Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56836
Title: | Bioavailability of -oryzanol using caco-2 cells culture model and its antioxidant activities against low - density lipoprotein oxidation |
Other Titles: | การดูดซึมแกมมา-โอรีซานอลโดยใช้เซลล์เพาะเลี้ยงเยื่อบุลำไส้ชนิดเคโกะ-ทูและฤทธิ์ต้านการเกิดอนุมูลอิสระในไลโปโปรตีนชนิดความหนาแน่นต่ำ |
Authors: | Kittana Mäkynen |
Advisors: | Tipayanate Ariyapitipun |
Other author: | Chulalongkorn University. Graduate School |
Advisor's Email: | [email protected] |
Subjects: | Antioxidants Free radicals (Chemistry) แอนติออกซิแดนท์ อนุมูลอิสระ |
Issue Date: | 2009 |
Publisher: | Chulalongkorn University |
Abstract: | Gamma-oryzanol (γ-OR) is a unique phytosterol in rice bran and its oil. It is a mixture of 10 distinct triterpene derived compounds that are esterified to ferulic acid. Hypocholesterolemic of rice bran oil and γ-OR in animal and human studies have been reported. This study aimed to investigate the proposed mechanism of γ-OR on hypocholesterolemic and antioxidant activities of γ-OR against LDL oxidation. The effects of γ-OR on the cholesterol micellarization, cholesterol uptake by Caco-2 intestinal cells, and HMG-CoA reductase activity were determined. The results showed that γ-OR incorporated efficiently into micelles during simulated digestion of rice meal mixed with high γ-OR oil. High concentration of γ-OR at 1500 µM did not decrease the efficiency of micellarization of cholesterol at 400 µM in synthesis micelles. At 10- and 20-fold molar ratios to cholesterol but low concentration (13 and 26 µM), γ-OR did not inhibit the efficiency of cholesterol micellarization during simulated digestion. Nevertheless, γ-OR at 20-fold molar ratio to cholesterol significantly decreased cholesterol uptake by Caco-2 intestinal cells (p<0.05). In addition, γ-OR showed the inhibitory effect on the HMG-CoA reductase activity similar to simvastatin. Furthermore, the antioxidant activities of γ-OR against LDL oxidation were investigated in seven healthy volunteers. Isolated LDL fractions were prepared and the measurement of conjugated dienes, thiobarbituric acid-reactive substances (TBARS) formation, relative electrophoresis mobility (REM), and apo B-100 fragmentation were assessed with varies concentrations of γ-OR compared with ferulic acid and α-tocopherol after initiation of in vitro oxidation for 4 hours. This in vitro study demonstrated that γ-OR was a good antioxidant against LDL oxidation. Gamma-oryzanol provided stronger antioxidative activity than those of ferulic acid and α-tocopherol in decreasing TBARS formation, and the same as that of ferulic acid and α-tocopherol in the REM test (p<0.05). Furthermore, γ-OR was good at prolonging the lag time of conjugated diene formation, and reducing apo B-100 fragmentation, although it was weaker than those of ferulic acid and α-tocopherol (p<0.05). These findings suggest that γ-OR provide the strong antioxidative activity against LDL oxidation. Moreover, hypocholesterolemic activity of γ-OR is supposedly due to the inhibition of cholesterol biosynthesis, rather than the inhibition of cholesterol micellarization. However, further study is still needed in nutrigenomic approach to understand the whole hypocholesterolemic mechanism. |
