Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5660
Title: การเปรียบเทียบบทบาทของระบบการควบคุมภายในและการตรวจสอบ และการประเมินเทียบเคียงในธุรกิจโรงพยาบาลและโรงแรม
Other Titles: A comparative study of the internal auditing systems and benchmarking of the hospital and hotel businesses
Authors: อรนุช สูงสว่าง
อุทัย ตันละมัย
Email: [email protected]
[email protected]
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี
Subjects: การตรวจสอบภายใน
การเปรียบเทียบจุดเด่น (การจัดการ)
โรงพยาบาล -- การบริหาร
โรงแรม -- การบริหาร
อุตสาหกรรมโรงแรม
Issue Date: 2548
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: สภาพแวดล้อมของการควบคุมภายในที่ดีจะช่วยส่งเสริมให้มีการตัดสินใจในเชิงกลยุทธ์ที่มีประสิทธิผลไปด้วย ซึ่งระบบควบคุมภายใน ระบบการกำกับดูแลที่ดี และระบบประเมินเทียบเคียง เป็นระบบที่สร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียขององค์กร การเก็บข้อมูลสำหรับนักวิจัยฉบับนี้ประกอบด้วย การเก็บข้อมูลเชิงสำรวจโดยใช้แบบสอบถาม ที่ประกอบด้วยการวิจัยนำร่องได้ส่งไปยังกลุ่มผู้เข้าอบรมหลักสูตรผู้ตรวจสอบภายใน (CIA) และสมาชิกสมาคมผู้ตรวจสอบภายใน (IIAT) หลังจากนั้นก็มีการปรับคำถามเล็กน้อยและส่งแบบสอบถามไปยังผู้ตรวจสอบภายในของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์โดยใช้กรอบแนวคิดเดียวกัน นอกจากนั้นยังมีเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ตรวจสอบภายในของธุรกิจโรงพยาบาลและโรงแรมที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ผลการวิจัยนำร่องพบว่ากลุ่มตัวอย่างทั้งสองให้ผลการวิเคราะห์ที่ใกล้เคียงกัน โดยส่วนใหญ่มีหน่วยงานตรวจสอบภายในโดยเฉพาะ มีระบบการกำกับดูแลที่ดี และระบบการคบคุมภายในอยู่ในระดับที่ชัดเจน อักทั้งมีความเป็นอิสระระหว่างคณะกรรมการตรวจสอบและผู้ตรวจสอบภายใน นอกจากนั้นยังพบว่า กลยุทธ์วัตกรรมและกลยุทธ์ผู้นำต้นทุนมีความสัมพันธ์กับสภาวะแวดล้อมของระบบการควบคุมภายในและความชัดเจนในระบบสร้างความเชื่อมั่นทั้งสาม กล่าวคือการที่องค์กรจะตัดสินใจใช้กลยุทธ์ใดนั้น จะคำนึงถึงสภาพแวดล้อมและความชัดเจนของระบบสร้างความเชื่อมั่น ซึ่งส่งผลต่อการดำเนินการและความสำเร็จของประประเมินเทียบเคียงพอสมควร เช่นเดียวกันกับการวิจัยนำร่อง ผลการสำรวจบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยพบว่าองค์กรส่วนใหญ่เห็นว่าตนเองมีความชัดเจนในระบบสร้างความเชื่อมั่นทั้งสามระบบ และสภาพแวดล้อมของระบบควบคุมภายในทั้งระดับองค์กรและระดับผุ้บริหารระดับต้นที่ดีมาก ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรพบว่า ความชัดเจนของระบบสร้างความเชื่อมั่นยิ่งมากเท่าใด ก็ยิ่งมีสภาวะแวดล้อมของระบบการควบคุมภายในที่ดี อีกทั้งมีระดับความสำเร็จของการประเมินเทียบเคียงในขั้นสูง และการดำเนินการด้านการประเมินเทียบเคียงมากเท่านั้น ในแง่ของกลยุทธ์ไม่พบความแตกต่างระหว่างองค์กรที่ใช้หรือไม่ใช้กลยุทธ์กับความชัดเจนของระบบสร้างความเชื่อมั่นเท่าใดนัก การสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ตรวจสอบภายในโรงพยาบาลและโรงแรมในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย พบว่า องค์กรส่วนใหญ่ทำตามแนวทางการกำกับดูแลที่ดีที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยได้ให้ไว้ โดยการใช้ระบบการตรวจสอบภายในตามหลักการของ COSO (The Committee of Sponsoring Organizations) และมีการใช้แนวคิดการบริหารความเสี่ยงทั่วทั่งองค์กร (Enterprise Risk Management หรือ ERM) โดยที่จะทำการตรวจสอบด้านการเงินและการดำเนินงานมากกว่าด้านกลยุทธ์ อย่างไรก็ตาม การตรวจสอบภายในส่วนใหญ่เป็นลักษณะการตรวจสอบเพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามกฎระเบียบในการทำธุรกิจขององค์กรอย่างถูกต้อง (Compliance) แต่ก็มีความพยายามอย่างยิ่งที่จะตรวจสอบความเสี่ยงในด้านการเงิน และการดำเนินงานควบคู่กันไป สำหรับโรงพยาบาลซึ่งส่วนใหญ่มีการดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพ HA ผู้ตรวจสอบภายในจะพยายามมีส่วนร่วมในการประกันคุณภาพดังกล่าวเพื่อให้ได้ข้อมูลการตรวจสอบที่ลดความทับซ้อนลง และใช้เป็นจุดเริ่มต้นของการตรวจติดตามได้ดีขึ้น และในส่วนของโรงแรมซึ่งถ้าใช้การทำสัญญาจ้างการบริหารงานของ chain นานาชาติ ก็จะมีการตรวจสอบภายในจากทั้งด้านของ chain ด้านของเจ้าของเอง ดังนั้นจึงมีความซับซ้อนพอควรแต่ก็ยังเน้นการตรวจสอบด้านการเงินและการดำเนินงานมากกว่าด้านกลยุทธ์เช่นกัน
