Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56934
Title: | หน้าที่ของคำ "DE" ในหนังสือพิมพ์ภาษาจีนที่ตีพิมพ์ในประเทศไทย |
Other Titles: | Funtions of "DE" in Chinese-language newspapers issued in Thailand |
Authors: | กิตติชัย พินโน |
Advisors: | กิ่งกาญจน์ เทพกาญจนา |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected] |
Subjects: | ภาษาจีน -- การใช้ภาษา ภาษาจีน -- วากยสัมพันธ์ หนังสือพิมพ์จีน -- ไทย Chinese language -- Usage Chinese language -- Syntax Chinese newspaper -- Thailand |
Issue Date: | 2551 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | "DE" เป็นคำในภาษาจีนที่สามารถแสดงด้วยอักษรจีนได้หลายรูปและเป็นคำที่นักภาษาศาสตร์และนักวิชาการด้านภาษาจีนสนใจศึกษามานานแล้ว แต่การศึกษาเท่าที่เป็นอยู่มักจำกัดอยู่เพียงบางหน่วยสร้างที่ "DE" ปรากฏอยู่เท่านั้น การนำเสนอผลการศึกษาส่วนมากไม่ได้แสดงรูปอักษรจีน ทำให้บางครั้งเกิดความสับสนได้ว่าการศึกษานั้นๆ ศึกษา "DE" รูปเขียนใดเนื่องจาก "DE" มีหลายรูปเขียน สามารถปรากฏได้ในหลายหน่วยสร้างและ "DE" ต่างรูปเขียนอาจปรากฏในตำแหน่งเดียวกันในหน่วยสร้างเดียวกันได้ วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มุ่งศึกษาคำ "DE" ทุกรูปเขียนและในทุกตำแหน่ง โดยรวบรวมข้อมูลจากหนังสือพิมพ์ภาษาจีนที่ตีพิมพ์และเผยแพร่ในประเทศไทยทั้งสิ้น 30 ฉบับและสุ่มเลือกข้อมูลที่เป็นข่าวซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในประเทศไทยวันละ 1 เรื่องจากหนังสือพิมพ์ภาษาจีน 6 รายชื่อคือ 1) หนังสือพิมพ์ซิงเสียนเยอะเป้า 2) หนังสือพิมพ์ซื่อเจี้ยยื่อเป้า 3) หนังสือพิมพ์ตงฮั้ว 4) หนังสือพิมพ์เกียฮั้วตงง้วน 5) หนังสือพิมพ์ซิงจงเอี๋ยน และ 6) หนังสือพิมพ์เอเซียนนิวส์ไทม์ ผู้วิจัยรวบรวมข้อมูลรูปเขียนทั้งหมดของ "DE" ก่อนแล้วจึงจำแนกคำ "DE" ตามตำแหน่งและหน่วยสร้างที่ปรากฏ และพิจารณาหน้าที่ของ "DE" แต่ละรูปเขียนในแต่ละหน่วยสร้างเพื่อนำไปสู่ข้อสรุปซึ่งแสดงให้เห็นลักษณะเฉพาะของคำ "DE" ในภาษาจีนที่ใช้ในประเทศไทยเป็นสำคัญ ผลการวิจัยพบว่าคำ “DE” ที่ใช้ในหนังสือพิมพ์ภาษาจีนที่ตีพิมพ์และเผยแพร่ในประเทศไทยมีทั้งสิ้น 3 รูปเขียน คือ 的, 地 และ 得 โดยที่ “DE” ทั้งสามรูปเมื่อปรากฏในหน่วยสร้างที่แตกต่างกันจะมีความหมายแตกต่างกันไป หากพิจารณาจากส่วนหลัก พบว่ารูปเขียน 的มีส่วนหลักอยู่ในตำแหน่งหลัง “DE” และส่วนหลักนั้นเป็นนามวลี นามวลีไร้รูป หรือเป็นกริยาวลีก็ได้ ส่วนหลักของรูปเขียน 地 มีตำแหน่งอยู่หลัง “DE” เช่นเดียวกันแต่ส่วนหลักนั้นเป็นกริยาวลีอย่างเดียวส่วนรูปเขียนสุดท้ายคือ 得มีส่วนหลักเป็นกริยาวลีเช่นเดียวกับรูปเขียน 地 แต่ต่างกันตรงที่มีตำแหน่งของส่วนหลักอยู่หน้า “DE” อย่างไรก็ตามแม้ว่า “DE” แต่ละรูปเขียนจะปรากฏในหน่วยสร้างที่แตกต่างกันและมีความหมายต่างกันไป แต่รูปเขียนทุกรูปต่างก็มีหน้าที่เดียวกันคือเป็นตัวบ่งชี้แสดงการขยาย |
Other Abstract: | “DE” is a word in Chinese which can be realized by many characters. It is a word which linguists and scholars of Chinese language have been studying for several years. However, previous studies of “DE” are limited to one of the constructions in which it occurs. Furthermore, most studies do not present the Chinese characters. Those studies give rise to confusion because it is not clear to the reader which character of “DE” a given research work is investigating. “DE” has many characters and can appear in the same positions in the same constructions. This study aims to examine all characters of “DE” appearing in all positions in all constructions. The data used in this study is collected from a total of 30 issues of six Chinese language newspapers in Thailand. The six Chinese language newspapers are Xinxian Ribao, Shijie Ribao, Zhonghua Ribao, Jinghua Zhongyuan, Xinzhongyuan Bao, and Yazhou Ribao. One piece of news about situations in Thailand is randomly selected from each issue of the newspaper. All characters of “DE” collected are classified according to their positions and constructions in which they appear. Their functions are then analyzed. The analysis leads to conclusions about the characteristics of “DE” used in Chinese language newspaper published in Thailand. It is found that “DE” in the Chinese language newspapers in Thailand is realized by three characters: 的, 地 and 得. They have different functions and meanings when they appear in different positions. The character 的 is followed by the head realized as a noun phrase; 地is also followed by the head realized as a verb phrase; and 得is preceded by the head realized by a verb phrase. All characters have the same function, namely, being a modification marker. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551 |
Degree Name: | อักษรศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | ภาษาศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56934 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.210 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2008.210 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Arts - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
kittichai_pi_front.pdf | 1.06 MB | Adobe PDF | View/Open | |
kittichai_pi_ch1.pdf | 1.31 MB | Adobe PDF | View/Open | |
kittichai_pi_ch2.pdf | 1.78 MB | Adobe PDF | View/Open | |
kittichai_pi_ch3.pdf | 4.88 MB | Adobe PDF | View/Open | |
kittichai_pi_ch4.pdf | 7.24 MB | Adobe PDF | View/Open | |
kittichai_pi_ch5.pdf | 1 MB | Adobe PDF | View/Open | |
kittichai_pi_back.pdf | 20.36 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.