Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55721
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorพนม คลี่ฉายา-
dc.contributor.authorวรรษยุต คงจันทร์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์-
dc.date.accessioned2017-10-30T04:47:20Z-
dc.date.available2017-10-30T04:47:20Z-
dc.date.issued2559-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55721-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559-
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจการสื่อสารเชิงปฏิสัมพันธ์บนแอปพลิเคชันเพื่อการออกกำลังกาย การกำกับพฤติกรรมการออกกำลังกาย และการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการออกกำลังกาย และเพื่ออธิบายความสัมพันธ์ของการสื่อสารเชิงปฏิสัมพันธ์บนแอปพลิเคชันเพื่อการออกกำลังกาย กับการกำกับพฤติกรรมการออกกำลังกาย และการแสดงพฤติกรรมในแต่ละลำดับขั้นของการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการออกกำลังกาย ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสานด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาแอปพลิเคชันเพื่อการออกกำลังกาย จำนวน 80 แอปพลิเคชัน และการวิจัยเชิงสำรวจโดยใช้แบบสอบถาม เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างอายุ 25-34 ปี ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน 400 ตัวอย่าง ที่เคยดาวน์โหลดและใช้แอปพลิเคชันเพื่อการออกกำลังกายอย่างน้อย 1 ครั้ง ในรอบ 3 เดือน ผลการวิเคราะห์เนื้อหาแอปพลิเคชันเพื่อการออกกำลังกายพบว่า มีคุณลักษณะเชิงปฏิสัมพันธ์บนแอปพลิเคชันเพื่อการออกกำลังกาย 8 คุณลักษณะ จำแนกได้เป็น 30 วิธีการย่อย โดยคุณลักษณะเชิงปฏิสัมพันธ์ที่พบได้มากที่สุด คือ คุณลักษณะด้านการเก็บข้อมูลสุขภาพของผู้ใช้ รองลงมาคือ คุณลักษณะด้านคำแนะนำการใช้งานในแอปพลิเคชัน และคุณลักษณะด้านความสามารถติดต่อผู้พัฒนาแอปพลิเคชัน ผลการสำรวจพบว่า กลุ่มตัวอย่างใช้คุณลักษณะเชิงปฏิสัมพันธ์บนแอปพลิเคชันด้านคำแนะนำการใช้งาน และ คุณลักษณะด้านการเก็บข้อมูลสุขภาพของผู้ใช้มากที่สุด กลุ่มตัวอย่างมีการกำกับตนเองโดยรวมอยู่ในระดับ มาก โดยมีการกำกับตนเองด้านการประเมินข้อมูลที่ได้และเปรียบเทียบกับมาตรฐานมากที่สุด และพบว่ากลุ่มตัวอย่างแสดงพฤติกรรมในขั้นตั้งใจเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมมากที่สุด ผลการทดสอบสมมติฐาน สรุปได้ว่า 1. ความถี่ในการใช้การสื่อสารเชิงปฏิสัมพันธ์ มีความสัมพันธ์กับการกำกับพฤติกรรมการออกกำลังกาย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทั้งนี้ เป็นความสัมพันธ์ระดับต่ำ ในทิศทางแปรตามกัน 2. ระดับการกำกับพฤติกรรมการออกกำลังกาย มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมในขั้นตั้งใจเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ขั้นเตรียมการเปลี่ยนการพฤติกรรม และขั้นเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทั้งนี้ เป็นความสัมพันธ์ระดับปานกลาง ในทิศทางแปรตามกัน และมีความสัมพันธ์กับขั้นรักษาระดับพฤติกรรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยเป็นความสัมพันธ์ระดับต่ำ ในทิศทางแปรตามกัน 3. ความถี่ในการใช้การสื่อสารเชิงปฏิสัมพันธ์ มีความสัมพันธ์เฉพาะขั้นเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและขั้นรักษาระดับพฤติกรรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทั้งนี้ เป็นความสัมพันธ์ระดับต่ำ ในทิศทางแปรตามกัน-
dc.description.abstractalternativeThis research aims to explore interactive features in mobile fitness applications, self-regulation in exercising, exercise behavior change, as well as to describe the relations of interactive communication in mobile fitness applications, self-regulation in exercising, and exercise behavior in each stage of behavior change. The research employs mixed methods by using content analysis in order to analyze interactive features in 80 mobile fitness applications. The results of content analysis is used to develop a questionnaire for survey research in Bangkok and Vicinity among sample respondents, consisting of 400 samples who have downloaded and used mobile fitness applications at least once in the previous three months. The results of content analysis show that there are eight interactive features in mobile fitness applications which can be classified into 30 interactive communication techniques. The most common interactive feature is Input Personal Health, followed by Built-in Tutorials and Email of App Developers. The survey findings illustrate that the top two interactive features used by respondents are Built-in Tutorials and Input Personal Health. Respondents have high level of self-regulation. The top self-regulation rated the most among respondents is Evaluation. The research has also found that most respondents behave in contemplation stage. The hypothesis test concludes that 1. Usage frequency of interactive features in mobile fitness application is significantly related to self-regulation in exercising with low-level positive correlation at .05 level. 2. Self-regulation level is correlated with exercise behavior in Contemplation Stage, Preparation Stage and Action Stage with medium-level positive correlation at .05 level, and also correlated with exercise behavior in Maintenance Stage with low-level positive correlation at .05 level. 3. Usage frequency of interactive features in mobile fitness application is related to Action Stage and Maintenance Stage with low-level positive correlation at .05 level.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.404-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.titleการสื่อสารเชิงปฏิสัมพันธ์บนแอปพลิเคชันเพื่อการออกกำลังกายและการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม-
dc.title.alternativeInteractive Communication in Mobile Fitness Applications and Behavior Change-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameนิเทศศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineนิเทศศาสตร์-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.email.advisor[email protected],[email protected]-
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.THE.2016.404-
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5884664728.pdf11.44 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.