Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5618
Title: การเปรียบเทียบผลของการเต้นแอโรบิกแบบศิลปะมวยไทยกับการเต้นแอโรบิกแบบแรงกระแทกต่ำที่มีต่อสมรรถภาพทางกาย
Other Titles: A comparison of effects of Thai boxing aerobic dance and low impact aerobic dance on physical fitness
Authors: สุดา กาญจนะวณิชย์
Advisors: ถนอมวงศ์ กฤษณ์เพ็ชร์
วิชิต ชี้เชิญ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: [email protected]
[email protected]
Subjects: แอโรบิก (กายบริหาร)
การเต้นแอโรบิก
สมรรถภาพทางกาย
Issue Date: 2543
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาและเปรียบเทียบผลของการเต้นแอโรบิกแบบศิลปะมวยไทยกับการเต้นแอโรบิกแบบแรงกระแทกต่ำที่มีต่อน้ำหนัก อัตราการเต้นของหัวใจขณะพัก ความดันโลหิตขณะหัวใจบีบตัวและคลายตัวขณะพัก ความอ่อนตัว เปอร์เซ็นต์ไขมันของร่างกาย ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแขนและขา ความจุปอดสมรรถภาพการจับออกซิเจนสูงสุด และอัตราการเต้นของหัวใจสูงสุดขณะปั่นจักรยาน กลุ่มตัวอย่างเป็นนิสิตหญิงที่พักอยู่ในหอพักของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อายุ 18-22 ปี ที่มีสุขภาพดี อาสาสมัครเข้าร่วมการทดลองครั้งนี้จำนวน 40 คน โดยใช้วิธีการจับคู่ (Matched group) จากการทดสอบสมรรถภาพการจับออกซิเจนสูงสุด แบ่งเป็น 2 กลุ่มๆ ละ 20 คน กลุ่มที่ 1 เป็นกลุ่มฝึกเต้นแอโรบิกแบบศิลปะมวยไทย กลุ่มที่ 2 เป็นกลุ่มฝึกเต้นแอโรบิกแบบแรงกระแทกต่ำ ใช้เวลาในการทดลอง 10 สัปดาห์ๆ ละ 3 วัน ๆ ละ 45 นาที วัดสมรรถภาพทางกายหลังการทดลอง 5 สัปดาห์ และหลังการทดลอง 10 สัปดาห์ นำผลที่ได้มาวิเคราะห์ตามวิธีทางสถิติ หาค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบค่า "ที" (t-test) นำข้อมูลหลังการทดลองทั้งสองกลุ่มมาวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวแบบวัดซ้ำ (One-way analysis of variance with repeated measures) และเปรียบเทียบความแตกต่างเป็นรายคู่ตามวิธีของ ตูกี (เอ) ที่ระดับนัยสำคัญ .05 ผลการวิจัยพบว่า 1. กลุ่มฝึกเต้นแอโรบิกแบบศิลปะมวยไทย ก่อนการทดลอง หลังการทดลอง 5 สัปดาห์และหลังการทดลอง 10 สัปดาห์ มีความดันโลหิตขณะหัวใจบีบตัวขณะพัก เปอร์เซ็นต์ไขมัน สมรรถภาพการจับออกซิเจนสูงสุด ความจุปอด ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแขนและขา และอัตราการเต้นของหัวใจสูงสุดขณะปั่นจักรยานแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ตัวแปรส่วนใหญ่พบว่าเริ่มมีความแตกต่างกันตั้งแต่สัปดาห์ที่ 5 2. กลุ่มฝึกเต้นแอโรบิกแบบแรงกระแทกต่ำ ก่อนการทดลอง หลังการทดลอง 5 สัปดาห์ และหลังการทดลอง 10 สัปดาห์ มีอัตราการเต้นของหัวใจขณะพัก ความอ่อนตัว เปอร์เซ็นต์ไขมัน สมรรถภาพการจับออกซิเจนสูงสุด ความจุปอด ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขา และอัตราการเต้นของหัวใจสูงสุดขณะปั่นจักรยาน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ตัวแปรส่วนน้อยพบว่าเริ่มมีความแตกต่างกันตั้งแต่สัปดาห์ที่ 5 3. หลังการทดลอง 10 สัปดาห์ กลุ่มฝึกเต้นแอโรบิกแบบศิลปะมวยไทย มีเปอร์เซ็นต์ไขมันลดลงและสมรรถภาพการจับออกซิเจนสูงสุดเพิ่มขึ้นมากกว่ากลุ่มฝึกเต้นแอโรบิกแบบแรงกระแทกต่ำอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Other Abstract: Studies and compares the effects of Thai boxing aerobic dance and low impact aerobic dance on physical fitness. The subjects were 40 volunteered female undergraduate students of Chulalongkorn University, aged between 18-22 years old, academic year 2000. They were divided equally into two groups by matched group: Thai boxing aerobic dance group and low impact aerobic dance group. Both groups exercised for 40 minutes a day, 3 days a week, for 10 weeks. Weight, resting heart rate, resting blood pressure, flexibility, percent of body fat, arm and leg muscle strength, maximum oxygen uptake, vital capacity and maximum heart rate during exercise were measured before and after 5 weeks and 10 weeks in both groups. The obtained data were then statistically analyzed in term of means and standard deviations. The t-test, one-way analysis of variance with repeated measures and Tukey (a) method were also employed to determine the significant differrence at the .05 level, respectively. The results were as follows: 1. In the Thai boxing aerobic dance group, these following physical fitness variables were significantly different at the .05 level after 5 weeks and 10 weeks of training : resting blood pressure (systolic), percent of body fat, maximum oxygen uptake, vital capacity, arm and leg muscle strength and maximum heart rate during exercise. 2. In the low impact aerobic dance group, these following physical fitness variables were significantly different at the .05 level after 5 weeks and 10 weeks of training : resting heart rate, flexibility, percent of body fat, maximum oxygen uptake, vital capacity, leg muscle strength and maximum heart rate during exercise. 3. After the 10 weeks of training, percent of body fat was decreased and maximum oxygen uptake was increased in the Thai boxing aerobic dance group which was significantly better than the low impact aerobic dance group at the 0.5 level.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พลศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5618
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2000.449
ISBN: 9741301316
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2000.449
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Suda.pdf5.3 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.