Other Abstract: Good internal control environment can support a firm’s strategic direction. Corporate governance, internal control, and benchmarking are the most typical systems that can build confidence to corporate stakeholders. The present study collected data from different sources. A pilot study using survey instruments was conducted with two groups, participants of the CIA training programs and the members of the Institute of Internal Audit of Thailand. After the pilot study, some adjustment was made to the questionnaire and it was used to collect data from the companies listed in the Stock Exchange of Thailand. Also, in-depth interviews were conducted with the internal auditors of the listed hospitals and the listed hotels. Results from two pilot study groups are similar. The majorities of the firms in which the subjects work have their own internal audit unit; have good corporate governance system and a clear internal control system. They reported an independent between the audit committee and the internal auditors, Besides, There are relationships found between the ‘innovative’ and ‘cost leadership’ strategies and the quality of good internal control environment as well as the clarity of the three confident support systems. Organizations making strategic decisions will consider how good are their firm’ s control environment and how clear are their confident support systems which in turns will affect the firm’s performance and their benchmarking success. Similar or results found in the pilot study, the analyses of survey data from all groups show consistent results that there is a high level of clarity on the three support system. Also the clearer that systems are, the better would the internal control environment of rated and the higher level is the firm’s benchmarking stairway to success. However, there was no different found between the firm’s that chose or did not choose a given strategy regardless or the clarity of any of the confident support systems. Results from in-depth interview with the internal auditors of these listed firms indicate that the majority of these firms have strictly followed the guideline for good corporate governance. They use the COSO as their internal audit framework and expand to Enterprise Risk Management (ERM) framework, the internal auditors still focus on financial and operational audits more so than strategy audits. Compliance audits to ensure that the rules, regulations, and legal issues are met diligently are still the primary tasks of an internal auditor, although every attempt is made to incorporate financial and operational risk issues in the auditing process. With regard to must listed hospitals, they are in process of obtaining Hospital Accreditation (HA). The internal auditors in those firms would make effort to be involved with the HA processes so as to reduce the overlapping of audit works as well as to use some quality assurance findings as the starting point for their follow-up audits. Large hotels, especially those being on management contracts with an international chain, will typically have two internal audit teams, one from the property owner side and one from the chain side. The are some overlaps, and yet most of the audit works are again concentrated on financial and operational related issues rather than strategic issues.
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5660
Type: Technical Report
Appears in Collections:Acctn - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Oranuj_Comparative.pdf10.25 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.