Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56468
Title: ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความผันแปรภายในบุคคลของเภสัชจลนศาสตร์ของยาทาโครลิมุสในผู้ป่วยชาวไทยที่ได้รับการปลูกถ่ายไต
Other Titles: FACTORS INFLUENCING INTRA-PATIENT VARIABILITY INPHARMACOKINETICS OF TACROLIMUS IN THE THAI KIDNEY TRANSPLANT RECIPIENTS
Authors: พิมพรรณ ลาภเจริญ
Advisors: สมฤทัย วัชราวิวัฒน์
ยิ่งยศ อวิหิงสานนท์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเภสัชศาสตร์
Advisor's Email: [email protected],[email protected]
[email protected],[email protected]
Issue Date: 2559
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยการใช้ยาในกลุ่ม dihydropyridine calcium channel blockers, proton pump inhibitors, อายุ, จำนวนรายการยาที่ผู้ป่วยได้รับ, ค่าร้อยละของสัมประสิทธิ์ของความผันแปร (percentage of coefficient of variation, CV%) ของฮีโมโกลบิน และ CV% อัลบูมิน กับค่าความผันแปรภายในบุคคลของของความเข้มข้นของ tacrolimus ในเลือดต่อขนาดที่ได้รับ (CV% C0/dose) ของยาทาโครลิมุส และสร้างสมการถดถอยพหุเพื่อทำนายค่า CV% ของ C0/dose ของยาทาโครลิมุส ในช่วง 1 เดือน ถึง 1 ปี ภายหลังการปลูกถ่ายไต วิธีการศึกษา: การศึกษานี้เป็นการศึกษาแบบย้อนหลัง โดยเก็บข้อมูลของผู้ป่วยที่มารับการรักษาระหว่างเดือนมกราคม พ.ศ. 2554 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 ณ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทยจากเวชระเบียน ผลการศึกษา: จากผู้ป่วย 128 ราย และค่า C0 ของยาทาโครลิมุสที่สภาวะคงที่ 1,385 ตัวอย่าง พบว่า อายุเฉลี่ยของผู้ป่วยเท่ากับ 42.6 ± 11.8 ปี มีจำนวนรายการยาเฉลี่ย 9 ± 2 รายการ ค่ามัธยฐาน (IQR) CV% ของฮีโมโกลบิน, CV% ของอัลบูมิน และ CV% ของ C0/dose ของยาทาโครลิมุส เท่ากับร้อยละ 8.04 (5.32 - 11.09) 4.91 (3.49 - 6.14) และ 24.26 (20.24 - 30.52) ตามลำดับ จำนวนรายการยาที่ผู้ป่วยได้รับ และค่า CV% ของฮีโมโกลบิน มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับค่า CV% ของ C0/dose ของยาทาโครลิมุส (r = 0.252, p = 0.004 และ r = 0.176, p = 0.043) เมื่อนำปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อค่า CV% ของ C0/dose ของยาทาโครลิมุส มาสร้างเป็นสมการโดยใช้สถิติวิเคราะห์สมการถดถอยพหุแบบขั้นตอน ได้ดังนี้ CV% ของ C0/dose = 1.142 (จำนวนรายการยาที่ได้รับ) + 17.092 (R2 = 0.059, p = 0.010) สรุป: จำนวนรายการยาที่ผู้ป่วยได้รับ และค่า CV% ของระดับฮีโมโกลบิน เป็นปัจจัยที่มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับค่า CV% ของ C0/dose ของยาทาโครลิมุส และจากการสมการถดถอยพหุพบว่าปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อค่า CV% ของ C0/dose ของยาทาโครลิมุส คือ จำนวนรายการยาที่ผู้ป่วยได้รับ
Other Abstract: Objectives: To determine relationship between factors as follow: co-medications (dihydropyridine calcium channel blockers and proton pump inhibitors), number of medications, age,percentage of coefficient of variation (CV%) of hemoglobin and CV% of albumin and intra-patient variability of dose-normalized concentrations of tacrolimus (CV% of C0/dose) and to develop an equation for estimation CV% of C0/dose of tacrolimus during 1 month and 1 year after transplantation. Methods: In this retrospective study, data of kidney transplant patients who visited King Chulalongkorn Memorial Hospital during January 2011 and February 2016 were collected from medical records. Result: From 128 patients, 1,385 steady state trough concentrations were collected. The mean age and number of medication usage in each patient were 42.6 ± 11.8 years and 9 ± 2 items, respectively. The median (IQR) of CV% of hemoglobin, CV% of albumin and CV% C0/dose of tacrolimus in all patients were 8.04 (5.32 - 11.09), 4.91 (3.49 - 6.14) and 24.26 (20.24 - 30.52), respectively. The number of medications and CV% of hemoglobin were positively correlated with CV% of C0/dose of tacrolimus (r = 0.252, p = 0.004; r = 0.176, p = 0.043), respectively. Utilizing multiple regression analysis (stepwise approach) to create equation, the result showed that only the number of medications was able to predict CV% of tacrolimus C0/dose. The prediction equation was generated as follow: CV% of C0/dose = 1.142(number of medications) + 17.092, (R2 = 0.059, p = 0.010). Conclusion: Number of medication use and CV% of hemoglobin are positively correlated with CV% of C0/dose of tacrolimus. From the regression model, the number of medications is the only factor that influencing CV% of C0/dose of tacrolimus.
Description: วิทยานิพนธ์ (ภ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559
Degree Name: เภสัชศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เภสัชกรรมคลินิก
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56468
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.88
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2016.88
Type: Thesis
Appears in Collections:Pharm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5776122533.pdf6.06 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.