Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5606
Title: คอมพิวเตอร์หมากรุกไทย : รายงานโครงการสิ่งประดิษฐ์
Other Titles: Computer Thai chess
Authors: บุญเสริม กิจศิริกุล
Email: [email protected], [email protected]
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
Subjects: อัลกอริทึม
หมากรุก -- ไทย
โปรแกรมคอมพิวเตอร์
การเขียนโปรแกรม (คอมพิวเตอร์)
Issue Date: 2539
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้ศึกษาเปรียบเทียบอัลกอริทึมค้นหาในหมากรุกไทย ได้แก่ อัลกอริทึมมินิแมกซ์+การลดทอนโดยอัลฟาเบตา อัลกอริทึม B* และอัลกอริทึมตัวเลขคอนสไปเรซี นำอัลกอริทึมมาพัฒนา โปรแกรมเล่นเกมหมากรุกไทยและหาข้อสรุปของอัลกอริทึมที่เหมาะสมในเกมหมากรุกไทยเรานิยามฟังก์ชันฮิวริสที่เหมาะสมต่อการเขียนโปรแกรมของอัลกอริทึมในหมากรุกไทย และทำการทดลองเพื่อเปรียบเทียบอัลกอริทึม การทดลองแบ่งออกเป็น 4 ชุดเพื่อใช้แข่งกันชุดละ 10 เกม การทดลองในแต่ละชุดได้ออกแบบขึ้นเพื่อวัดค่าคะแนนของหมากที่เหลือเมื่อควบคุมให้จำนวนโหนดที่สร้างได้ในแต่ละอัลกอรึทึมใกล้เคียงกัน หรือวัดค่าคะแนนของหมากที่เหลือเมื่อควบคุมเวลาในการสร้างตาเดินจากแต่ละอัลกอริทึมภายในเวลาเท่ากัน ทำการวัดประสิทธิภาพของอัลกอริทึมตามการทดลองที่ออกแบบไว้ โดยใช้โปรแกรมหมากรุกไทยที่พัฒนาขึ้น ผลการวิจัยพบว่า 1.)อัลกอริทึม B* ไม่เหมาะสมกับหมากรุกไทย เนื่องจากการนิยามฟังก์ชันฮิวริสติกสำหรับการลู่เข้าของอัลกอริทึมเป็นไปได้ยาก 2.)อัลกอริทึมตัวเลขคอนสไปเรซีสร้างตาเดินได้ดีกว่าอัลกอริทึมมินิแมกซ์+การลดทอนโดยอัลฟาเบตา เนื่องจากสืบค้นได้ลึกกว่าเมื่อกำหนดให้แต่ละอัลกอริทึมสร้างโหมดได้ใกล้เคียงกัน และ3.)อัลกอริทึมมินิแมกซ์+การลดทอนโดยอัลฟาเบตาสร้างตาเดินได้ดีกว่าอัลกอริทึมตัวเลขคอนสไปเรซี เนื่องจากสร้างโหนดได้มากกว่า เมื่อกำหนดให้แต่ละอัลกอริทึมสร้างตาเดินภายในเวลาเท่ากัน โดยสรุป อัลกอริทึมมินิแมกซ์+การลดทอนโดยอัลฟาเบตามีความเหมาะสมที่จะนำมาใช้ในเกมหมากรุกไทยมากกว่าอัลกอริทึมอื่น เนื่องจากประสิทธิภาพที่เหนือกว่าในด้านความเร็วของการสืบค้น และพื้นที่หน่วยความจำที่ใช้ อย่างไรก็ตามอัลกอริทึมตัวเลขคอนสไปเรซีเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจ ในแง่ของการสร้างตาเดินที่มีคุณภาพ หากแต่ยังมีความต้องการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพด้านความเร็ว และพื้นที่หน่วยความจำที่ใช้
Other Abstract: This research studies and compares three searching algorithms for a Thai Chess program which are the B* algorithm, the minimax with alpha-beta pruning algorithm and the conspiracy number algorithm. We implement these algorithms for a Thai Chess program to find out which one is most suitable for the Thai Chess program. To implement the algorithms for the Thai Chess program, we define appropriate heuristic-functions which significantly affect the performance of the algorithms. We then run experiments to compare the algorithms. The experiments are divided into 4 sets, each of which is composed of 10 games. Every set of the experiments is designed for evaluating the material value scores when nodes generated by each algorithm are nearly the same, or when each algorithm is controlled to give a move within the same limited times. The performance of each algorithm is then measured by using the developed Thai Chess program. The experimental results reveal that 1.)the B* algorithm is not appropriate for the ThaiChess program due to the difficulty of defining heuristic function for the convergency of the algorithm; 2.) the conspiracy number algorithm outperforms the minimax with alpha-beta pruning algorithm because of its deeper search, when given the same number of nodes to be explored ; and 3.) the minimax with alpha-beta pruning algorithm generates better moves than the conspiracy number algorithm does, when each algorithm must produce a move within the limited time. In summary, the minimax with. Alpha-beta pruning algorithm is more suitable for the Thai Chess program than the conspiracy number algorithm in terms of searching speed and memory used. However, conspiracy number algorithm is an interesting alternative as a quality of move obtained but further study of required to improve speed and memory.
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5606
Type: Technical Report
Appears in Collections:Eng - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
boonsermKij.pdf4.01 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.