Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55234
Title: ความกลัวการล้ม ความเสี่ยงในการล้มและความชุกของการล้มในผู้ที่มีภาวะพุทธิปัญญาบกพร่องเล็กน้อยและภาวะสมองเสื่อม ที่คลินิกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
Other Titles: Fear of falling, Risk of falling and prevalence of falling in mild cognitive impairment and dementia at outpatient clinics, King Chulalongkorn Memorial Hospital
Authors: ชนิษฐา ตียะพาณิชย์
Advisors: สุขเจริญ ตั้งวงษ์ไชย
จิรภา แจ่มไพบูลย์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: [email protected],[email protected]
[email protected],[email protected]
Issue Date: 2559
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: เหตุผลของการทำวิจัย : ภาวะสมองเสื่อมและภาวะพุทธิปัญญาบกพร่องเล็กน้อยในปัจจุบันมีเพิ่มมากขึ้นและ มีอุบัติการณ์ล้มมากเป็น 2 เท่าของคนทั่วไป ซึ่งจะก่อให้เกิดภาวะทุพพลภาพและเป็นภาระในการดูแล นอกจากนี้ยังไม่พบการศึกษาความกลัวการล้มในผู้ที่มีภาวะพุทธิปัญญาบกพร่องเล็กน้อยและภาวะสมองเสื่อมในประเทศไทย วัตถุประสงค์: ศึกษาความกลัวการล้ม ความเสี่ยงในการล้มและความชุกของการล้มในผู้ที่มีภาวะพุทธิปัญญาบกพร่องเล็กน้อยและภาวะสมองเสื่อม ที่คลินิกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ วิธีการศึกษา : กลุ่มตัวอย่างทั้งหมดจำนวน 95 คน ที่ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่าเป็นผู้ที่มีภาวะพุทธิปัญญาบกพร่องเล็กน้อยและภาวะสมองเสื่อม ที่เข้ารับการรักษาที่คลินิกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ที่มีอายุตั้งแต่ 50 ปี ขึ้นไป โดยใช้แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบสอบถามข้อมูลด้านการเจ็บป่วย แบบประเมิน MoCA แบบประเมิน TMSE แบบประเมิน NPI - Q การประเมินการทรงตัวด้วยวิธี Time up and go test และ Berg balance test คำนวณสถิติโดยใช้โปรแกรม SPSS version 22 เพื่อหาสถิติเชิงพรรณนา คำนวณสถิติเชิงอนุมานเพื่อหาปัจจัยที่เกี่ยวข้องและวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติกเพื่อหาปัจจัยที่พยากรณ์ความกลัวการล้มและความเสี่ยงในการล้ม ผลการศึกษา : ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างทั้งหมดที่มีประวัติการล้มคิดเป็นร้อยละ 44.2 ความกลัวการล้ม คิดเป็นร้อยละ 44.2 เมื่อประเมินการทรงตัวด้วยวิธี Time up and go test และ Berg balance test พบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความเสี่ยงในการล้มสูงคิดเป็นร้อยละ 7.4 และ 3.2 ตามลำดับ ปัจจัยทำนายความกลัวการล้ม ได้แก่ อาการกระสับกระส่ายและเพศหญิงและปัจจัยทำนายความเสี่ยงในการล้ม ได้แก่ผู้ที่มีอายุมากกว่า 75 ปี เพศหญิงและมีภาวะสมองเสื่อม สรุป : ผู้ป่วยส่วนใหญ่ไม่กลัวการล้มและมีความเสี่ยงของการล้มส่วนใหญ่อยู่ในระดับต่ำ แต่อย่างไรก็ตามการตรวจคัดกรองความกลัวการล้มและความเสี่ยงในการล้มก็เป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์เพื่อลดอุบัติการณ์ล้มและเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยภาวะพุทธิปัญญาบกพร่องเล็กน้อยและภาวะสมองเสื่อมต่อไป
Other Abstract: Background : The number of patients with mild cognitive impairment and dementia are increasing and these patients have fall risk approximately 2 times higher than normal elderly. Fall will increase the morbidity and burden of care. Currently, There is no study concerning fear of falling among patients with mild cognitive impairment and dementia in Thailand. Objectives : To explore the rate of the fear of falling, risk of fall and prevalence of fall in patients with mild cognitive impairment and dementia at outpatient clinics, King Chulalongkorn Memorial Hospital Methods : The sample were 95 outpatients. With at least aged of 50 years old were diagnosed by psychiatrists or neurologists with mild cognitive impairment and dementia. The tools were composed of the demographic and clinical data questionnaire, The Montreal Cognitive Assessment scale (MoCA), Thai Mental State Examination (TMSE), Neuropsychiatric Inventory Questionaire (NPI - Q), Fall Efficacy Scale - International (Thai FES - I), Time up and go test (TUG), Berg balance test (BBT). The SPSS version 22 were used to perform for the descriptive statistics and univariated analysis was done for associated factors and logistic regression analysis was done for predictive factors of all main outcome. Results : The prevalence of history of fall was 44.2 % and 44.2 % of the sample had fear of falling. The risk of fall determined by Time up and go test and Berg balance test were 7.4 % and 3.2 % respectively. The predictive factors for fear of falling were agitation and female gender. The factors that predicted the risk of fall were aged more than 75 years old, female gender and dementia diagnosis. Conclusion : In this study, The fear of fall and fall risk of are low. However, The screening test are still helpful to reduce incidence of fall and increase quality of life of the patients.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สุขภาพจิต
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55234
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.1200
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2016.1200
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5874017030.pdf4.24 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.