Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/57087
Title: | ตัวแปรที่จำแนกความสำเร็จของนักเรียนในเขตภาคเหนือ ในการสอบเข้ามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ประเภทโครงการพิเศษ |
Other Titles: | Variables discriminating the success of students in northern region of Thailand to Chiengmai University entrance examination in accordance with special projects |
Authors: | ศิริ ศรีนวลฟูต๊ะ |
Advisors: | ทวีวัฒน์ ปิตยานนท์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Advisor's Email: | [email protected] |
Subjects: | มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ -- การสอบคัดเลือก การสอบคัดเลือก ความสำเร็จ ความเสมอภาคทางการศึกษา -- ไทย ค่านิยมสังคม ตัวแปร |
Issue Date: | 2535 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อวิเคราะห์หาตัวแปรที่จำแนกความสำเร็จของนักเรียนในเขตภาคเหนือในการสอบเข้ามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ประเภทโครงการพิเศษ ประจำปีการศึกษา 2532 ผลการวิจัยพบว่า ตัวแปรที่จำแนกกลุ่มนักเรียนที่สอบคัดเลือกได้และสอบไม่ได้ ประกอบด้วยเกรดเฉลี่ยในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ระยะเวลาที่ใช้ในการเตรียมสอบคัดเลือก อาชีพของบิดารับราชการ ระดับการศึกษาของมารดา อาชีพของบิดารับจ้าง อาชีพของบิดาค้าขาย การจัดซื้อหนังสือและอุปกรณ์การเรียน อาชีพของบิดาทำการเกษตรกรรม แผนการเรียนอังกฤษ-ฝรั่งเศส การเรียนพิเศษหรือเรียนกวดวิชา ความเหมาะสมของสถานที่ในบ้านสำหรับการทำงาน-อ่านหนังสือ ท้องถิ่นที่เกิดในเขตเทศบาล การให้คำแนะนำของครูผู้สอนและครูประจำชั้น เชื้อชาติของบิดา และความมุ่งหวังของบิดามารดาหรือผู้ปกครองในการศึกษาต่อของนักเรียน ตัวแปรดังกล่าวมีแนวโน้มเป็นลักษณะของกลุ่มนักเรียนที่สอบได้ และตัวแปรที่มีแนวโน้มเป็นลักษณะของกลุ่มนักเรียนที่สอบไม่ได้ ได้แก่ เพศ อาชีพของมารดารับราชการ การแลกเปลี่ยนความรู้ใหม่ของสมาชิกในครอบครัว การจัดสอนพิเศษของโรงเรียนโดยจ้างบุคคลภายนอกมาสอน การแนะนำของสมาชิกในครอบครัวให้นักเรียนอ่านหนังสือที่เป็นประโยชน์ต่อการเรียน แผนการเรียนอังกฤษ-คณิตศาสตร์ การแนะนำหรืออธิบายการบ้านให้นักเรียน การจัดครูในโรงเรียนสอนเสริมนอกเวลาเรียนปกติ และการดูหนังสือเพื่อเตรียมสอบคัดเลือกโดยดูคนเดียวแล้วให้รุ่นพี่ติวให้ |
Other Abstract: | This research aims to analyze variables that discriminate the success of Northern students in taking Chiengmai University entrance examination on Special Project in the academy year 1989. The study shows that variables that discriminate groups of students who do and do not pass the university entrance examination consist of students’ average grade of Matayomsuksa 6, periods of time for their preparations, parents’ occupations, mother’s level of education, books and materials for studying, English-French Program of study, special study, a suitable place at home for working and studying, place of birth in municipal area, advice and guidance of teachers, father’s nationality and parents’ expectation for their children to future educations. These mentioned variables tend to be characteristic of those students who passed the entrance exam. The variables that tend to be characteristic of those students who did not pass the entrance exam are sex, mother working in government section, knowledge exchanging between family, school’s special teaching by other outside teachers, advice and guidance by family members to read useful books, teachers teaching outside schedule, studying alone and having university students as tutors. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2535 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | สถิติการศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/57087 |
ISBN: | 9745814679 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Siri_sr_front.pdf | 1.03 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Siri_sr_ch1.pdf | 1.63 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Siri_sr_ch2.pdf | 932.52 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Siri_sr_ch3.pdf | 626.55 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Siri_sr_ch4.pdf | 2.41 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Siri_sr_ch5.pdf | 947.11 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Siri_sr_back.pdf | 1.1 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.