Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56029
Title: | การวางแผนการจัดการสื่อสารเพื่อลดความเสี่ยงจากอุบัติภัยในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Other Titles: | Communication management planning to reduce disaster-related risks in Chulalongkorn University |
Authors: | ณรงค์ ขำวิจิตร์ |
Advisors: | สุกัญญา สุดบรรทัด |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected] |
Subjects: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย -- การประชาสัมพันธ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย -- การบริหารความเสี่ยง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย -- อุบัติเหตุ การสื่อสารความเสี่ยง การบริหารความเสี่ยง Chulalongkorn University -- Public relations Chulalongkorn University -- Risk management Chulalongkorn University -- Accidents Risk communication Risk management |
Issue Date: | 2551 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบ ประเด็นและปัจจัยที่สำคัญในการสื่อสารเพื่อลดความเสี่ยงจากอุบัติภัยในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและเพื่อวางแผนการจัดการสื่อสารเพื่อลดความเสี่ยงจากอุบัติภัย โดยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพร่วมกับการวิจัยเชิงประมาณ ได้แก่ การสัมภาษณ์เจาะลึก (In-depth Interview) จากกลุ่มผู้ให้ข้อมูล 3 กลุ่ม คือ อาจารย์ บุคลากรและนิสิต จำนวน 20 คน จากนั้นใช้วิธีการสำรวจ (Survey Research) จากกลุ่มประชากรในการศึกษาที่มีคุณลักษณะเดียวกันกับกลุ่มแรกจำนวน 511 คน โดยใช้แบบสอบถาม แล้วนำมาวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรม SPSS เพื่อวิเคราะห์สถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงอ้างอิง ได้แก่ การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way Analysis of Variance) ผลการวิจัยพบว่าทั้งกลุ่มอาจารย์ บุคลากร และนิสิตจุฬาฯ มีลักษณะการเผชิญความเสี่ยงจากอุบัติภัยประเภทลูกเสือ (Boy scouts) หรือผู้อดทนต่อความเสี่ยง (Risk tolerant) มากที่สุด ซึ่งลักษณะของกลุ่มนี้จะเป็นกลุ่มคนที่มีความวิตกกังวลเกี่ยวกับความปลอดภัยสูง ขณะเดียวกันก็เป็นผู้ที่มีวิธีการของตนเองในการจัดการกับปัญหาโดยมีหน่วยงานให้ความช่วยเหลือ การสื่อสารที่เหมาะสมสำหรับกลุ่มลักษณะนี้คือ การให้ข้อมูลข่าวสารทั่วไปเกี่ยวกับอันตรายจากอุบัติภัย โดยเน้นความเสี่ยงจากอันตรายและผลกระทบที่จะเกิดกับตัวเขาอย่างไร นอกจากนี้ยังพบว่ากลุ่มตัวอย่างมีความเห็นเกี่ยวกับโอกาสของอุบัติภัยที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์มีมากกว่าธรรมชาติ โดยเฉพาะอุบัติภัยจากการจราจร การถูกรถชนจากการข้ามถนน การสะดุดวัตถุสิ่งของหรือพื้นต่างระดับและไฟไหม้ ซึ่งมีระดับของโอกาสในการเกิดภัยสูงสุดตามลำดับ ในขณะที่แผ่นดินไหวมีโอกาสเกิดขึ้นได้น้อยที่สุด แต่แผ่นดินไหวกลับมีระดับความรุนแรงสูงสุด มหาวิทยาลัยควรใช้การสื่อสารที่มากกว่าหนึ่งช่องทางเพื่อให้ประชากรสามารถเข้าถึงข้อมูลชุดเดียวกันได้กว้างขวาง โดยให้สอดคล้องกับความนิยมในการใช้สื่อโดยเฉพาะอินเทอร์เน็ตซึ่งเป็นช่องทางในการเข้าถึงข้อมูลของกลุ่มตัวอย่างทั้งสามกลุ่มสูงที่สุด และควรส่งเสริมการใช้สื่อบุคคลและสื่อกิจกรรมให้มากขึ้น พร้อมๆ กับการใช้โปสเตอร์และป้ายประชาสัมพันธ์ โดยเน้นที่เนื้อหาสารความเสี่ยงโดยใช้จิตวิทยาการสื่อสารในขั้นตอนการพัฒนาเนื้อหาสาร ซึ่งจะสามารถสร้างความตระหนักและเกิดพฤติกรรมในการสื่อสารเพื่อลดความเสี่ยงมากขึ้น นอกจากนี้ยังพบความแตกต่างที่มีนัยสำคัญทางสถิติ เช่น คณะหรือหน่วยงานที่สังกัด, อายุ, ประสบการณ์ในจุฬาฯ ต่างกันมีค่าเฉลี่ยผลรวมพฤติกรรมการสื่อสารความเสี่ยงที่แตกต่างกัน ข้อเสนอแนะสำหรับมหาวิทยาลัย คือ ควรมีหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรง ซึ่งมีหน้าที่ในการสร้างจิตสำนึกความรับผิดชอบในเรื่องความปลอดภัยให้กับอาจารย์ บุคลากรและนิสิตให้มีทักษะทางด้านความปลอดภัย ส่งเสริมให้เกิดการสร้างเครือข่ายการสื่อสารเรื่องความปลอดภัยเพื่อให้เกิดการปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันในฐานะผู้มีส่วนได้ส่วนเสียร่วมกัน |
Other Abstract: | This research aims to study the composition, issues and important factors affecting communication to reduce disaster-related risks in Chulalongkorn University communication management. It is divided into two parts. The first part is a qualitative research using in-depth interviews of 20 people from 3 groups of teaching staff, officers and students. The second part is a quantitative study using survey method with 511 samples. The data is analyzed using descriptive statistics and one-way analysis of variance with SPSS program. The result shows the most of the samples fit the category of boy scouts and risk tolerant people. They are worried about safety and have their own way to cope with disasters. The appropriate communication channel for this group is to provide the general information emphasized on dangers and consequence of the disaster. Besides, the samples think that disaster comes from man made more than natural causes traffic accidents, car accidents, stumble and fire, respectively. The lowest frequency disaster is earthquake but is related as the highest level of disaster. The university is recommended to use more than one communication channel to amplify user ability to access the information by considering the popularity in media use. According to research, the Internet is most popularly used among the three sample groups. Meanwhile, the university is addressed to promote individual media, activities, poster and information board focusing on content about risks by using the communication psychology in content creation. This would create awareness and stimulate risk reduction communication behavior. Besider, there is some statistically significant difference between Faculties or affiliations, age and experience and the average of risk communication behavior. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (นศ.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551 |
Degree Name: | นิเทศศาสตรดุษฎีบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาเอก |
Degree Discipline: | นิเทศศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56029 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.2065 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2008.2065 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Comm - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
narong_kh_front.pdf | 13.98 MB | Adobe PDF | View/Open | |
narong_kh_ch1.pdf | 5.69 MB | Adobe PDF | View/Open | |
narong_kh_ch2.pdf | 43.57 MB | Adobe PDF | View/Open | |
narong_kh_ch3.pdf | 13.36 MB | Adobe PDF | View/Open | |
narong_kh_ch4.pdf | 93.84 MB | Adobe PDF | View/Open | |
narong_kh_ch5.pdf | 6.67 MB | Adobe PDF | View/Open | |
narong_kh_ch6.pdf | 25.66 MB | Adobe PDF | View/Open | |
narong_kh_back.pdf | 12.24 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.