ไม่สามารถเก็บข้อมูลความเสียดทานของผิวทางทั้งโครงข่ายในระดับประเทศได้ งานวิจัยนี้จึงศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างค่าสัมประสิทธิ์ความเสียดทานผิวทางผ่านตัวแปรดัชนีความเสียดทานสากล (International Friction Index, IFI) และค่าความลึกโพรไฟล์เฉลี่ย (Mean Profile Depth, MPD) เพื่อเสนอแนวคิดในการประยุกต์ใช้ค่า MPD ในการจัดการความเสียดทานของผิวทางในระดับโครงข่ายเนื่องจากค่า MPD สามารถเก็บข้อมูลได้รวดเร็วและประหยัดค่าใช้จ่าย เพราะสามารถเก็บพร้อมกับค่าดัชนีความขรุขระสากล (Internatioanl Roughness Index, IRI) ด้วยเครื่องมือ Laser Profilometer ได้ จากการศึกษาความสัมพันธ์ของค่า IFI ร่วมกับ MPD จากข้อมูลที่เก็บจากภาคสนาม 300 ข้อมูล และการวิเคราะห์ข้อมูลเพิ่มเติมจากฐานข้อมูลในอดีตของกรมทางหลวง 1,266 ข้อมูล พบว่า ผิวทางที่มี MPD มากกว่า 1.2 มิลลิเมตร จะมีค่า IFI มากกว่า 0.25 ซึ่งเป็นค่าความเสียดทานแนะนำในการปรับปรุงของกรมทางหลวง ที่ระดับความเชื่อมั่น 95% และเมื่อนำข้อมูลสถิติอุบัติเหตุอันเกิดจากลื่นไถลมาพิจารณาร่วมด้วย พบว่า ผิวทางที่มีค่า MPD น้อยกว่าหรือเท่า 1.2 มิลลิเมตร จะมีสถิติการเกิดอุบัติเหตุที่สูงอย่างมีนัยยะสำคัญ ดังนั้นค่า MPD จึงเป็นตัวแปรที่มีความเป็นไปได้ในการนำมาใช้ในการคัดกรองสายทางเบื้องต้น เพื่อลดจำนวนระยะทางการสำรวจด้วยเครื่องมือทดสอบค่าความเสียดทานโดยตรง ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการวางแผนความปลอดภัยของถนนในระดับโครงข่าย |
Other Abstract: | Pavement friction is one of the key factors that are used to evaluate road safety. Nowaday, direct measurement of pavement friction consumes a lot of time and cost. As a result, the road agency cannot measure pavement for the entire road network every year. This thesis aim to study the relationship between International Friction Index (IFI) and Mean Profile Depth (MPD.) in order to applying MPD as a surrogate factor to reflect pavement friction. This is because MPD can be collected faster and more cost effective since it can be collected simultaneously with International Roughness Index (IRI) using laser profilometer. The first analysis is to find correlation between IFI and MPD, based on 300 samples from feild data and 1,266 samples from historical maintenance database. It is found that if pavement has MPD more than 1.2 millimeters, the pavement friction of that pavement would be higher than 0.25 which is a recommended friction value for pavement maintenance at a level of confidential 95%. The second analysis is based on historical accident rate and MPD to find their correlations. It is also found that there is high correlation between accident rate and MPD when MPD is less than 1.2 millimeter. Therefore, there is possibility of applying MPDs as a filter to reduce needs for measuring pavement friction directly. This concept can be benefit to safety planning for a road network. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559 |
Degree Name: | วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิศวกรรมโยธา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55204 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.927 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.THE.2016.927 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Eng - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5870291921.pdf | 3.03 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.