Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/57253
Title: ปัจจัยคัดสรรที่สัมพันธ์กับการมีเพศสัมพันธ์ที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวีของวัยรุ่น
Other Titles: Selected factors related to sexual HIV risk-taking of adolescents
Authors: ธิตนาถ ลิ่มอรุณ
Advisors: พรรณระพี สุทธิวรรณ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะจิตวิทยา
Advisor's Email: [email protected]
Subjects: วัยรุ่น -- พฤติกรรมทางเพศ
เพศสัมพันธ์
โรคเอดส์
การติดเชื้อเอชไอวี
Adolescince -- Sexual behavior
Sexual intercourse
AIDS (Disease)
HIV infections
Issue Date: 2549
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายถึงปัจจัยคัดสรรที่มีความสัมพันธ์กับการมีเพศสัมพันธ์ที่เสี่ยงต่อการ ติดเชื้อ HIV ของวัยรุ่นชายและวัยรุ่นหญิง โดยศึกษาในส่วนของพฤติกรรมการใช้ถุงยางอนามัย กลุ่มตัวอย่างเป็นวัยรุ่นที่ศึกษาอยู่ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 ทั้งสายสามัญและสายอาชีพในเขต กรุงเทพมหานคร ขนาดกลุ่มตัวอย่าง 634 คน (วัยรุ่นชาย 327 คน วัยรุ่นหญิง 307 คน) คัดเลือกโรงเรียน โดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive sampling) เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการแจกแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยแยกวิเคราะห์ระหว่างวัยรุ่นชายและวัยรุ่นหญิง ใช้สถิติวิเคราะห์ความถี่ ร้อยละ และ การถดถอยเชิงเส้นแบบพหุคูณ (Multiple Regression) ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ และ สามารถอธิบายพฤติกรรมการใช้ถุงยางอนามัยของวัยรุ่นชายมี 7 ปัจจัย ได้แก่ การพูดคุยกับคู่นอนใน การใช้ถุงยางอนามัย (beta = .332) การรับรู้ความสามารถของตนเองในการใช้ถุงยางอนามัย (beta = .248) การดื่มแอลกอฮอล์ก่อนหรือระหว่างการมีเพศสัมพันธ์ (beta = .216) ความเชื่อในการใช้ถุงยางอนามัย (beta = .124) เจตคติต่อการใช้ถุงยางอนามัย (beta = .113) การควบคุมดูแลของพ่อแม่ตามการรับรู้ของ วัยรุ่น (beta = .110) และการรับรู้บรรทัดฐานกลุ่มเพื่อน (beta = .097) โดยปัจจัยทั้ง 7 ปัจจัยนี้มีความสัมพันธ์ กับพฤติกรรมการใช้ถุงยางอนามัยของวัยรุ่นชายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (F = 11.858, p < .001) และ สามารถอธิบายพฤติกรรมการใช้ถุงยางอนามัยของวัยรุ่นชายได้ร้อยละ 39.1 สำหรับวัยรุ่นหญิง ปัจจัยที่มี ความสัมพันธ์และสามารถอธิบายพฤติกรรมการใช้ถุงยางอนามัยของวัยรุ่นหญิงมี 6 ปัจจัย ได้แก่ การพูดคุย กับคู่นอนในการใช้ถุงยางอนามัย (beta = .316) การรับรู้ความสามารถของตนเองในการใช้ถุงยางอนามัย (beta = .275) ความเชื่อในการใช้ถุงยางอนามัย (beta = .125) เจตคติต่อการใช้ถุงยางอนามัย (beta = .112) การสื่อสารเรื่องเพศระหว่างพ่อแม่กับวัยรุ่นตามการรับรู้ของวัยรุ่น (beta = .009) และการควบคุมดูแล ของพ่อแม่ตามการรับรู้ของวัยรุ่น (beta = .089) โดยปัจจัยทั้ง 6 ปัจจัยนี้ มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรม การใช้ถุงยางอนามัยของวัยรุ่นหญิงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (F = 11.900, p < .001) และสามารถอธิบาย พฤติกรรมการใช้ถุงยางอนามัยของวัยรุ่นหญิงได้ร้อยละ 35.2
Other Abstract: The purpose of this study was to examine selected factors related to sexual HIV-risk taking behavior, particularly condom usage behavior, of male and female adolescents. A total of 634 adolescents participated in the study. Three hundreds and twenty-seven were male and three hundreds and seven were female. The participants were students from Mattayom 1-6 in high schools and vocational schools in Bangkok recruited to the present study through purposive sampling. Data were gathered using a set of questionnaires. Data were analyzed separately for male and female participants using frequency distribution, percentage, and stepwise multiple regression. Results indicated that seven factors were related to and helped explain condom usage behavior in male participants. These factors were communication with partner about condom usage (beta = .332), self-efficacy in condom usage (beta = .248), alcohol consumption before or during sexual activities (beta = .216), beliefs in condom usage (beta = .124), attitude toward condom usage) beta = .113), parental monitoring (beta = .110), and perceived peer norm (beta = .097). All of the seven factors were related to condom usage behavior of male participants (F = 11.858, p < .001) and accounted for 39.1% of the variability in such behavior. For female participants, six factors were related to and helped explain condom usage behavior in female participants. These factors were communication with partner about condom usage (beta = .316), self-efficacy in condom usage (beta = .275), beliefs in condom usage (beta = .125), attitude toward condom usage (beta = .112), parent-adolescents communication about sex (beta = .099), and parental monitoring (beta = .089). All of the six factors were related to condom usage behavior of female participants (F = 11.900, p < .001) and accounted for 35.2% of the variability in such behavior
Description: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549
Degree Name: ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: จิตวิทยาพัฒนาการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/57253
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.2026
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2006.2026
Type: Thesis
Appears in Collections:Psy - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
titanard_li_front.pdf1.19 MBAdobe PDFView/Open
titanard_li_ch1.pdf7 MBAdobe PDFView/Open
titanard_li_ch2.pdf3.34 MBAdobe PDFView/Open
titanard_li_ch3.pdf3.33 MBAdobe PDFView/Open
titanard_li_ch4.pdf3.16 MBAdobe PDFView/Open
titanard_li_ch5.pdf999.01 kBAdobe PDFView/Open
titanard_li_back.pdf4.74 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.