Other Abstract: | แกมมา-โอรีซานอลเป็นสารไฟโตสเตอรอลชนิดหนึ่งที่พบในรำข้าวและน้ำมันรำข้าวเท่านั้น มีองค์ประกอบเป็นสารไตรเทอร์ปีน 10 ชนิด ที่จับกับกรดเฟอรูลิก มีรายงานการวิจัยในสัตว์ทดลองและในมนุษย์ถึงความสามารถของแกมมา-โอรีซานอลในการลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือด รวมถึงฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระในหลอดทดลอง การวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการลดคอเลสเตอรอลของแกมมา-โอรีซานอลและการต้านการเกิดออกซิเดชันจากอนุมูลอิสระในไลโปโปรตีนชนิดความหนาแน่นต่ำ (แอลดีแอล) โดยทำการศึกษาการดูดซึมแกมมา-โอรีซานอลเข้าสู่เซลล์เยื่อบุลำไส้ชนิดเคโกะ-ทู การยับยั้งคอเลสเตอรอลเข้าสู่ไมเซลล์สังเคราะห์ในหลอดทดลองและในไมเซลล์จากระบบย่อยอาหารจำลองตั้งแต่ปาก กระเพาะอาหาร และลำไส้เล็ก ตลอดจนปริมาณคอเลสเตอรอลที่สามารถดูดซึมเข้าสู่เซลล์เยื่อบุลำไส้เมื่อมีแกมมา-โอรีซานอลอยู่ในระบบที่ความเข้มข้นต่าง ๆ พบว่าแกมมา-โอรีซานอลสามารถย่อยและเข้าสู่ไมเซลล์ในระบบย่อยอาหารจำลองได้ดี แกมมา-โอรีซานอลในระดับความเข้มข้น 1500 ไมโครโมลาร์ ไม่สามารถลดการเข้าสู่ไมเซลล์ของคอเลสเตอรอลได้ที่ระดับความเข้มข้นคอเลสเตอรอล 400 ไมโครโมลาร์ ความเข้มข้นของแกมมา-โอรีซานอลที่ระดับต่ำๆ (13 และ 26 ไมโครโมลาร์) แม้มีสัดส่วนโมลาร์ของแกมมา-โอรีซานอลต่อคอเลสเตอรอลสูงถึง 10 และ 20 เท่า ไม่มีผลในการลดความสามารถของคอเลสเตอรอลเข้าสู่ไมเซลล์ในระบบย่อยอาหารจำลอง แม้ว่าแกมมา-โอรีซานอลที่สัดส่วนโมลาร์ 20 เท่าของคอเลสเตอรอลสามารถลดการดูดซึมคอเลสเตอรอลเข้าสู่เซลล์เยื่อบุลำไส้ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) นอกจากนี้พบว่าแกมมา-โอรีซานอลสามารถยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ HMG-CoA reductase ซึ่งเป็นเอนไซม์สำคัญในการสังเคราะห์คอเลสเตอรอลในร่างกายได้เทียบเท่ากับยาซิมวาสเตติน ส่วนผลการทดสอบฤทธิ์ต้านการเกิดออกซิเดชันในแอลดีแอลที่แยกได้จากอาสาสมัครสุขภาพดี จากการวิเคราะห์ค่า conjugated dienes, thiobarbituric acid-reactive substances (TBARS), relative electrophoresis mobility (REM) และ apo B-100 fragmentation หลังจากกระตุ้นแอลดีแอลให้เกิดออกซิเดชันเป็นเวลา 4 ชั่วโมง พบว่าแกมมา-โอรีซานอลสามารถลดการเกิดออกซิเดชันในแอลดีแอลได้ดีในทุกการทดสอบ และมีฤทธิ์แรงกว่ากรดเฟรูลิกและแอลฟ่า- โทโคฟีรอลในการยับยั้งการเกิด TBARS มีฤทธิ์เสมอกันกับกรดเฟรูลิกและแอลฟ่า-โทโคฟีรอลในการทดสอบ REM แต่มีฤทธิ์อ่อนกว่ากรดเฟรูลิกและแอลฟ่า-โทโคฟีรอล ในการยับยั้งการเกิด conjugated dienes และ apo B-100 fragmentation ดังนั้น จากการศึกษานี้พบว่าแกมมา-โอรีซานอลมีความสามารถในการต้านการเกิดออกซิเดชันในแอลดีแอลได้ดี และเป็นไปได้ว่าความสามารถของแกมมา-โอรีซานอลในการลดคอเลสเตอรอลในเลือดนั้น ไม่เกิดจากการที่แกมมา-โอรีซานอลขัดขวางคอเลสเตอรอลเข้าสู่ไมเซลล์ระหว่างกระบวนการย่อยอาหาร แต่อาจเกิดจากการลดการสังเคราะห์คอเลสเตอรอลในร่างกายโดยยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ HMG-CoA reductase อย่างไรก็ตาม ควรมีการวิจัยเชิงลึกเพิ่มเติมระดับยีนต่อไปเพื่อให้เข้าใจกลไกโดยรวมทั้งหมด |
Description: | Thesis (Ph.D.)--Chulalongkorn University, 2009 |
Degree Name: | Doctor of Philosophy |
Degree Level: | Doctoral Degree |
Degree Discipline: | Biological Sciences |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56836 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Kittana Mäkynen.pdf | 2.19 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.