Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55225
Title: | การเพิ่มประสิทธิภาพแสงสว่างในพื้นที่ทางสัญจรหน้าห้องพักเพื่อการประหยัดพลังงาน: กรณีศึกษา โครงการพฤกษา เรียล เอสเตท |
Other Titles: | AN INCREASE OF LIGHTING PERFORMANCE FOR ENERGY SAVING IN A GUEST ROOM CORRIDOR: A CASE STUDY OF PRUKSA REAL ESTATE |
Authors: | ต่อพงษ์ ลิ่มลัญจกร |
Advisors: | พรรณชลัท สุริโยธิน |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected],[email protected] |
Subjects: | อาคาร -- แสงสว่าง Buildings -- Lighting |
Issue Date: | 2559 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิธีการเพิ่มประสิทธิภาพความสว่างในพื้นที่ทางสัญจรหน้าห้องพัก ภายในโครงการพลัม คอนโดมิเนียม พหลยธิน 89 ของ บริษัท พฤกษา เรียล เอสเตท จำกัด โดยจากการเข้าสำรวจโครงการเบื้องต้น พบว่า พื้นที่ดังกล่าวมีค่าความสว่างไม่เพียงพอตามเกณฑ์และมีค่าใช้จ่ายไฟฟ้าต่อเดือนสูง งานวิจัยนี้จึงมีจุดประสงค์เพื่อศึกษาถึงการเพิ่มประสิทธิภาพความสว่างโดยการเพิ่มค่าสัมประสิทธิ์การสะท้อนแสงของพื้นผิว ที่สัมพันธ์กับปริมาณแสงของหลอดไฟเพื่อให้พื้นที่ดังกล่าวมีค่าความสว่างตามเกณฑ์ โดยจะนำมาพิจารณาร่วมกับอุปกรณ์ daylight sensor และ motion sensor เพื่อลดค่าใช้จ่ายไฟฟ้า โดยลักษณะพื้นที่ที่ทำการศึกษา มีลักษณะเป็นทางเดินหน้าห้องพักยาว 95 เมตร กว้าง 1.50 เมตร สูง 2.20 เมตร มีช่องเปิดหน้าต่างบริเวณโถงลิฟท์และสุดปลายทางเดินทั้งสองด้าน ดำเนินงานวิจัยด้วยวิธีการการจำลองสถานการณ์ แสงสว่างด้วยโปรแกรม DIALux 4.12 วิเคราะห์ถึงประสิทธิภาพความสว่างที่เพิ่มขึ้นและการประหยัดค่าใช้จ่ายไฟฟ้าการใช้อุปกรณ์ ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า การเพิ่มประสิทธิภาพแสงธรรมชาติโดยการการเพิ่มค่าสัมประสิทธิ์การสะท้อนแสงของพื้นผิวเป็นวิธีที่ดีที่สุดที่สามารถเพิ่มความสว่างได้ทั้งพื้นที่และทุกช่วงเวลา โดยเมื่อพิจารณาจากอาคารกรณีศึกษาดั้งเดิมที่มีความสว่างไม่เพียงพอ การเลือกใช้หลอดไฟที่มีความสว่าง 1,200 lumen และกำหนดค่าการสะท้อนแสงของพื้นผิวเท่ากับ 0.70 จะทำให้พื้นที่ดังกล่าวมีค่าความสว่างขั้นต่ำ (Emin) เฉลี่ยคือ 54 lux ซึ่งเพียงพอตามเกณฑ์ และเมื่อพิจารณาร่วมกับการใช้งานอุปกรณ์ daylight sensor และ motion sensor จะสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายไฟฟ้าได้ปีละประมาณ 4,428 บาท/ชั้น/ปี งานวิจัยนี้ยังศึกษาถึงทิศทางและแนวโน้มของความสัมพันธ์ของค่าสัมประสิทธิ์สะท้อนแสงของพื้นผิวและปริมาณแสงของหลอดไฟที่มีผลต่อความสว่างของพื้นที่ สามารถนำผลการวิจัยนี้เป็นแนวทางเพื่อองค์ประกอบหนึ่งในการปรับปรุงอาคารลักษณะนี้ หรือร่วมกับงานวิจัยอื่นๆ เพื่อการประหยัดพลังงานทั้งอาคารดั้งเดิมที่มีอยู่แล้วหรืออาคารที่จะเกิดขึ้นต่อไปในอนาคต |
Other Abstract: | The purpose of this research is to study how to increase efficiency of the lighting usage in the Guestroom corridor of Plum condominium, Paholyothin 89 by Pruksa Real Estate Co.,Ltd. According to preliminary inspections, the results not only show that the significance amount of luminance isn't enough for the requirements but also the high cost monthly electricity usage. To increase the reflectance factor of interior surfaces, either to choose suitable luminous flux for expected lighting requirements standard. Also consider with daylight sensors and motion sensor to decrease the cost of electricity. The base case study were done is in the guestroom corridor which has L x W x H = 90.00 x 1.50 x 2.20 meters. It has the open window in lift hall area and also at both ends of the hallway. Use the DIALux 4.12 program to create lighting simulation to understanding and analyze coming to the conclusion of which methods would be the best solution. The results show that, by increase the reflectance factor is the best method to increase the area luminance, more efficiency with suitable luminous flux . Due to the past usage of 1,200 lumen , with the reflectance of 0.70, it results in the Emin average up to 55 lux, enough for lighting required standard. However, consider with daylight sensor and motion sensor, this could save the electricity up to 4,428 baht/floor. The purpose of this research is to study the possibility of relationship between the reflectance factor and light blub luminous flux, which can be used for developing similar buildings, and helps other researches to maximize the use of energy with minimizing cost of it in the future. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | สถาปัตยกรรม |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55225 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.1171 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.THE.2016.1171 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Arch - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5873569025.pdf | 5.1 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.