Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5738
Title: ระบบบำบัดไนเตรทเพื่อการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำด้วยระบบหมุนเวียนน้ำแบบปิดขนาดเล็ก
Other Titles: Nitrate treatment system for small scale closed recirculating aquaculture system
Authors: อำไพเทพิน สิงหะพันธุ
Advisors: เปี่ยมศักดิ์ เมนะเศวต
สรวิศ เผ่าทองศุข
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: [email protected], [email protected]
[email protected]
Subjects: ดีไนตริฟิเคชัน
น้ำ -- การทำให้บริสุทธิ์ -- การกำจัดไนโตรเจน
การจัดการคุณภาพน้ำ
คุณภาพน้ำ
Issue Date: 2543
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ได้ทำการพัฒนาระบบบำบัดไนเตรทแบบท่อยาวที่ใช้กระบวนการดีไนตริฟิเคชั่น โดยมีแนวคิดที่จะให้แบคทีเรียที่อยู่ในส่วนต้นของท่อลดปริมาณออกซิเจนที่ละลายน้ำโดยกระบวนการหายใจของแบคทีเรีย ให้มีค่าต่ำลงจนถึงระดับที่แบคทีเรียในส่วนปลายท่อจะเกิดกระบวนการดีไนตริฟิเคชั่นได้ เพื่อเป็นการลดต้นทุนการบำบัดน้ำโดยระบบบำบัดน้ำที่มีระบบดีไนตริฟิเคชั่นที่ใช้แก๊สไนโตรเจนเพื่อลดปริมาณออกซิเจนที่ละลายน้ำ ซึ่งมีราคาแพง การทดลองระยะแรกได้ใช้เปลือกหอยนางรมทุบเป็นวัสดุกรอง แต่เกิดการอุดตันเนื่องจากมวลชีวภาพของแบคทีเรียที่เพิ่มขึ้นและไปเกาะบริเวณช่องว่างระหว่างเปลือกหอยจึงทำให้การไหลเวียนของน้ำไม่ดีและอุดตันลงหลังจากทำการทดลองระบบเป็นเวลา 2 สัปดาห์ ดังนั้นจึงเปลี่ยนวัสดุกรองมาใช้วัสดุกรองทรงกลมขนาดเล็ก (Super Bioball) ที่ใช้ในระบบกรองของตู้ปลา ซึ่งระบบบำบัดไนเตรทแบบท่อยาวที่สร้างขึ้นประกอบด้วยสายยางพีวีซีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 1 นิ้ว ยาว 50 เมตร ภายในบรรจุวัสดุกรองทรงกลมจำนวนทั้งหมด 2,870 ลูก โดยตัดสายยางเป็นท่อนๆ ละ 10 เมตรเพื่อติดตั้งจุดเก็บน้ำตัวอย่าง โดยทำการทดลองระบบดังกล่าวกับน้ำเสียเทียมที่มีปริมาณความเข้มข้นของไนเตรท 100 PPM ซึ่งมีการเติมแหล่งคาร์บอน (เมธานอล) ให้กับระบบตลอดเวลาในอัตราไหล 4.5 ml/hr และน้ำเสียจากบ่อเลี้ยงกุ้งที่มีปริมาณไนเตรทสะสมอยู่สูง จากผลการทดลองพบว่า ระบบบำบัดไนเตรทแบบท่อยาวที่สร้างขึ้นสามารถลดความเข้มข้นของไนเตรทจากน้ำเสียเทียมที่มีความเข้มข้นของไนเตรทลงจาก 145.4 mg-NO3- -N/L เหลือ 2.9 mg-NO3- -N/L ภายในเวลา 8 วัน และเป็นการเกิดกระบวนการดีไนตริฟิเคชั่นแบบไม่สมบูรณ์ จึงทำให้พบปริมาณแอมโมเนียเพิ่มขึ้นจากเดิมเล็กน้อย นอกจากนี้ยังสามารถบำบัดไนเตรทในน้ำจากบ่อเลี้ยงกุ้งที่มีปริมาณไนเตรทสะสมอยู่สูงได้ โดยจำเป็นต้องมีการเติมแหล่งคาร์บอนให้กับระบบตลอดเวลา ซึ่งพบว่ามีประสิทธิภาพในการบำบัดขณะทดลองโดยไม่เติมเมธานอลเท่ากับ 2.96% และเมื่อทดลองโดยเติมเมธานอลในอัตรา 4.5 ml/hr พบว่ามีประสิทธิภาพในการบำบัดเพิ่มขึ้นเป็น 31.08% และเมื่อหยุดเติมเมธานอลประสิทธิภาพการบำบัดของระบบลดลงเหลือ 6.61% โดยทั้งสามช่วงการทดลองเป็นการเกิดกระบวนการดีไนตริฟิเคชั่นแบบไม่สมบูรณ์
Other Abstract: The denitrification system consisted of a long tube with packing material was designed and tested in this study. The system operated by a combination of bacteria activities in fore part of the tube that consumed oxygen and bacteria in the rear part of the tube that provided denitrification. This could eliminate the use of nitrogen gas for purging dissolved oxygen in the previous design. In this study, the original design of the long tube system using oyster shell as packing material was not success because irregular shape of the cracked shell clotted the system after only 2 week operation. Therefore plastic balls named "Super Bioball" were then use instead of oyster shell. A new long tube system was built using PVC tube (1" diameter and 50 meter length) packing with 2,870 bioball. A sampling valve was attached to every 10 meter of the long tube and methanol (carbon source) was feed into the tube at 4.5 ml/hr by peristaltic pump. The experiment were performed with artificial wastewater with 100 ppm nitrate and high nitrate concentration seawater from shrimp pond. The results show that the long tube denitrification system could reduce nitrate in an artificial wastewater from 145.4 mg-NO3- -N/L to 2.9 mg-NO3- -N/L in 8 days. The system also performed well with high nitrate seawater but only when methanol were added as a sole carbon source. The nitrate treatment efficiency rose from 2.96% without methanol addition to 31.08% when adding methanol at 4.5 ml/hr and decrease to 6.61% when stop methanol feeding. However, it was found that incomplete denitrification indicated by slightly increase of nitrite and ammonia in the system was found during operation.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิทยาศาสตร์สภาวะแวดล้อม (สหสาขาวิชา)
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5738
ISBN: 9741300506
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Ampaitepin.pdf1.29 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.