Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5712
Title: ผลของเพลงสอนภาษาอังกฤษที่มีต่อทัศนคติ การแสวงหาความรู้ ความพึงพอใจและการใช้ประโยฃน์ของผู้ฟัง
Other Titles: Effect of English-teaching songs on listeners' attitudes, information seeking, satisfaction and utilization
Authors: เกศริน พนารังสรรค์
Advisors: ปาริชาติ สถาปิตานนท์ สโรบล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
Advisor's Email: [email protected]
Subjects: ภาษาอังกฤษ -- การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา)
ทฤษฎีสารสนเทศในการศึกษา
Issue Date: 2543
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาผลของสื่อเพลงสอนภาษาอังกฤษที่มีต่อทัศนคติของผู้ฟังเกี่ยวกับภาษาอังกฤษ การแสวงหาความรู้ ความพึงพอใจและการนำสื่อเพลงสอนภาษาอังกฤษไปใช้ประโยชน์ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการจัดสนทนากลุ่มกับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายที่ได้ฟังสื่อเทปเพลงสอนภาษาอังกฤษ จำนวน 5 กลุ่ม ผลการวิจัยพบว่า สื่อเพลงสอนภาษาอังกฤษมีผลทำให้ผู้ฟังมีทัศนคติต่อคำศัพท์ภาษาอังกฤษในทางที่ดีขึ้น โดยคิดว่าคำศัพท์ภาษาอังกฤษเป็นเรื่องง่ายขึ้น และรู้สึกชอบคำศัพท์ภาษาอังกฤษมากขึ้น อีกทั้งสื่อเพลงสอนภาษาอังกฤษยังมีผลทำให้ผู้ฟังเปลี่ยนทัศนคติต่อวิธีการเรียนการสอนภาษาอังกฤษไปในทางบวก คือ ผู้ฟังมองว่าการเรียนภาษาอังกฤษโดยใช้สื่อเพลงไม่น่าเบื่อและไม่ใช้เรื่องยาก อย่างไรก็ตาม สื่อเพลงสอนภาษาอังกฤษมีผลต่อทัศนคติของผู้ฟังในด้านไวยากรณ์ภาษาอังกฤษในระดับต่ำ เนื่องจากเพลงสอนไวยากรณ์มีเนื้อหาไม่ครอบคลุมไวยากรณ์ทุกประเด็นที่ผู้ฟังต้องเรียนตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ อย่างไรก็ตาม สื่อเพลงสอนภาษาอังกฤษมีผลต่อการแสวงหาความรู้ภาษาอังกฤษเพิ่มเติมของผู้ฟังในระดับต่ำ ผู้ฟังส่วนใหญ่ไม่ได้แสวงหาความรู้ภาษาอังกฤษเพิ่มเติม สำหรับผู้ฟังส่วนน้อยที่แสวงหาความรู้เพิ่มเติม เนื่องจากมีความจำเป็นต้องนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ หรือเป็นบุคลิกภาพส่วนตัวของผู้ฟัง นอกจากนี้ ผลการวิจัยยังพบว่า ผู้ฟังมีความพึงพอใจในสื่อเพลงสอนภาษาอังกฤษทั้งด้านงานผลิตเพลงและด้านเนื้อหาคำศัพท์ที่ใช้ในเพลงอยู่ในระดับสูง แต่มีความพึงพอใจด้านเนื้อหาไวยากรณ์ภาษาอังกฤษในระดับปานกลาง นอกจากนั้น ผู้ฟังสามารถใช้ประโยชน์จากเพลงในการเรียน การเขียนหรือการฟังในชีวิตประจำวัน เพื่อความบันเทิง คลายเครียด สร้างความมั่นใจในตัวเองและสร้างความสัมพันธ์กับเพื่อน
Other Abstract: Studies the effect of English-teaching songs on listeners' attitudes towards the English language, information seeking, and satisfaction as well as the utilization of the songs. This qualitative research was conducted upon 5 focus group interviews with high school students who listened to the English-teaching songs. The result indicates that the English-teaching songs do affect listeners in terms of English vocabulary, making the English vocabulary an easier matter for them. Furthermore, the songs have an impact on listeners' attitudes towards the English teaching methodology, enabling them to learn English with more fun. However, the songs have a slight effect on listeners grammatically since the grammar songs do not cover all the grammer contents required in their school curriculum. However, the songs affect the listeners' information seeking at a low level. The majority don't look up details after listening to the songs. Only a few seek further information, simply because they are obliged or enthusiastic to. Besides, it is found that listeners are relatively satisfied with both the vocabulary content in the songs and the songs' production, but with the grammar content in a moderate extent. As for the utilization of the songs, listeners utilize them for different purposes including studying, entertainment, stress relief, self-confidence enhancement and relationship strengthening with friends.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิเทศศาสตรพัฒนาการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5712
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2000.265
ISBN: 9741306423
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2000.265
Type: Thesis
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
KesarinPhan.pdf1.58 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.